ไซแมนเทคเผยผลสำรวจ ชี้ องค์กรธุรกิจรับภาระค่าใช้จ่ายข้อมูลดิจิตอลสูงถึง 1.1 ล้านล้านดอลลาร์

จันทร์ ๒๐ สิงหาคม ๒๐๑๒ ๐๙:๐๗
องค์กรธุรกิจยังประสบปัญหาในการปกป้องข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

ไซแมนเทค คอร์ป (Nasdaq: SYMC) เปิดเผยว่า องค์กรธุรกิจทั่วโลกต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนของข้อมูลมากถึง 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ในแต่ละปี ตามผลการสำรวจสถานะของข้อมูล (State of Information Survey) ฉบับแรก ตั้งแต่ข้อมูลลับของลูกค้า ไปจนถึงทรัพย์สินทางปัญญา ธุรกรรมทางการเงิน แต่ละองค์กรต้องบริหารจัดการดูแลข้อมูลจำนวนมหาศาล นอกจากจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขันและปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานแล้ว ยังช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดได้ในระยะยาวอีกด้วย ที่จริงแล้ว ผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่าข้อมูลดิจิตอลคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 49 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าทั้งหมดขององค์กร

ผลการศึกษานี้อ้างอิงการตอบแบบสอบถาม 4,506 ชุดใน 38 ประเทศ รวมถึงแบบสอบถาม 100 ชุดจากประเทศไทย ผลการสำรวจนี้เปิดเผยว่าในประเทศไทย ราว 50 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าขององค์กรมาจากข้อมูลที่องค์กรนั้นๆ มีอยู่

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากบล็อกโพสต์: สถานะของข้อมูล (State of Informaiton)

“ข้อมูลนับว่ามีมูลค่าทางการเงินสำหรับองค์กรธุรกิจในปัจจุบัน ทุกวันนี้องค์กรต่างๆ ผลิตข้อมูลจำนวนมหาศาล ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า และปรับปรุงประสิทธิภาพ แต่ขณะเดียวกัน ข้อมูลดังกล่าวก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรได้เช่นกันหากไม่ได้รับการปกป้องอย่างเหมาะสม เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน บริษัทต่างๆ จึงต้องมองหาหนทางใหม่ที่ประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับการปกป้องข้อมูลและปรับปรุงศักยภาพและประสิทธิภาพในการทำงาน” คุณประมุท ศรีวิเชียร ผู้จัดการประจำประเทศไทยของไซแมนเทค กล่าว

คลิกเพื่อส่งข้อความทวีต: องค์กรธุรกิจแบกรับค่าใช้จ่ายสำหรับข้อมูลดิจิตอลสูงถึง 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ เป็นการดำเนินการที่คุ้มค่าแล้วหรือ? http://bit.ly/LjaIvn

ข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีราคาแพง

องค์กรธุรกิจทุกขนาดต้องบริหารจัดการดูแลข้อมูลจำนวนมหาศาล โดยข้อมูลทั้งหมดที่องค์กรธุรกิจต้องจัดเก็บในปัจจุบันมีปริมาณสูงถึง 2.2 เซตตาไบต์ และโดยเฉลี่ยแล้ว องค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มบี) มีข้อมูลราว 563 เทราไบต์ เปรียบเทียบกับองค์กรขนาดใหญ่ซึ่งมีข้อมูลโดยเฉลี่ย 100,000 เทราไบต์ นอกจากนี้ ผลการสำรวจดังกล่าวยังเปิดเผยว่าข้อมูลมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น 67 เปอร์เซ็นต์ในช่วงปีหน้าสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ และเพิ่มขึ้น 178 เปอร์เซ็นต์สำหรับธุรกิจเอสเอ็มบี

โดยเฉลี่ยแล้ว องค์กรขนาดใหญ่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับข้อมูล 38 ล้านดอลลาร์ต่อปี ขณะที่ธุรกิจเอสเอ็มบีเสียค่าใช้จ่าย 332,000 ดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายต่อปีสำหรับพนักงานแต่ละคนในธุรกิจเอสเอ็มบีอยู่ในระดับที่สูงกว่ามาก คือ 3,670 ดอลลาร์ เปรียบเทียบกับ 3,297 ดอลลาร์สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจขนาดเล็กที่มีพนักงาน 50 คนเสียค่าใช้จ่าย 183,500 ดอลลาร์ในการจัดการข้อมูล ขณะที่องค์กรขนาดใหญ่ที่มีพนักงาน 2,500 คนเสียค่าใช้จ่าย 8.2 ล้านดอลลาร์

ผลกระทบทางธุรกิจจากข้อมูลที่สูญหาย

หากข้อมูลธุรกิจสูญหาย ย่อมจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง “ธุรกิจของบริษัทจะต้องหยุดชะงักชั่วคราวอย่างน้อยสองปี ก่อนที่จะสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้อย่างสมบูรณ์อีกครั้ง” ผู้จัดการฝ่ายไอทีในบริษัทวิศวกรรมขนาดใหญ่แห่งหนึ่งแสดงความคิดเห็นดังกล่าว เมื่อถูกถามถึงผลกระทบที่ได้รับจากการสูญเสียข้อมูลขององค์กร นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามยังเน้นย้ำถึงผลกระทบทางธุรกิจมากมายที่เกิดจากปัญหาข้อมูลสูญหาย เช่น สูญเสียลูกค้า (49 เปอร์เซ็นต์), ชื่อเสียงและแบรนด์ได้รับความเสียหาย (47 เปอร์เซ็นต์), รายได้ลดลง (41 เปอร์เซ็นต์), ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น (39 เปอร์เซ็นต์) และราคาหุ้นดิ่งลง (20 เปอร์เซ็นต์)

