ความก้าวหน้าของผังแม่บททางกายภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ

อังคาร ๑๘ กันยายน ๒๐๑๒ ๑๐:๑๔
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี (มรธ.) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 7 ของพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมีสถานที่ตั้ง 2 แห่งคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี กรุงเทพมหานคร และมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ให้ใช้ที่ดินราชพัสดุจำนวน 268 ไร่ 1 งาน 40 ตารางวา ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัย พื้นที่ดังกล่าว ตั้งอยู่ในซอยเทศบาลบางปู เลขที่ 119 ถนนสุขุมวิท ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐประจำจังหวัด และเป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี หลังจากนั้น มหาวิทยาลัยก็ดำเนินการจัดทำผังแม่บท ก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารประกอบต่างๆ ตามลำดับ รวมทั้งมีการปรับสภาพพื้นที่และปรับปรุงภูมิทัศน์รอบๆ มหาวิทยาลัยให้เหมาะสม สวยงาม จนสามารถเปิดดำเนินการสอนได้ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 จนถึงปัจจุบัน

ผศ.ลักขณา บรรพกาญจน์ อธิการบดี ได้เปิดเผยถึง การจัดทำผังแม่บทของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ ว่า ฉบับแรกได้ดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 (ได้ใช้ผังแม่บทฯ นี้มานาน 9 ปี) ในปี พ.ศ. 2550 กรมชลประทานได้ขอที่ดินของมหาวิทยาลัยรวม 8 ไร่ ในการขุดคลองระบายน้ำจากสนามบินสุวรรณภูมิตามพระราชดำริ เนื่องจากแนวคลองดังกล่าวตัดผ่านพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ทำให้มีแนวถนนเลียบคลองทั้ง 2 ฝั่ง ดังนั้น การจัดทำผังแม่บทฯ ฉบับที่ 2 จึงจัดทำขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัย ที่มีแนวถนนเลียบคลองระบายน้ำดังกล่าว ทำให้มหาวิทยาลัยมีภูมิทัศน์ที่สง่างามติดถนนใหญ่ เป็นทางเข้าออกที่สะดวกสบายยิ่งขึ้น และเพื่อให้การใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถรองรับความเจริญก้าวหน้าและกำหนดทิศทางการใช้พื้นที่ในอนาคตได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับการเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ โดยเน้นการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ชุมชน ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับภูมิภาค เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาการให้บริการทางการศึกษาให้ก้าวสู่มาตรฐานที่เป็นสากล โดยการพัฒนาพื้นที่ทางด้านกายภาพ ภูมิทัศน์ สถาปัตยกรรม การก่อสร้างอาคาร สาธารณูปโภคต่างๆ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อคงความเป็นพื้นที่สีเขียว สนองตอบความจำเป็นในการปฏิบัติภารกิจตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและจังหวัดสมุทรปราการ โดยมหาวิทยาลัยได้จัดจ้างคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้จัดทำผังแม่บทใหม่ และได้ดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ มาตามลำดับจนสำเร็จลุล่วง ในเดือนมีนาคม 2555 โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและชุมชน ซึ่งผังแม่บทฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ นี้ แบ่งพื้นที่พัฒนาออกเป็น 6 เฟส คือ เฟส 1 (พ.ศ. 2555 — 2559) เฟส 2 (พ.ศ. 2560 — 2564) เฟส 3 (พ.ศ. 2565 — 2569) เฟส 4 (พ.ศ. 2570 — 2574) เฟส 5 (พ.ศ. 2575 — 2579) และเฟส 6 (พ.ศ. 2580 — 2584) ซึ่งแต่ละเฟสแบ่งพื้นที่ออกเป็น พื้นที่ส่วนการศึกษาและบริหาร/บริการการศึกษา ส่วนกีฬาและสันทนาการ ส่วนที่พักอาศัย โรงเรียนสาธิต ส่วนจัดแสดงและถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่วนบริการ ส่วนศิลปวัฒนธรรม ส่วนคลองระบายน้ำและระบบป้องกันน้ำท่วม ที่จอดรถยนต์-รถจักรยานยนต์ นอกจากนั้นยังมีพื้นที่ที่เป็นถนนสำหรับรถจักรยานและสวนที่เป็นพื้นที่สีเขียวด้วย มหาวิทยาลัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผังแม่บทฉบับใหม่นี้ จะมีความสมบูรณ์ เหมาะสม และสามารถนำมาใช้ประโยชน์เป็นอย่างดีตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้คู่คุณธรรม บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นกับภูมิปัญญาสากล สร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ยั่งยืน”

ติดต่อ:

เนตรนภา ยมนา

งานประชาสัมพันธ์ มรธ.

โทร. 02-8901801

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๖ กทม. ประเมินผล Lane Block จัดระเบียบจราจรหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ พบรถแท็กซี่-สามล้อเครื่องจอดแช่ลดลง
๑๗:๐๓ สมาคมประกันวินาศภัยไทย Kickoff การใช้ข้อมูล Non-Life IBS พร้อมส่งมอบรายงานข้อมูลสถิติในการพัฒนาธุรกิจประกันภัยของประเทศ
๑๗:๓๖ 3 โบรกฯ ประสานเสียงเชียร์ ซื้อ SAV เคาะราคาเป้า 24-25 บาท/หุ้น คาดกำไร Q1/67 ทุบสถิติออลไทม์ไฮ รับปริมาณเที่ยวบินเพิ่ม เก็งผลงานทั้งปีโตเด่น
๑๗:๐๓ Minto Thailand คว้ารางวัล Best Official Account จาก LINE Thailand Award 2023
๑๗:๒๔ กทม. ตรวจสอบความปลอดภัยอาคาร ป้ายโฆษณา ต้นไม้ใหญ่ เตรียมพร้อมหน่วยเบสท์รองรับพายุฤดูร้อน
๑๗:๓๒ ไขข้อสงสัย.เมื่อซื้อแผงโซล่าเซลล์แล้วจะขนย้ายกลับอย่างไรให้ปลอดภัย โดย เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย)
๑๖:๔๕ ไทเชฟ ออกบูธงาน FHA Food Beverage 2024 ที่สิงคโปร์
๑๖:๕๓ เนื่องในวันธาลัสซีเมียโลก มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียในประเทศไทย
๑๖:๓๕ EGCO Group จัดพิธีเปิดโรงไฟฟ้า EGCO Cogeneration (ส่วนขยาย) อย่างเป็นทางการ
๑๖:๒๖ เพลิดเพลินไปกับเมนูพิเศษประจำฤดูกาล: อาหารจากแคว้นซิซิลี ประเทศอิตาลี ที่ โวลติ ทัสคาน กริลล์ แอนด์ บาร์ โรงแรมแชงกรี-ลา