ผลสำรวจโดย IOF เผย . . . ภาวะการขาดวิตามิน ดี ในประชากรโลกถึงขั้นวิกฤต กลุ่มเสี่ยงสตรีและผู้สูงอายุไทยต้องควรระวัง

จันทร์ ๐๘ ตุลาคม ๒๐๑๒ ๐๙:๓๐
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในแถบทวีปเอเซียที่มีข้อมูลการสำรวจระดับวิตามิน ดี ของประชากร ทั่วไปที่ครบถ้วน

มูลนิธิกระดูกพรุนนานาชาติ ได้เผยถึงผลสำรวจของระดับวิตามิน ดี ในประชากรโลกในรูปแบบของ “แผนที่” ซึ่งแสดงถึงภาพรวมของระดับวิตามิน ดี ในร่างกายของประชากรในแต่ละประเทศ โดยมีข้อสรุปว่า ภาวะการขาดวิตามิน ดี อย่างรุนแรง เป็นปัญหาใหญ่ทางด้านสุขภาพในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศอุตสาหกรรม โดยประชากร กว่าหนึ่งในสาม จากการทำการศึกษา มีระดับวิตามิน ดี ที่ต่ำกว่าเกณฑ์ โดยกลุ่มเสี่ยงคือสตรี รวมถึงสตรีวัยมีบุตร และผู้สูงอายุ ถึงแม้ว่าประชากรไทยโดยเฉี่ลยจะมีระดับวิตามิน ดี ที่ได้มาตราฐาน แต่ในกลุ่มสตรีและผู้สูงอายุ ยังจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ที่ควรระวัง จากการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง สตรีที่มีอายุระหว่าง 60-97 ปีมีระดับวิตามิน ดี ที่น่าเป็นห่วง โดยผลสำรวจมีข้อสรุปดังนี้

- จากผลสำรวจโดยรวม ประชากรโลกกว่าหนึ่งในสามประสบกับภาวะการขาดวิตามิน ดี อย่างรุนแรง

- ภาวะการขาดวิตามิน ดี พบได้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศอุตสาหกรรม

- ถึงแม้ว่าแหล่งผลิตวิตามิน ดี ที่ดีที่สุดจะมาจากแสงแดด ระดับวิตามิน ดี ในประชากรที่อยู่ในประเทศ ที่มีแสงแดดดี อย่างเช่นในแถบเอเซีย ยังมีระดับวิตามิน ดี ที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศอินเดีย ที่มีระดับวิตามิน ดี ต่ำกว่ามาตราฐาน

- อัตราความเสี่ยงของภาวะการขาดวิตามิน ดี ในประชากรหญิงสูงกว่าประชากรชาย

- ภาวะการขาดวิตามิน ดี อย่างรุนแรงในประชากรผู้ใหญ่ในแถบทวีปยุโรปสูงถึงประมาณ 50% ถึง 70%

- ในประเทศสหรัฐอเมริกา ภาวะการขาดวิตามิน ดี พบได้ในผู้ใหญ่ผิวขาวประมาณ 20% และในประชากร ผิวดำถึง 70%

- พบว่ากลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะการขาดวิตามิน ดี อย่างรุนแรง โดยเฉพาะหญิงชรามีความเสี่ยง เป็นโรคกระดูกพรุนสูง เนื่องจากอาศัยอยู่แต่ภายในบ้านพักหรือสถานพักฟื้นคนชราตลอดเวลา

โรคกระดูกพรุนเป็นโรคเรื้อรังประเภทหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรโลกกว่าหนึ่งร้อยล้านคน การที่ได้ปริมาณวิตามิน ดี ที่พอเพียง สามารถเพิ่มความหนาแน่นในกระดูก และป้องกันไม่ให้กระดูกร้าว พร้อมเสริม ความแข็งแกร่ง ให้กับกล้ามเนื้อโดยรวมและขา รวมถึงทำให้การทรงตัวดีขึ้น และลดความเสี่ยงจาก การหกล้มและกระดูกร้าว โดยทั่วไปแล้ว ภาวะการขาดวิตามิน ดี มักเป็นสาเหตุหลักและมีความเชื่อมโยง สู่การเป็นโรคกระดูกพรุน