มาตรการป้องกันไม่เพียงพอ

เนื่องจากระดับความเสี่ยงที่สูงมาก ดังนั้นการปกป้องข้อมูลจึงนับเป็นภารกิจที่สำคัญสูงสุด แต่องค์กรธุรกิจต่างๆ ยังคงประสบปัญหาในการดำเนินการเรื่องนี้ เมื่อปีที่แล้ว 69 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรธุรกิจประสบปัญหาข้อมูลสูญหายในหลากหลายลักษณะด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น ข้อผิดพลาดของบุคลากร อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หยุดทำงาน มีการละเมิดระบบรักษาความปลอดภัย หรืออุปกรณ์สูญหายหรือถูกโจรกรรม นอกจากนี้ 69 เปอร์เซ็นต์พบเจอปัญหาข้อมูลลับถูกเปิดเผยสู่ภายนอกองค์กร และ 31 เปอร์เซ็นต์ไม่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล อีกหนึ่งปัญหาท้าทายที่สำคัญก็คือ องค์กรธุรกิจจัดเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อนเป็นจำนวนมาก โดยเฉลี่ยแล้วข้อมูล 42 เปอร์เซ็นต์เป็นข้อมูลซ้ำซ้อน นอกจากนี้ยังมีการใช้พื้นที่สตอเรจอย่างไร้ประสิทธิภาพ โดยมีสัดส่วนการใช้งานเพียงแค่ 31 เปอร์เซ็นต์ภายในไฟร์วอลล์ และ 18 เปอร์เซ็นต์ภายนอกไฟร์วอลล์

ความเสี่ยงและความไร้ประสิทธิภาพทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากการที่องค์กรธุรกิจเสียค่าใช้จ่ายมากเกินความจำเป็นสำหรับการจัดเก็บและปกป้องข้อมูล ประเด็นปัญหาสำคัญที่ระบุโดย 30 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรธุรกิจก็คือ การขยายของข้อมูล กล่าวคือ ข้อมูลมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ไร้ระเบียบ เข้าถึงได้ยาก และมีข้อมูลซ้ำซ้อนมากมาย

องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องให้ความสำคัญแก่ข้อมูลอย่างจริงจัง

เพื่อช่วยให้องค์กรธุรกิจปกป้องข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไซแมนเทคเสนอคำแนะนำดังต่อไปนี้:

มุ่งเน้นข้อมูล ไม่ใช่อุปกรณ์หรือดาต้าเซ็นเตอร์: ด้วยแนวทางในการนำเอาอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในที่ทำงาน (BYOD) และเทคโนโลยีคลาวด์ ข้อมูลไม่ได้อยู่ภายในอาณาเขตของบริษัทอีกต่อไป ดังนั้นมาตรการปกป้อง จึงต้องมุ่งเน้นที่ข้อมูลเป็นหลัก ไม่ใช่ที่อุปกรณ์หรือดาต้าเซ้นเตอร์

ข้อมูลไม่ได้มีสถานะเท่าเทียมกันทั้งหมด: องค์กรธุรกิจจะต้องสามารถแยกข้อมูลที่ไร้ประโยชน์ออกจากข้อมูลธุรกิจที่มีค่า และปกป้องข้อมูลดังกล่าวอย่างเหมาะสม

ปรับปรุงประสิทธิภาพ: การขจัดข้อมูลซ้ำซ้อน (Deduplication) และการจัดเก็บข้อมูลระยะยาว (Archiving) ช่วยให้บริษัทปกป้องข้อมูลได้มากขึ้น แต่จัดเก็บข้อมูลในปริมาณที่น้อยลง เพื่อก้าวให้ทันกับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ความสม่ำเสมอคือสิ่งสำคัญ: จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดนโยบายที่สม่ำเสมอสำหรับข้อมูล เพื่อบังคับใช้ได้ในทุกกรณี ไม่ว่าข้อมูลจะเก็บไว้ที่ใด เช่น ในอุปกรณ์ทางกายภาพ ระบบเวอร์ช่วล และระบบคลาวด์

รักษาความคล่องตัว: วางแผนสำหรับความต้องการใช้งานข้อมูลในอนาคต โดยปรับใช้โครงสร้างพื้นฐานที่ยืดหยุ่นเพื่อรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

แหล่งข้อมูล

? รายงาน: ผลการสำรวจสถานะของข้อมูลประจำปี 2555

? สไลด์แชร์: ผลการสำรวจสถานะของข้อมูลประจำปี 2555

? อินโฟกราฟิก: สถานะของข้อมูล

? บล็อก: สถานะของข้อมูล

เชื่อมต่อกับไซแมนเทค

ติดตามไซแมนเทคบนทวิตเตอร์เข้าร่วมกับไซแมนเทคบนเฟซบุ๊คดูช่องสไลด์แชร์ของไซแมนเทคสมัครสมาชิกฟีดข่าว RSS ของไซแมนเทคเยี่ยมชมชุมชนธุรกิจ Symantec Connect

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๓๐ เม.ย. GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๓๐ เม.ย. PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๓๐ เม.ย. LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๓๐ เม.ย. ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๓๐ เม.ย. LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๓๐ เม.ย. SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๓๐ เม.ย. STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๓๐ เม.ย. กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน