ตลาดพื้นที่พาณิชยกรรมในกรุงเทพมหานคร ณ ไตรมาสที่ 1 พ.ศ.2556

พฤหัส ๒๓ พฤษภาคม ๒๐๑๓ ๐๙:๒๓
การขยายตัวของ กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ย่านชานเมืองที่มีการขยายตัวในภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างรวดเร็ว เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลัก ในการช่วยขับเคลื่อนการขยายตัวของตลาดพื้นที่พาณิชยกรรม โดยอ้างอิงจากรายงานตลาดพื้นที่พาณิชยกรรมในกรุงเทพมหานครฉบับล่าสุดของคอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ณ ไตรมาสที่ 1 พ.ศ.2556

นายสุรเชษฐ กองชีพ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายวิจัย คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวถึงตลาดพื้นที่ พาณิชยกรรมว่า “มีพื้นที่พาณิชยกรรมประมาณ 27,500 ตารางเมตร ที่สร้างเสร็จและพร้อมเปิดให้บริการในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ โดยพื้นที่ทั้งหมดมาจากโครงการคอมมูนิตี้มอลล์ นอกจากนี้พื้นที่พาณิชยกรรรมมากกว่า 284,000 ตารางเมตร ที่มีกำหนดแล้วเสร็จภายในปีนี้ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นคอมมูนิตี้มอลล์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครรอบนอก ในขณะที่ยังคงมีพื้นที่พาณิชยกรรมอีกจำนวนหนึ่งทั้งคอมมูนิตี้มอลล์ ศูนย์การค้า และสเปเชี่ยลตี้ สโตร์ ที่มีกำหนดแล้วเสร็จในปีหน้า และปีต่อๆ ไป”

“อุปทานในอนาคตมากกว่า 284,000 ตารางเมตรที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และมีกำหนดแล้วเสร็จภายในปีพ.ศ.2556 โดยที่พื้นที่ประมาณ 131,700 ตารางเมตรเป็นศูนย์การค้า และอีกประมาณ 152,000 ตารางเมตรเป็นคอมมูนิตี้มอลล์ โครงการคอมมูนิตี้มอลล์หลายโครงการมีกำหนดแล้วเสร็จและเปิดให้บริการภายในปีพ.ศ.2556 ดังนั้นพื้นที่รวมของคอมมูนิตี้มอลล์ ณ สิ้นปีพ.ศ.2556 จะขึ้นมาเป็นอันดับสองของตลาดพื้นที่พาณิชยกรรมในกรุงเทพมหานคร และพื้นที่โดยรอบด้วยพื้นที่รวมมากกว่า 856,000 ตารางเมตร ในขณะที่ไฮเปอร์มาร์เก็ตมีเพียงแค่ประมาณ 811,000 ตารางเมตร โครงการคอมมูนิตี้มอลล์ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครรอบนอก แม้ว่าโครงการคอมมูนิตี้มอลล์บางแห่งในกรุงเทพมหานครจะ ไม่ประสบความสำเร็จ และไม่สามารถรักษาความนิยมเหมือนช่วงแรกที่เปิดให้บริการ” นายสุรเชษฐ กล่าว

อัตราการเช่าพื้นที่ในทุกทำเลของกรุงเทพมหานครในไตรมาสที่ 1 ปีพ.ศ.2556 ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีพ.ศ.2555 ตลาดพื้นที่พาณิชยกรรมในประเทศไทยมีการเติบโตขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดตามแนวชายแดนของประเทศไทย นายสุรเชษฐ อธิบายเพิ่มเติมว่า “การขยายตัวของร้านค้าแบรนด์ไทย และต่างชาติในกรุงเทพมหานครเป็นไปอย่างรวดเร็วในช่วงปีที่ผ่านมา และจะยังคงเป็นไปในรูปแบบนี้ในปีพ.ศ.2556 ตลาดร้านสะดวกซื้อมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในปีที่แล้ว เนื่องจากหลายบริษัทขนาดใหญ่มีการขยายสาขา และเปิดร้านใหม่เป็นจำนวนมาก อีกทั้งการเพิ่มขึ้นของจำนวนโครงการที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครได้กลายปัจจัยส่งเสริมให้การเดินทางไปช็อปปิ้งสะดวกมากขึ้น”

“การช็อปปิ้งออนไลน์ยังคงเป็นตลาดใหม่สำหรับผู้พัฒนา และผู้ประกอบการพื้นที่ค้าปลีก แต่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2554 ผู้พัฒนา และผู้ประกอบการพื้นที่ค้าปลีกรายใหญ่ในธุรกิจพื้นที่ค้าปลีกต่างก็ให้ความสำคัญต่อผู้ซื้อออนไลน์ โดยการออกมาตรการส่งเสริมการขายออนไลน์” นายสุรเชษฐ กล่าวเพิ่มเติม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน