กรมการแพทย์เตือนพ่อแม่..ระวังการใช้ยาลดไข้ในเด็ก

จันทร์ ๒๔ กันยายน ๒๐๑๒ ๑๖:๒๗
อากาศเปลี่ยนแปลงอาจเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยในเด็กเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นไข้ ตัวร้อน ซึ่งพ่อแม่และผู้ปกครองส่วนใหญ่มักจะให้ลูกหลานกินยาลดไข้เอง ดังนั้น จึงควรศึกษาข้อมูลเพื่อสามารถเลือกใช้สูตรยาลดไข้ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

แพทย์หญิงวิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่าโดยปกติร่างกายของคนเราจะมีอุณหภูมิ 37.5 องศาเซลเซียส เมื่อเด็กมีไข้อุณหภูมิในร่างกายจะสูงกว่าปกติ ควรใช้ปรอทในการวัดไข้ ไม่ควรซื้อยาให้เด็กกินเองเนื่องจากยาลดไข้สำหรับเด็กมีหลากหลายยี่ห้อและหลากหลายชนิด สิ่งที่ควรระวังคือยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ซึ่งอาจให้ผลในช่วงแรกว่าอาการไข้ดีขึ้น แต่ผลเสียคือสเตียรอยด์จะกดภูมิต้านทานของร่างกายทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อราได้ง่าย นอกจากนี้อาจบดบังอาการแสดงของโรคติดเชื้อ เมื่อตรวจพบโรคอาจมีอาการรุนแรง และเป็นสาเหตุทำให้อาการทรุดหนัก จนอาจเสียชีวิตได้ ผู้ปกครองควรสังเกตอาการของเด็กอย่างใกล้ชิด เนื่องจากปัจจุบันมีหลายโรคที่เป็นอันตรายและมีอาการแสดงที่คล้ายกัน เช่น โรคมือ เท้า ปาก โรคไข้เลือดออก หากผู้ป่วยด้วยโรคในกลุ่มนี้ได้รับสเตียรอยด์หรือแอสไพริน ตัวยาจะไปกระตุ้นให้เด็กเป็นอันตรายมากขึ้น ในกรณีเด็กมีไข้สูงมากกว่า 2 วันร่วมกับอาเจียน หรือหอบ เหนื่อย ซึม กระตุก ควรรีบพาไปพบแพทย์

การเลือกใช้ยาลดไข้ในเด็กควรเลือกตัวยาที่ไม่มีอันตรายและมีผลข้างเคียงน้อยที่สุดเช่น ยาพาราเซตามอลซึ่งมีหลายรูปแบบ คือ ยาน้ำเชื่อมทั่วไปจะมีปริมาณของตัวยาเท่ากับ 120 มิลลิกรัม ต่อ 5 ซีซี หรือ 1 ช้อนชา หรือแบบน้ำเชื่อมชนิดแขวนตะกอนจะมีปริมาณของตัวยาเท่ากับ 120 มิลลิกรัม และ 160 มิลลิกรัมต่อ 5 ซีซี หรือ 1 ช้อนชา ยาน้ำเชื่อมชนิดเข้มข้นประกอบด้วยตัวยาพาราเซตามอล 250 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา ยาน้ำเชื่อมแบบหยดมีปริมาณตัวยาเท่ากับ 10 มิลลิกรัม ต่อ 0.1 ซีซี ยาเม็ดสำหรับเด็กในหนึ่งเม็ดมีปริมาณตัวยาเท่ากับ 325 มิลลิกรัม ขนาดของยาที่ใช้ในเด็กมีความสำคัญมากข้อควรคำนึง 2 ประการคือ อายุ และน้ำหนักตัวเด็ก วิธีที่เหมาะสมและสามารถลดไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ ควรให้เด็กได้รับยาในปริมาณ 10 - 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตัวอย่างคือ เด็กมีน้ำหนัก 10 กิโลกรัมต้องได้รับยาปริมาณ 100 - 150 มิลลิกรัม หากไม่ทราบน้ำหนักควรใช้การคำนวณขนาดยาตามอายุของเด็กเช่น เด็กอายุ 1 — 6 ปีให้ยาพาราเซตามอลแบบน้ำเชื่อม 120 มิลลิกรัม หรือในปริมาณ 1 — 2 ช้อนชาในเด็กโตอาจให้ยาในปริมาณ 500 มิลลิกรัม โดยอาจให้ยาเพียงครึ่งหรือหนึ่งเม็ดคิดตามน้ำหนักและอายุสำหรับเวลาในการให้ยาที่ถูกต้องปลอดภัยคือทุก 4 — 6 ชั่วโมง และภายใน 1 วันไม่ควรให้ยาเกิน 5 ครั้งเพราะจะเป็นอันตรายต่อตับและไต ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กเสียชีวิตได้

พาราเซตามอลเป็นยาที่ออกฤทธิ์ได้ค่อนข้างช้า อาการไข้จะลดลงภายหลังทานยาประมาณครึ่งชั่วโมง ในช่วงนี้ควรระวังไม่ให้ไข้ขึ้นสูงเพราะอาจเกิดอาการชักได้ จึงควรเช็ดตัวเด็กด้วยน้ำเย็นหรือน้ำธรรมดาโดยเช็ดตามข้อพับและซอกต่าง ๆของร่างกาย เพื่อช่วยระบายความร้อนและลดไข้ หากให้ยาและเช็ดตัวแล้วอาการไข้ยังไม่ลดควรรีบพาไปพบแพทย์

ติดต่อ:

ประชาสัมพันธ์กรมการแพทย์ โทร. 0 25918254

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๔ ยันม่าร์ ประกาศอย่างเป็นทางการในการสนับสนุนสมาคมฟุตบอลอาเซียน
๑๗:๑๔ รู้ใจชวนทำความรู้จักเทเลเมติกส์ เทคโนโลยีลดอุบัติเหตุ ขับเคลื่อนท้องถนนปลอดภัย
๑๗:๐๙ The Food School Bangkok ผนึก 2 พันธมิตรยักษ์ใหญ่ มอบทุนกว่า 1.5 ล้านบาท เปิดตัว Future Chef of the World 2025
๑๗:๓๔ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง ทำงานอย่างไรให้มีความสุข
๑๗:๑๗ JGAB 2025 เปิดเวที The Next Gem Awards 2025 เฟ้นหาดีไซน์เนอร์เครื่องประดับรุ่นใหม่
๑๖:๐๙ ผถห. LEO ไฟเขียวปันผล 0.14 บาท/หุ้น รับทรัพย์ 14 พ.ค.นี้ เดินหน้ายุทธศาสตร์ LEO Go Green - รุกขยายธุรกิจใหม่ ดันกำไรขั้นต้นโตต่อเนื่อง
๑๖:๕๗ เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ เปิดตัวโซลูชันคลังสินค้าและโลจิสติกส์อัจฉริยะ ยกระดับการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB)
๑๖:๔๖ กระทรวง อว. โดย สวทช. - กรมควบคุมโรค กระทรวง สธ. ผนึกกำลังใช้ระบบ DDC-Care Platform เทคโนโลยีรับมือโรคระบาดข้ามพรมแดน
๑๖:๕๙ สจล. ร่วมมือมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ ขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการอย่างยั่งยืน
๑๖:๓๕ KOAN ในเครือ CPW บุกตลาด Smart Home เปิดตัวนวัตกรรมบ้านอัจฉริยะในงานสถาปนิก'68 ภายใต้แนวคิด Touch And