ไนท์แฟรงค์เผยความต้องการที่ดินอุตสาหกรรมอีสเทิร์น ซีบอร์ดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ศุกร์ ๑๒ เมษายน ๒๐๑๓ ๑๓:๑๓
จากผลวิจัยล่าสุดของบริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด แสดงให้เห็นว่าความต้องการที่ดินอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก (อีสเทิร์น ซีบอร์ด) ยังคงเพิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยปี 2554 มร. มาร์คัส เบอร์เทนชอว์ กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายตัวแทนนายหน้าของบริษัทไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ทำเลที่มีแรงงานและโครงสร้างระบบโลจิสติกส์พร้อมจะยังคงเป็นที่ต้องการต่อไป โดยเฉพาะบริเวณที่ไม่ได้ถูกน้ำท่วมในปี 2554”

จากผลวิจัยของไนท์แฟรงค์ประเทศไทยบ่งชี้ว่าอุปทานทั้งหมดของ SILPs ในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 อยู่ที่ 125,325 ไร่ คิดเป็นการเติบโต 2.07 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในปี 2555 ได้ขายที่ดินอุตสาหกรรมจำนวนประมาณ 5,288 ไร่ เทียบกับ 1,104 ไร่จากปี 2554 หรือ 26 เปอร์เซ็นต์

อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่ามีการดูดซับเชิงบวกในตลาดช่วงแปดไตรมาสที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นความต้องการที่มีอยู่มากซึ่งเกิดจากการเคลื่อนไหวของการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศโดยเฉพาะจากประเทศญี่ปุ่น บางส่วนเป็นผลมาจากการฟื้นฟูหลังน้ำท่วมและการย้ายทำเลที่ตั้ง อย่างไรก็ดี นักลงทุนชาวญี่ปุ่นรายใหม่ได้เบนความสนใจมายังประเทศไทยภายหลังจากค่าแรงในประเทศญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นและความตรึงเครียดทางการเมืองกับประเทศจีน

ราคาที่ดินอุตสาหกรรมในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่หนึ่งล้านบาทต่อไร่ (หรือ 625 บาทต่อตารางเมตร) จนถึงสิบหกล้านบาทต่อไร่ (หรือ 10,000 บาทต่อตารางเมตร) ในช่วงปี 2555 ราคาที่ดินทั่วประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยห้าเปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม พบว่าที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมในจังหวัดที่ไม่ถูกน้ำท่วมเติบโตมากที่สุด ราคาที่ดินในอีสเทิร์น ซีบอร์ดและบริเวณที่เรียกว่าเขต เซ็นทรัล อีสเทิร์นโซน ซึ่งรวมจังหวัดปราจีนบุรีและบางส่วนของฉะเชิงเทราด้วย โดยมีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้น 6.34-6.43 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ผู้พัฒนาโครงการรายใหญ่บางรายในเขตอีสเทิร์น ซีบอร์ดสามารถปรับราคาเพิ่มได้ 15-20 เปอร์เซ็นต์เป็นผลมาจากความต้องการที่มีมากขึ้น

ในทางกลับกัน อสังหาริมทรัพย์ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานครมีราคาลดลง ในขณะที่อสังหาริมทรัพย์ภาคอุตสาหกรรมตะวันตกราคาคงตัว

อุปทานทั้งหมดของโรงงานสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น 17.82 เปอร์เซ็นต์ในปี 2555 อยู่ที่ 2,654,537 ตารางเมตร ปรับตัวขึ้น 3.72 เปอร์เซ็นต์ ในไตรมาสสุดท้ายเนื่องจากผู้พัฒนาโครงการตอบสนองความต้องการผู้ซื้อที่มากขึ้น

อัตราการครอบครองตลาดเช่าโรงงานอยู่ที่ 89.76 เปอร์เซ็นต์ในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 ซึ่งเพิ่มขึ้น 88.99 เปอร์เซ็นต์จากไตรมาสก่อนหน้าแม้ว่าจะมีการเพิ่มสินค้าใหม่เข้าตลาดมากขึ้น การดูดซับเชิงบวกสุทธิดำเนินไปอย่างคงที่ในช่วงหกไตรมาสสุดท้าย แสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่องของความต้องการพื้นที่โรงงานแม้ช่วงหลังน้ำท่วม

แนวโน้มในอนาคต

มร. เบอร์เทนชอว์ คาดการณ์ว่าการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศจะยังคงหมุนเวียนในประเทศไทยในปี 2556 และทำเลที่มีแรงงานพร้อมและระบบโลจิสติกส์ที่ดีจะเป็นที่ต้องการต่อไป โดยเฉพาะทำเลที่ไม่ถูกน้ำท่วมในปี 2554

คำนิยาม:

ตลาดโรงงานเช่า: ตั้งเป้าหมายเป็นโรงงานสร้างพร้อมเช่าจากผู้พัฒนารายใหญ่ทั้งหมด ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ทำเลนิคมอุตสาหกรรมเท่านั้น

SILP : ที่ดินย่อยที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม เขตนิคมและสวนสาธารณะ/อุทยาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๖ ม.ศรีปทุม เตรียมรับนักศึกษาจีน! คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ SPU ต้อนรับและหารือ สถาบันการศึกษาจีน แผนรับนศ.จีนเข้าเรียน
๑๗:๑๖ UAC รุกพัฒนาโรงไฟฟ้าภูผาม่าน - โรงงานผลิต RDF3 ปั้นรายได้ปีนี้โตมากกว่า 15% - EBITDA แกร่งแตะ 20%
๑๗:๓๐ เอ็กโซติค ฟู้ด (XO) เบอร์ 1 ซอสพริกส่งออกของไทย เฉิดฉายในงาน THAIFEX - ANUGA ASIA 2024
๑๗:๒๐ LVMH ขยายความร่วมมือกับ Alibaba สร้างนิยามใหม่ให้กับประสบการณ์ค้าปลีกผลิตภัณฑ์หรูในจีน
๑๗:๐๐ ศรีวิชัยเวชวิวัฒน์ (VIH) เปิดจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน 4-10 มิ.ย.นี้ ต่อยอดขยายอาณาจักรโรงพยาบาล คาดผู้ถือหุ้นเดิมใช้สิทธิเต็มจำนวน
๑๗:๕๒ กทม. ตั้งเต็นท์ศาลาที่พักผู้โดยสารชั่วคราวหน้า รร. คลองทวีวัฒนา ก่อนของบสร้างถาวรเพิ่มเติม
๑๗:๒๒ กทม. เร่งตรวจสอบแก้ไขฝาบ่อตะแกรงเหล็กท่อร้อยสายทางเท้าถนนเยาวราช
๑๗:๒๕ Q2 รับสร้างบ้านภาคอีสาน-ใต้ทรงกับทรุดพีดีเฮ้าส์ ชูโนว์ฮาว-ประสบการณ์มืออาชีพแก้เกมส์แข่งเดือด
๑๗:๑๙ อีริคสันครองอันดับหนึ่งผู้นำตลาดโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย 5G ในรายงาน Frost Radar(TM) เป็นปีที่สี่ติดต่อกัน
๑๗:๕๔ IB Club ร่วมกับ FynnCorp ผสานต่อโครงการ Capital Market Case Competition 2024 เคสการแข่งขันตลาดทุนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกันกว่า 270,000