จากผลการศึกษา มีรายงานว่าระดับวิตามิน ดี ที่ได้มาตราฐานและเพียงพอ สามารถลดความเสี่ยง จากการหกล้ม และกระดูกร้าวได้ถึงประมาณ 30% ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศเยอรมัน การบริโภคอาหารเสริม ที่เป็นวิตามิน ดี เป็นประจำ สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้ถึงประมาณ 585-778 เหรียญยูโร จูดี้ สแตนมาร์ค (Judy Stenmark) ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิกระดูกพรุนนานาชาติ ได้กล่าวว่า “ทางมูลนิธิฯ ขอแนะนำให้คนที่มีความเสี่ยง ต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ควรหันมาใส่ใจในการบริโภคอาหารเสริมที่เป็นวิตามิน ดี อย่างน้อย 800-1,000 IU ต่อวัน เพื่อป้องกันการหกล้ม และกระดูกร้าวจากการเปิดเผยผลสำรวจในรูปแบบของ “แผนที่” ทางมูลนิธิฯ เรียกร้องให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพ ในแต่ประเทศหันมาเอาใจใส่การแก้ปัญหาภาวะการขาดวิตามิน ดี โดยวิธีง่ายๆ และประหยัด ซึ่งจะสามารถช่วยชีวิต และส่งผลให้ ประชากรของท่านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”

ศ. ดร. ไอเก้ เอ. บิสชอฟฟ์-เฟอร์รารี (Heike A. Bischoff-Ferrari) จากมหาวิทยาลัยซูริค ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ ได้กล่าวเสริมว่า “ความเป็นจริงแล้ว ในกลุ่มผู้สูงอายุ การรับวิตามิน ดี จากแสงแดด ธรรมชาติจะลดน้อยลงเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น และเรายังไม่สามารถรับปริมาณวิตามิน ดี ได้อย่างพอเพียงจาก การบริโภคอาหารเพียงอย่างเดียว แต่ด้วยอาหารเสริมที่เป็นวิตามิน ดี จะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัย ประหยัดและได้ผล อย่างดีเยี่ยม รวมถึง ยังสามารถลดความเสี่ยงจากการหกล้มกระดูกสะโพกหักได้ถึง 30% และส่งเสริมคุณภาพชีวิต ให้ดียิ่งขึ้น” ในปี ค.ศ. 2050 คาดว่าอัตราผู้สูงอายุในประเทศไทยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จะเพิ่มขึ้นประมาณ 30% ของประชากรทั้งหมด และการที่ได้รับปริมาณวิตามิน ดี ที่เหมาะสมจัดเป็นปัญหาทางสุขภาพที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน

ดร. แมนเฟรด อีเกอร์โดร์เฟอร์ (Dr. Manfred Eggersdorfer) รองประธานฝ่าย Nutrition Science & Advocacy บริษัท DSM กล่าวว่า “แบบแผ่นที่ ที่ทางมูลนิธิฯได้จัดทำขึ้นจะเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการต่อสู้กับภาวะการขาดวิตามิน ดี ซึ่งเบื้องต้นเราทราบว่า ภาวะการขาดวิตามิน ดี เป็นสาเหตุของโรคร้ายต่างๆ เช่นโรคกระดูกอ่อนในเด็ก และโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ แต่เรายังไม่ทราบถึงระดับความรุนแรง และปัญหาที่ตามมาภายหลัง ซึ่งตอนนี้ เราได้รับทราบและทำความเข้าใจถึงภาวะการขาดวิตามิน ดี พร้อมกับกล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวควรเป็นประเด็น ที่ทุกหน่วยงานทั่วโลกต้องหันมาเอาใจใส่มากขึ้น”

การทำการสำรวจในรูปแบบของ “แผนที่” นั้น จะสามารถเห็นภาพโดยรวมของภาวะการขาดวิตามิน ดี และยังสามารถชี้ถึงจุดที่จำเป็นต้องทำการศึกษาเพิ่มเติม ดร. อีเกอร์โดร์เฟอร์ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ข้อมูลการสำรวจยังไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กและวัยรุ่น แผนที่นี้จะเป็นจุดเริ่มต้น ของการสำรวจ เพื่อให้ทราบถึงความรุนแรงของภาวะการขาดวิตามิน ดี”

ดีเอสเอ็ม พร้อมด้วยมูลนิธิกระดูกพรุนนานาชาติ เรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแล ในการร่างกฎหมายให้หันมาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับภาวะการขาดวิตามิน ดี อย่างจริงจัง พร้อมแนะนำการบริโภควิตามิน ดี ในระดับที่พอเพียงอย่างปลอดภัยและได้ผล ไม่ว่าจะเป็นการผสมวิตามิน ดี เข้าไปในอาหาร หรือการบริโภคอาหารเสริม หรือโดยการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว

ข้อมูลเกี่ยวกับแผนที่

การสำรวจในแบบ “แผนที่” นั้น ได้แบ่งระดับภาวะการของวิตามิน ดี ออกเป็นสี ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อมูลทาง วิทยาศาสตร์ที่ได้มา โดยสีเขียวจะหมายถึงประเทศที่มีระดับวิตามิน ดี ทีพอเพียง สีเหลืองหมายถึงประเทศ ที่มีปริมาณวิตามิน ดี ที่ต่ำกว่ามาตราฐาน ส่วนสีส้มนั้นหมายถึงปริมาณวิตามิน ดี ในเลือดต่ำกว่า 50 นาโนโมล (50nmol/l) ซึ่งถือว่าอยู่ในภาวะการขาดวิตามิน ดี และสีแดงหมายถึงภาวะการขาดวิตามิน ดี อย่างรุนแรง (ต่ำกว่า 25 นาโนโมล25nmol/l )แผนที่ดังกล่าวจะมีการ อัพเดทข้อมูลใหม่ๆ ทุกปี เพื่อให้นักวิจัย หมอ และหน่วยงานภาครัฐ ได้รับทราบถึงหนทาง การป้องกันและต่อสู่กับภาวะการขาดวิตามิน ดี อย่างถูกต้องในแต่ละประเทศ

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนที่การสำรวจได้จากเว็บไซต์ของมูลนิธิกระดูกพรุนนานาชาติ www.iofbonehealth.org

สรุปผลสำรวจในแต่ละประเทศ

- ในประเทศเยอรมัน 57% ของประชากรชาย และ 58% ของประชากรหญิงมีระดับวิตามิน ดี ต่ำกว่ามาตราฐาน โดยตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นเป็น 75% ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 65 ถึง 79

- ในประเทศอังกฤษ ในกลุ่มผู้สูงอายุผู้หญิงสองในสาม หรือประมาณ 57% และครึ่งหนึ่งของผู้ชาย หรือประมาณ 49% ไม่ได้รับปริมาณวิตามิน ดี ที่พอเพียง

- ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ครึ่งหนึ่งของผู้ที่เข้ารวมการสำรวจได้รับวิตามิน ดี ที่ต่ำกว่ามาตราฐาน

- ในประเทศสหรัฐอเมริกา 30% ของผู้ที่เข้ารวมการสำรวจได้รับวิตามิน ดี ไม่เพียงพอ โดย 70% เป็นคนผิวดำ

- โดยรวมแล้ว ระดับวิตามิน ดี ในประชากรในสหรัฐอเมริกามีปริมาณสูงกว่าภูมิภาคอื่น เนื่องจากผลิตภัณฑ์ อาหารที่บริโภคอยู่เป็นประจำ อาทิ นม น้ำผลไม้ และ cereal มีส่วนผสมของวิตามิน ดี

- ในแถบตะวันออกกลาง ระดับวิตามิน ดี ต่ำกว่าในทวีปยุโรป เนื่องจากเหตุผลทางวัฒนธรรม ได้แก่ การสวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิดและวิธีการดำรงชีวิตทั่วไป

- ในทวีปเอเซีย ภาวะการขาดวิตามิน ดี แตกต่างกันในแต่ละประเทศ โดยประเทศไทย ไต้หวัน เวียดนาม มีระดับวิตามิน ดี ที่ได้มาตราฐาน

- ในบางภูมิภาคข้อมูลการสำรวจไม่ครบถ้วน แต่ในบางภูมิภาค ไม่สามารถหาข้อมูลได้ เช่น ในทวีปอเมริกากลาง อเมริกาใต้ (ยกเว้นประเทศบราซิล) และประเทศในแถบทวีปแอฟริกา

- ข้อมูลการสำรวจในกลุ่มประชากรเด็กเล็กและในกลุ่มเด็กวัยรุ่นยังไม่ครบถ้วน

ข้อมูลเกี่ยวกับ DSM

Royal DSM เป็นบริษัทผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และการบริการต่าง ๆ สำหรับวงการวิทยาศาสตร์ สุขภาพและวัสดุศาสตร์ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยทางบริษัทฯ ให้ความสำคัญ กับการพัฒนาวัตถุดิบใหม่ๆ ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ยา เครื่องมือแพทย์ เครื่องมืออีเลคโทรนิค เครื่องไฟฟ้า พลังงานทางเลือก ฯลฯ DSM มีเจ้าหน้าที่และพนักงานอยู่ประมาณ 22,000 กระจายอยู่ทั่วโลก โดยมียอดขายประมาณ เก้าพันล้านยูโร และยังเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NYSEEuronext สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.dsm.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๓๐ เม.ย. เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๓๐ เม.ย. หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๓๐ เม.ย. YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๓๐ เม.ย. คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๓๐ เม.ย. กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๓๐ เม.ย. PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น