ผู้ค้าปลีกและผู้เชี่ยวชาญชี้ประเทศไทยอาจเผชิญต่อประเด็นท้าทายเรื่องภาพคำเตือนสุขภาพขนาดร้อยละ 85

ศุกร์ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๓ ๑๗:๒๕
สืบเนื่องจากความตั้งใจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ ในการเพิ่มขนาดภาพคำเตือนสุขภาพบนซองผลิตภัณฑ์ยาสูบให้มีพื้นที่ครอบคลุมร้อยละ 85 ของซองนั้น สมาคมการค้ายาสูบไทยและผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายในประเทศไทยได้ชี้ถึงประเด็นท้าทายที่อาจเกิดขึ้นจากประกาศกระทรวงดังกล่าว

นางวราภรณ์ นะมาตร์ ผู้อำนวยการสมาคมการค้ายาสูบไทย กล่าวว่า “ด้วยภาพคำเตือนขนาดใหญ่ซึ่งทำให้ซองบุหรี่มีรูปลักษณ์ภายนอกที่เหมือนกันหมด กฎหมายฉบับนี้จะสร้างความยากลำบากให้แก่เจ้าของร้านค้าปลีกขนาดเล็กทั่วประเทศในการบริหารจัดการและจัดเก็บสต็อคสินค้า รวมทั้งการให้บริการลูกค้า กฏหมายนี้เกินความจำเป็นอีกทั้งยังเป็นมาตรการสุดโต่งซึ่งมีแต่จะสร้างภาระที่เพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นในการประกอบธุรกิจของผู้ค้าปลีกไทยที่ต้องบริหารดูแลร้านค้าของตน”

นอกเหนือไปจากผลกระทบต่อผู้ค้าปลีกแล้ว ผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทยหลายฝ่ายยังให้ความเห็นว่ากฎหมายดังกล่าวอาจจะสร้างปัญหาเพิ่มเติมให้แก่ประเทศไทย

ดร.กิตติพงษ์ แจ้งกมลกุลชัย Associate Director และผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ไบรอัน เคฟ อินเตอร์เนชั่นแนล คอนซัลติ้ง จำกัด กล่าวว่า “ในฐานะสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) ประเทศไทยมีหน้าที่อันพึงปฏิบัติภายใต้ความตกลง WTO ในการแจ้งให้ประเทศสมาชิก WTO ประเทศอื่น ๆ รับทราบเกี่ยวกับกฎระเบียบของซองบรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคทางการค้า เนื่องจากเป็นการประกาศใช้บทบัญญัติเทคนิคใหม่ที่ไม่ได้ขึ้นกับรูปแบบมาตรฐานระหว่างประเทศ และเป็นบทบัญญัติที่อาจเป็นการละเมิดทางการค้า โดยการประกาศเพิ่มขนาดภาพคำเตือนนี้จะส่งผลกระทบต่อการใช้ตราสินค้าและเครื่องหมายการค้าของบริษัทต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องที่ควรตั้งคำถามว่ากระทรวงสาธารณสุขได้มีการพิจารณาภาระผูกพันด้านการค้าหรือไม่ก่อนที่จะมีการเสนอกฏระเบียบดังกล่าว อีกทั้งรัฐบาลมีเจตนาที่จะแจ้งเรื่องกฎระเบียบนี้ต่อองค์การการค้าโลกหรือไม่ หากไม่ ผมเกรงว่าประเทศไทยอาจจะต้องเผชิญปัญหากับประเทศคู่ค้าต่างๆ ของเราได้”

นางดารานีย์ วัจนะวุฒิวงศ์ หุ้นส่วนร่วมบริหาร กรรมการผู้จัดการแผนกทรัพย์สินทางปัญญา บริษัท ติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระด้านกฎหมายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับโลกในประเด็นทรัพย์สินทางปัญญากล่าวว่า “บทบัญญัติในประกาศฉบับดังกล่าวจะทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าสูญเสียไปซึ่งทรัพย์สินอันมีค่าของตน ซึ่งเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ละเมิดกฎหมายเครื่องหมายการค้าแห่งประเทศไทย และขัดต่อหน้าที่ในพันธะการระหว่างประเทศของประเทศไทยนอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้กำหนดให้ปีพ.ศ. 2556 เป็น “ปีแห่งการต่อต้านการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา” ดังนี้การประกาศใช้ภาพคำเตือนขนาดใหญ่ที่กีดกันความสามารถในการใช้เครื่องหมายทางการค้าที่มีมูลค่า กีดกันการใช้โลโก้ และรูปแบบผลิตภัณฑ์ได้อย่างเต็มที่นั้น ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลกำลังส่งสัญญาณที่สับสนและขัดแย้งต่อความตั้งใจในการต่อต้านการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา”

สมาคมการค้ายาสูบไทยใคร่ขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรับฟังข้อกังวลเหล่านี้และพิจารณาทบทวนมาตรการดังกล่าวก่อนจะมีผลบังคับใช้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง