NO COUNTRY: ศิลปะร่วมสมัยเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดตัวที่ GUGGENHEIM

อังคาร ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๓ ๑๐:๕๘
NO country: ศิลปะร่วมสมัยเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดตัวที่ Guggenheimในวันที่ 22 กุมภาพันธ์

นิทรรศการครั้งแรกของ Guggenheim UBS MAP Global Art Initiative ในนิวยอร์กจะนำเสนอผลงานของนานาศิลปินจากบังกลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

นิทรรศการจะถูกนำไปจัดแสดงที่สถาบันเอเชียโซไซตีที่ฮ่องกงตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2557

นิทรรศการ: No Country: ศิลปะร่วมสมัยเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สถานที่จัดแสดง Solomon R. Guggenheim Museum, 1071 Fifth Avenue, New York

ที่ตั้ง: Annex ชั้น 2 และโรงละคร New Media Theater

วันที่: 22 กุมภาพันธ์ ถึง 22 พฤษภาคม 2556

ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์จนถึง 22 พฤษภาคม 2556 พิพิธภัณฑ์ Solomon R. Guggenheim Museum ในนิวยอร์กจะจัดแสดงนิทรรศการ No Country: ศิลปะร่วมสมัยเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิทรรศการเปิดตัวของ Guggenheim UBS MAP Global Art Initiative การนำเสนอผลงานของนิวยอร์ก นี้จะประกอบด้วยผลงานจาก 22 ศิลปิน และการแสดงร่วมกันถึงบางส่วนของ ความคิดเห็นที่มีพลังและล้ำสมัยในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน นิทรรศการนี้ติดตามเครือข่ายการแลกเปลี่ยนและการสร้างแรงจูงใจทางด้านสติปัญญา และพิจารณาถึงผลกระทบต่างๆ จากแนวคิดชาติพันธุ์นิยม การตั้งอาณานิคม และโลกาภิวัฒน์ ในเรื่องของอัตลักษณ์ประจำประเทศ โดยมีกามุ่งเน้นไปที่การผลัดเปลี่ยนทางความคิดในเรื่องของวิธีปฏิบัติที่สร้างสรรค์ในภูมิภาคนั้นๆ นิทรรศการนี้จะประกอบไปด้วยภาพวาด งานแกะสลัก/ปั้น ภาพถ่าย วิดีโอ งานบนแผ่นกระดาษ และศิลปะจัดวาง ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นการเปิดให้เข้าชมในสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก ผลงานทั้งหมดนั้นเพิ่งจะเข้าไปอยู่ในคอลเลคชันล่าสุดของ Guggenheim ภายใต้การอุปถัมภ์จากกองทุนจัดซื้อของ Guggenheim UBS MAP หลังจากการนำเสนอในนิวยอร์ก No Country จะเดินทางไปจัดแสดงต่อที่สถาบันเอเชีย โซไซตีที่ฮ่องกงตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2557 และคาดว่านิทรรศการนี้จะถูกนำไปจัดแสดงที่สิงคโปร์อีกด้วย

นิทรรศการนี้ เป็นทั้งการขยายการสนทนาระดับโลกของ Guggenheim และการเพิ่มจำนวนงานศิลปะที่ครอบครองครั้งสำคัญจากชุมชนที่หลากหลายเหล่านี้ Richard Armstrong ผู้อำนวยการของพิพิธภัณฑ์และมูลนิธิ Solomon R. Guggenheim ได้กล่าวไว้ว่า: “ด้วยนิทรรศการ

No Country เราเริ่มต้นที่จะนำพาผู้ชมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับโลก ลงลึกในรายละเอียด และสร้างความพึงพอใจให้มากยิ่งขึ้น

และเราหวังว่าจะมีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในเชิงลึกมากยิ่งขึ้น ตามความหมายของชื่อนิทรรศการ เราพยายามที่จะชื่นชมการคิดเกี่ยวกับงานศิลปะที่กำลังสร้างสรรค์ขึ้นในปัจจุบัน การเพิ่มความรู้ที่เรามีร่วมกัน และการทำความเข้าใจข้ามผ่านพรมแดน และในการสร้างพื้นที่ส่วนสำคัญในคอลเลคชันของ Guggenheim” รวมถึงชื่นชมแนวคิดของคำว่า “Country” เอง

J?rg Zeltner CEO ฝ่ายบริหารจัดการความมั่งคั่งของ UBS กล่าวว่า “ความงดงามของ Guggenheim UBS MAP Global Art Initiative คือการที่ทำให้เราได้เน้นความโดดเด่นของภูมิภาคต่างๆ ที่เราไม่ค่อยได้แสดงให้เห็นในภาพงานศิลปะนานาชาติที่เน้นวัฒนธรรมตะวันตกป็นส่วนใหญ่” “เราตระหนักถึงศักยภาพอันยิ่งใหญ่ด้านเศรษฐกิจของภูมิภาคต่างๆ เหล่านี้ และยังจัดอยู่ในลำดับต้นๆ ในรายชื่อของเราอีกด้วย ความสำคัญของภูมิภาคต่างๆ นี้ไม่เพียงแต่สามารถวัดได้ในแง่ของธุรกิจเท่านั้น แต่ยังท้าทายการผูกขาดอย่างแท้จริงของโลกตะวันตกได้ในหลายๆ ด้านอีกด้วย ศิลปะคือสิ่งที่ลูกค้าหลายคนของเราหลงใหล และการที่เราร่วมมือกับ Guggenheim ทำให้เป้าหมายระยะยาวของเราสมบูรณ์แบบ เป้าหมายดังกล่าว ได้แก่ การสนับสนุน การศึกษา และการเก็บรวบรวมงานศิลปะในหมู่ผู้เข้าชมจำนวนมากทั้งในระดับนานาชาติและระดับท้องถิ่น”

โครงการ Guggenheim UBS MAP Global Art Initiative เปิดตัวขึ้นในเดือนเมษายนปี 2555 ซึ่งเป็นความร่วมมือในช่วงเวลาหลายปี เพื่อบันทึกศิลปะร่วมสมัยในสามภูมิภาคตามภูมิศาสตร์ ได้แก่ อเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลาตินอเมริกา และตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ และมีการจัดสถาบันฝึกอบรมภัณฑารักษ์ นิทรรศการท่องเที่ยวนานาชาติ โปรแกรมการศึกษาที่ดำเนินโดยผู้ชม และการเพิ่มคอลเลคชันถาวรของ Guggenheim ภายใต้แนวคิดที่ต้องการรวมกลุ่มผู้ชมต่างๆ ได้แก่ ศิลปิน ภัณฑารักษ์ และนักการศึกษา Guggenheim UBS MAP มุ่งมั่นที่จะกระตุ้นให้เกิดการสนทนา และการมีปฏิสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยเป็นการสนับสนุนความสัมพันธ์ที่ยาวนานในหมู่สถาบัน ศิลปิน นักวิชาการ ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ และชุมชนออนไลน์ โปรแกรมนี้ได้ถูกออกแบบขึ้นเพื่อแสดงถึงประวัติความเป็นสากลที่โดดเด่นของมูลนิธิ Solomon R. Guggenheim

No Country: ศิลปะร่วมสมัยเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับการเตรียมการโดย June Yap ภัณฑารักษ์ของ Guggenheim UBS MAP เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับการช่วยเหลือจาก Helen Hsu ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์ Solomon R. Guggenheim และได้รับคำแนะนำจาก Alexandra Munroe ภัณฑารักษ์อาวุโสแผนกศิลปะเอเชียของ Solomon R. Guggenheim Museum Samsung เจ้าหน้าที่ฝ่ายภัณฑารักษ์อื่นๆ จะให้ความรู้และดูแลไปตลอดทั้งโครงการ Nancy Spector รองผู้อำนวยการและ Jennifer และ David Stockman ผู้บริหารภัณฑารักษ์ที่มูลนิธิ Solomon R. Guggenheim นิวยอร์ก และ Joan Young ผู้อำนวยการงานภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์ Solomon R. Guggenheim เป็นผู้ควบคุมดูแลงานภัณฑารักษ์แบบหลายปีทั้งโครงการ

ภาพรวมของนิทรรศการ

ได้รับแรงบันดาลใจจากบรรทัดแรกในบทกวีของ W.B. Yeats ที่ชื่อ “Sailing to Byzantium” (1928) ซึ่งต่อมาในภายหลัง Cormac McCarthy ได้นำไปใช้ในนิยายของเขา No Country for Old Men (2005) งานนิทรรศการ No Country คือการแสดงถึงแนวคิดที่ว่าวัฒนธรรมไร้ซึ่งพรมแดน ในการตรวจสอบถึงความแตกต่างทางวิธีปฏิบัติของศิลปะร่วมสมัยในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านผลงานของศิลปินข้ามยุคสมัย และภายใต้บริบทของพรมแดนที่มีการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ของภูมิภาค นิทรรศการนี้มีการติดตามความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและอิทธิพลทางวัฒนธรรมซึ่งเชื่อมโยงระหว่างผู้คนในพื้นที่และกับผู้อื่นบนโลก

ความคิดสำคัญของงานได้แก่: แนวคิดของความเป็นชาติ อัตลักษณ์ และศาสนา การเผชิญหน้าและการเจรจาข้ามวัฒนธรรม รวมถึงการตีความและการบรรยายทางประวัติศาสตร์

จากผลงานที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมในนิทรรศการ Yap กล่าวว่า: “มีความหลายหลายของการทำงานศิลปะที่กว้างขวางมากในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแน่นอนว่าโครงการเพียงโครงการเดียวคงไม่อาจแสดงถึงศิลปินและงานศิลปะต่างๆ ได้ครบถ้วน ในนิทรรศการนี้ วัตถุประสงค์คือเพื่อแสดงถึงการพัฒนาด้านความสุนทรีย์ และหัวข้อที่ได้รับความสนใจในศิลปะร่วมสมัย และในขณะเดียวกันยังเป็นการท้าทายเอกสิทธิ์ของชาติและการบรรยายระดับสากล โดยใช้เป็นรากฐานของการทำความเข้าใจวิธีปฏิบัติด้านความสุนทรีย์จากประเทศต่างๆ เราหวังว่างานศิลปะเหล่านี้จะมีส่วนในการสร้างความเข้าใจที่สำคัญในเชิงลึกของภูมิภาค ทั้งผู้ชมที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาและเอเชีย จากการสนับสนุนของโปรแกรมการมีส่วนร่วมกับผู้ชมในท้องถิ่นต่างๆ และนานาชาติ No Country จึงไม่ใช่แค่นิทรรศการเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นเวทีในการสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเป็นการทำลายอุปสรรคในการทำความเข้าใจร่วมกัน”

ศิลปินในงานแสดงนิทรรศการในนิวยอร์ก ได้แก่:

Amar Kanwar (เกิดปี 1964 นิวเดลี อินเดีย) Araya Rasdjarmrearnsook (เกิดปี 1957ตราด ไทย) Arin Dwihartanto Sunaryo (เกิดปี 1978

บันดุง อินโดนีเซีย)Aung Myint (เกิดปี 1946 ย่างกุ้ง พม่า)Bani Abidi (เกิดปี 1971 การาจี ปากีสถาน)Ho Tzu Nyen (เกิดปี 1976 สิงคโปร์)Khadim Ali (เกิดปี 1978 เควตตา ปากีสถาน)Navin Rawanchaikul (เกิดปี 1971เชียงใหม่ ไทย)Norberto Roldan (เกิดปี 1953โรซัสซิตี้ ฟิลิปปินส์)Poklong Anading (เกิดปี 1975มะนิลา ฟิลิปปินส์)Reza Afisina (เกิดปี 1977 บันดุง อินโดนีเชีย)Shilpa Gupta (เกิดปี 1976 มุมไบ อินเดีย)

Tang Da Wu (เกิดปี 1943 สิงคโปร์)Tayeba Begum Lipi (เกิดปี 1969

ไกบันธา บังกลาเทศ)The Otolith Group (ประมาณปี 2002 ลอนดอน สหราชอาณาจักร)The Propeller Group (ประมาณปี 2006

โฮจิมินห์ซิตี้ เวียดนาม และลอสแองเจลิส แคลิฟอร์เนีย)Tran Luong (เกิดปี 1960 ฮานอย เวียดนาม)Truong Tan (เกิดปี 1963 ฮานอย เวียดนาม)Tuan Andrew Nguyen (เกิดปี 1976ไซงอน เวียดนาม)Vincent Leong (เกิดปี 1979

กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย)Wah Nu (เกิดปี 1977 ย่างกุ้ง พม่า) และTun Win Aung (เกิดปี 1975 Yalutt, พม่า)Wong Hoy Cheong (เกิดปี 1960ยอร์จทาวน์ มาเลเซีย)

การแสดงนิทรรศการสัญจร

หลังจากงานเปิดตัวที่ Guggenheim แล้ว คาดว่า No Country: ศิลปะร่วมสมัยเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเดินทางไปจัดแสดงที่สถาบันเอเชียโซไซตีที่ฮ่องกงตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2557 นอกจากนี้ คาดว่านิทรรศการนี้จะถูกนำไปจัดแสดงที่สถานที่จัดแสดงในสิงคโปร์อีกด้วย งานแสดงนิทรรศการเหล่านี้อาจมีงานศิลปะบางส่วนเพิ่มเติมเข้ามาซึ่งเป็นผลงานที่ไม่ได้แสดงที่นิวยอร์ก แต่เป็นผลงานที่ถูกรวบรวมไว้ในคอลเลคชันของ Guggenheim เจ้าหน้าที่ของ Guggenheim จะประสานงานกับทางภัณฑารักษ์และนักศึกษา ณ สถานที่จัดแสดงนิทรรศการเพื่อดัดแปลงการนำเสนอผลงานให้ตรงกับความสนใจและความต้องการเฉพาะด้านของผู้ที่เข้าชมนิทรรศการในฮ่องกงและสิงคโปร์

การเพิ่มคอลเลคชันแบบถาวรของกองทุนจัดซื้อของ Guggenheim UBS MAP

นอกเหนือจากผลงานที่จัดแสดงในนิวยอร์กและในทัวร์แสดงนิทรรศการแล้ว Guggenheim อยู่ในระหว่างขั้นตอนการขอซื้อผลงานจาก Kamin Lertchaiprasert (เกิดปี 1964 ลพบุรี ไทย), Simryn Gill (เกิดปี 1959 สิงคโปร์), Sopheap Pich (เกิดปี 1971 พระตะบอง กัมพูชา) และ Vandy Rattana (เกิดปี 1980 พนมเปญ กัมพูชา) ซึ่งจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของคอลเลคชันของ Guggenheim ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนจัดซื้อของ Guggenheim UBS MAP ผลงานต่างๆ เหล่านี้ประกอบด้วยภาพถ่าย งานแกะสลัก/งานปั้น และผลงานบนกระดาษ ซึ่ง Guggenheim จะนำไปจัดแสดงแก่ผู้ชมหลากหลายกลุ่มต่อไปในอนาคต ผลงานทั้งหมดที่จัดซื้อโดยกองทุนจัดซื้อ Guggenheim UBS MAP จะถูกนำไปเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของพิพิธภัณฑ์ที่ guggenheim.org/MAP

การขยายการสนทนา ทั้งสถานที่จริงและออนไลน์

ส่วนหนึ่งของภารกิจนั้นคือการสนับสนุนการสนทนาข้ามวัฒนธรรมเกี่ยวกับศิลปะร่วมสมัยและวิธีปฏิบัติทางวัฒนธรรม Guggenheim พยายามนำเสนอชุดการสนทนาและคำวิจารณ์ที่ครอบคลุมและล้ำสมัย โดยสามารถเข้าถึงได้ทั้งในสถานที่จัดแสดงนิทรรศการในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนิวยอร์กซิตี้ รวมถึงทางออนไลน์บนเว็บไซต์ของโครงการ ทีมงาน Guggenheim ยังมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนทางอาชีพซึ่งเข้าถึงได้ยากกับบรรดาศิลปิน ภัณฑารักษ์โครงการ และเพื่อนร่วมงานอื่นๆ จากสถาบันที่เข้าร่วม เพื่อพัฒนาชุดโปรแกรมสาธารณะ การศึกษา และครอบครัว ซึ่งสอดคล้องกับ No Country โดยมีแหล่งทรัพยากรสนับสนุน โปรแกรมเหล่านี้ได้มีการเปิดตัวไปในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 โดยมีหัวข้อการสนทนาชื่อ MAP: เกี่ยวกับเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ ศูนย์ศิลปะ Jim Thompson ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย ผู้จัดการสนทนาครั้งนี้คือ Alexandra Munroe ภัณฑารักษ์อาวุโสของ Samsung แห่งศิลปะเอเชีย พิพิธภัณฑ์ Solomon R. Guggenheim June Yap และกฤติยา กาวีวงศ์ ผู้อำนวยการงานศิลปะ หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน

แพลตฟอร์มออนไลน์ของโครงการจะมีทั้งข้อความ เสียง และวิดีโอ ซึ่งจัดทำโดยภัณฑารักษ์ นักประวัติศาสตร์ศิลปะ ศิลปิน และผู้เชี่ยวชาญในภูมิภาค รายการที่มีการเผยแพร่จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ เรียงความเชิงลึกเกี่ยวกับแง่มุมของภูมิภาค โดยศิลปินและนักประวัติศาสตร์ศิลปะ Iftikhar Dadi ผู้ซึ่งแบ่งปันมุมมองของเขาเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติร่วมสมัยเชิงภัณฑารักษ์ในเอเชียใต้ และโดย Patrick D. Flores ศาสตราจารย์ประวัติศาสตร์ศิลปะ ทฤษฎี และคำวิจารณ์แห่งมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ที่ Diliman ผู้ซึ่งเขียนเกี่ยวกับความซับซ้อนของศิลปะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ผลงานอื่นๆ ได้แก่การสนทนาระหว่าง Roger MacDonald รองผู้อำนวยการโครงการศิลปะโตเกียว และศิลปินเสียงชาวอินโดนีเซีย Duto Hardono บทความเกี่ยวกับศิลปะข้างถนนซึ่งมีกลิ่นอายของการเมืองอินโดนีเซีย โดยนักเขียนและกราฟิกดีไซน์เนอร์ Leonhard Bartolomeus และผลงานฉากศิลปะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างชาวเอเชียและออสเตรเลียโดย Russell Storer ผู้บริหารศิลปะเอเชียและแปซิฟิก ณ แกลเลอรีศิลปะควีนส์แลนด์/ แกลเลอรีศิลปะสมัยใหม่ บริสเบน รวมถึงการแสดงผลงานของนักเขียนและผู้ผลิตภาพยนตร์ Aung Min การถ่ายทำสารคดีประวัติศาสตร์ส่วนบุคคลในพม่า และมุมมองของศิลปินและภัณฑารักษ์ Veronika Radulovic เกี่ยวกับการเบ่งบานทางศิลปะสาธารณะในเวียดนามเมื่อเร็วๆ นี้ ผลงานใหม่จะถูกรวมเข้าไปในแพลตฟอร์มออนไลน์ตลอดทั้งโครงการ และขอเชิญให้ผู้อ่านร่วมตอบคำถามเชิงกระตุ้น “Sound Off” ซึ่งจะอยู่ในแต่ละผลงาน

ผู้ติดต่อเกี่ยวกับสื่อ:

เมธาวรินทร์ มณีกูลพันธ์

TQPR Thailand

02 260 5820 ต่อ 115

[email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๙ ม.กรุงเทพ เห็นถึงคุณค่าพลังงานที่ยั่งยืนเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสร้างสกิลตรง
๑๖:๐๗ แอลจีเผยผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2024 ผลักดันธุรกิจด้วยนวัตกรรมพร้อมรักษาสมดุลระหว่างธุรกิจหลักและการเติบโตในอนาคตเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ
๑๖:๓๕ ฮั้วฟง รับเบอร์ฯ (HFT) จัดประชุมผู้ถือหุ้นปี 2567 ผถห.โหวตผ่านฉลุยทุกวาระ
๑๖:๕๒ ซีเอ็ด เปิดสาขาใหม่ที่ตราด! บริจาคหนังสือ 2 แสนบาท หนุนการอ่านในท้องถิ่น
๑๖:๕๙ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ทั้งปีที่อัตราหุ้นละ 0.52
๑๖:๕๙ ปรับการนอนหลับของคุณให้มีคุณภาพดีขึ้นด้วยฟีเจอร์ใน HUAWEI Band 9
๑๖:๓๔ ไฮเออร์ ประเทศไทย โชว์ศักยภาพแกร่ง พาเหรดทัพนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ร่วมจัดแสดงในงาน China Enterprise Product Resources
๑๖:๑๐ สถานทูตอิตาลี เปิดศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าแห่งใหม่ในกรุงเทพ
๑๖:๕๒ CHAYO จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ไฟเขียวทุกวาระ
๑๖:๑๓ ผู้บริหารบางจากฯ แชร์แนวทางขับเคลื่อนการรับมือวิกฤตสภาพภูมิอากาศ 2 เวที