กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ไมโครซอฟท์ และคีนัน สานต่อโครงการ “แรงงานไทยก้าวไกลด้วยไอที” สู่ปีที่ 4 พัฒนาแรงงานไทยด้วยไอทียุคใหม่ พร้อมก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

พฤหัส ๒๒ พฤศจิกายน ๒๐๑๒ ๑๑:๑๙
ภาพจากซ้ายไปขวา : สุภารัตน์ จูระมงคล ผู้จัดการ Microsoft Citizenship Thailand บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ม.ล. ปุณฑริก สมิติ รองอธิบดี กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน และเกศรา อมรวุฒิวร ผู้จัดการโปรแกรมนวัตกรรมการศึกษาสถาบันคีนันแห่งเอเชีย ประกาศสานต่อโครงการ “แรงงานไทยก้าวไกลด้วยไอที” ในปีที่ 4 ร่วมมือพัฒนาแรงงานไทยด้วยไอทียุคใหม่ พร้อมก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

เมื่อเร็วๆ นี้ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และสถาบันคีนันแห่งเอเชีย ประกาศสานต่อโครงการ “แรงงานไทยก้าวไกลด้วยไอที” ในปีที่ 4 หรือ Embedded Building Employability Through Technology and Entrepreneurship Resources (E BETTER)ด้วยหลักสูตรไอทีที่มีการปรับปรุงให้ทันสมัยและสอดรับกับความต้องการของตลาดการจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน โครงการ E BETTER เป็นโครงการต่อเนื่องจากความสำเร็จของโครงการ “แรงงานไทยก้าวไกลด้วยไอที” (BETTER) ที่ริเริ่มขึ้นในปี 2552 โดยตลอดระยะเวลา 3 ปี สามารถดำเนินการฝึกอบรมแรงงานได้ 35,000 คน และคาดว่ามีคนได้รับการอบรมต่อในสถานประกอบการต่างๆรวมถึงศึกษาด้วยตนเองผ่านเว็ปไซต์ของโครงการ www.thebetter-project.comและนำไปต่อยอดสร้างงานและรายได้ให้แก่แรงงานได้อีกราว 2,800 คน

นางสุภารัตน์ จูระมงคล ผู้จัดการ Microsoft Citizenship Thailand บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า “โครงการ “แรงงานไทยก้าวไกลด้วยไอที” เป็นหนึ่งในกิจกรรมเพื่อชุมชนของไมโครซอฟท์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความมุ่งมั่นของไมโครซอฟท์ที่จะนำทักษะด้านไอทีมาพัฒนาศักยภาพของแรงงานไทย ซึ่งมีส่วนสำคัญในการยกระดับให้แรงงานไทยเป็นแรงงานที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการ และสามารถเป็นกำลังสำคัญในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและรายได้ให้กับประเทศต่อไปซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์We Make 70 Million Lives Betterของ บริษัท ไมโครซอฟท์(ประเทศไทย)ที่ต้องการการขยายโอกาสในการเข้าถึงไอทีแก่คนไทยกว่า70ล้านคน ซึ่งจะได้รับประโยชน์และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และตอกย้ำถึงการลงทุนที่ต่อเนื่องของไมโครซอฟท์ในประเทศไทย”

“โดยระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ในฐานะผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ให้การสนับสนุนหลักสูตรการเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งพัฒนาขึ้น อาทิ หลักสูตร Microsoft Unlimited Potential Community Learning Curriculum และหลักสูตร Microsoft Digital Literacy นอกจากนี้ยังร่วมมือกับสถาบันคีนันแห่งเอเชีย พัฒนาหลักสูตรออนไลน์ “ฉันจะเป็นเถ้าแก่ยุคไอที” เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเรียนทางออนไลน์เพิ่มทักษะการทำธุรกิจได้โดยตรงและในปีที่ 4 นี้ กับโครงการ E BETTER เราได้เน้นการพัฒนาหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการของแรงงานสมัยใหม่ โดยยึดถือผลลัพธ์ของงานเป็นหลัก ครอบคลุมเนื้อหาหลักสูตร

ไอทียุคใหม่ ได้แก่ Microsoft? Word 2010Microsoft? Excel 2010Microsoft PowerPoint? 2010 และหลักสูตรการจัดการข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ตและคลาวด์” นางสุภารัตน์ กล่าวเพิ่มเติม

ม.ล. ปุณฑริก สมิติ รองอธิบดี กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า “ทักษะไอที เป็นหนึ่งใน 5 ทักษะพื้นฐานหลักที่สำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานไทยเพื่อรับการเข้ามาของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ซึ่งหากแรงงานไทยมีทักษะไอทีเป็นพื้นฐานก็จะช่วยสร้างรายได้ และโอกาสที่เพิ่มขึ้นให้กับตนเอง ส่งผลดีกับนายจ้าง และที่สำคัญเป็นการช่วยพัฒนาการเรียนรู้ในระยะยาวให้กับแรงงานผู้ฝึกเอง โดยเมื่อจบหลักสูตรผู้ได้รับการฝึกอบรมจะได้รับวุฒิบัตรจากทางกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน และบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันได้กับแรงงานในประเทศอื่นๆในอาเซียน ทางกระทรวงแรงงาน ได้เชิญทางบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัดและสถาบันคีนันแห่งเอเชีย เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคณะอนุกรรมการกำหนดมาตารฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติโดยมีการจัดทำแบบทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาอาชีพพนักงานการใช้คอมพิวเตอร์ โดยทำงานร่วมกับสำนักพัฒนามาตรฐานและทดสอบฝีมือแรงงานในการจัดทำแบบทดสอบใหม่นี้ ซึ่งการอบรมหลักสูตรดังกล่าวจะเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ที่ต้องการทดสอบฝีมือแรงงานมาตรฐานใหม่อีกด้วย”

นายปิยบุตร ชลวิจารณ์ ประธานอำนวยการ สถาบันคีนันแห่งเอเชียเปิดเผยว่า “ทางสถาบันคีนันรู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างมากที่ได้เป็นหนึ่งในพันธมิตรของโครงการ “แรงงานไทยก้าวไกลด้วยไอที” ในฐานะผู้บริหารโครงการ ซึ่งสถาบันคีนันได้บริหารโครงการต่อเนื่องมาปีนี้เป็นปีที่ 4 โครงการ “แรงงานไทยก้าวไกลด้วยไอที” เป็นอีกหนึ่งโครการเพื่อสังคมตัวอย่าง ที่แสดงให้เห็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนซึ่งมีทักษะความเชี่ยวชาญด้านไอทีระดับโลก อย่าง ไมโครซอฟท์ และเน้นที่ผลลัพท์ในการสร้างความยั่งยืนให้กับโครงการในระยะยาว ให้ผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือมีความรู้และสามารถนำไปถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้ด้วยตนเองต่อไป”

หลักสูตร E BETTER แต่ละหลักสูตรจะใช้เวลาประมาณ 18 ชั่วโมง ยกเว้นหลักสูตรการบริหารจัดการและการให้บริการข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ตที่ใช้เวลาประมาณ12 ชั่วโมง โดยเมื่อเรียนจบหลักสูตรและสิ้นสุดโครงการ E BETTER เป็นระยะเวลา 12 เดือน คาดว่าจะสามารถฝึกอบรมตัวแทนของสถานประกอบการได้เป็นจำนวน300 คน และฝึกอบรมแรงงานอีก 2,500 คน ทั่วประเทศ

ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมโครงการได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ หรือสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองด้วยหลักสูตรใหม่นี้ รวมถึงหลักสูตรคอมพิวเตอร์พื้นฐาน และหลักสูตรฉันจะเป็นเถ้าแก่ยุคไอทีผ่านเว็บไซต์Error! Hyperlink reference not valid.หรือที่ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานประจำจังหวัดของท่าน หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถาบันคีนันแห่งเอเซีย โทรศัพท์02 229 3131

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

พรรวี สุรมูล หรือ ปณิธิดา ผ่องแผ้ว

ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์ ประเทศไทย

โทรศัพท์: 0-2627-3501 ต่อ 110 หรือ 106

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๔ พ.ค. C Rhyne Group ร่วมจัดงาน Asia Top Awards 2024 พร้อมรับรางวัล Business Awards
๒๔ พ.ค. FTI พบนักลงทุน Opportunity Day โชว์ผลงานไตรมาสแรก ปี 67
๒๔ พ.ค. ต้อนรับศูนย์อินเดียฯ สู่สถาบันเอเชียศึกษา พร้อมเปิดตัวหนังสือพุทธโคดม : บทวิเคราะห์เชิงรัฐศาสตร์ ว่าด้วยพุทธประวัติในบริบททางเศรษฐกิจ การเมือง
๒๔ พ.ค. Alibaba Cloud ประกาศเปิด Availability Zones ใหม่ และลงทุนทั่วโลกเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมด้าน AI
๒๔ พ.ค. PwC ประเทศไทย แนะซีเอฟโอสร้างทัศนคติทางดิจิทัลเพื่อพลิกโฉมฝ่ายการเงิน
๒๔ พ.ค. เจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส จับมือ กรมป่าไม้ จัดโครงการรักษาผืนป่า JT Forest สร้างการตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสิ่งแวดล้อม
๒๔ พ.ค. 3 นวัตกรรมจุฬาฯ คว้ารางวัลเหรียญทอง และถ้วยรางวัลพิเศษ จากเวทีนวัตกรรมนานาชาติในงาน ITEX 2024 ที่มาเลเซีย
๒๔ พ.ค. ส่องไอเดียเยาวชนสร้างสรรค์! DekSDM SPU ออกแบบ Art Toy สุดน่ารัก หนึ่งในผลงาน โชว์บนเวที Thailand Toy Expo
๒๔ พ.ค. MAGURO เคาะราคาไอพีโอ 15.90 บาท จองซื้อ 28-30 พ.ค.นี้ ระดมทุนขยายธุรกิจ- หนุนการเติบโต และเสริมแกร่งการเงิน จ่อเทรด 5 มิ.ย.
๒๔ พ.ค. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับสตรีที่ด้อยโอกาสในโครงการส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรี ณ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวรัตนาภา