สถาบันโพเนมอน และไซแมนเทค พบว่าปัญหาข้อมูลรั่วไหลส่วนใหญ่ เกิดจากมนุษย์และความผิดพลาดของระบบ

ศุกร์ ๐๗ มิถุนายน ๒๐๑๓ ๑๖:๐๙
การโจมตีที่มุ่งร้ายและการโจรกรรม ก่อให้เกิดความเสียหายจำนวนมากทั่วโลก

ไซแมนเทค คอร์ป (NASDAQ: SYMC) และสถาบัน โพเนมอน เผยรายงานการศึกษาวิเคราะห์ความเสียหายจากเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลทั่วโลก ประจำปี 2013 (2013 Cost of Data Breach Study: Global Analysis) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความผิดพลาดของมนุษย์และปัญหาของระบบเป็นต้นเหตุสำคัญถึงสองในสามของปัญหาข้อมูลรั่วไหลในปี พ.ศ.2555 และส่งผลให้ค่าเฉลี่ยความเสียหายทั่วโลกสูงถึง 136 ดอลลาร์ต่อชุดข้อมูล 1 ชุด1 โดยระบุว่าปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากขาดการควบคุมข้อมูลที่มีชั้นความลับกับพนักงาน ขาดการควบคุมระบบ และไม่ทำตามข้อกำหนดกฎหมายหรือระเบียบที่เหมาะสม โดยภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ภาคธุรกิจสาธารณสุข การเงินและเภสัชกรรม ซึ่งมีค่าความเสียหายสูงกว่าภาคธุรกิจอื่นๆ กว่า 70 เปอร์เซ็นต์

มูลค่าความเสียหายทั่วโลกจากลูกค้าที่ข้อมูลถูกโจรกรรมเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว แต่ในสหรัฐอเมริกาค่าความเสียหายจากข้อมูลถูกโจรกรรมกลับลดลงเป็นมูลค่ากว่า 5.4 ล้านดอลลาร์ อันเป็นผลมาจากองค์กรส่วนใหญ่เริ่มใส่ใจและแต่งตั้งบุคลากรเพื่อทำหน้าที่เป็น ผู้บริหารด้านความปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศระดับสูง หรือ Chief Information Security Officers (CISOs) ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบและตอบสนองต่อภัยคุกคามต่างๆ การวางแผนรับมือและสร้างความปลอดภัยในภาพรวมให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

Click to Tweet: รายงานความเสียหายจากปัญหาข้อมูลรั่วไหล 2013: พบว่าความประมาทของบุคลากรและความผิดพลาดของระบบเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ข้อมูลถูกโจรกรรมเมื่อปีที่แล้ว : http://bit.ly/14gaIRR

[1] The Ponemon Institute considers customer or consumer data (including payment transactional information), employee records, citizen, patient and student information as a data record. The cost per record is the average cost per compromised data record of direct and indirect expenses incurred by the organization.

“ในขณะที่ผู้บุกรุกจากภายนอกกำลังพยายามหาช่องทางเจาะเข้าระบบขององค์กรเพื่อสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง อันตรายจากบุคลากรภายในที่ประสงค์ร้ายก็อาจสร้างความเสียหายและทำลายได้มากมายเท่าเทียมกัน” มร.ลาร์รี่ โพเนมอน (Larry Ponemon) ประธาน สถาบันโพเนมอน กล่าว “สถาบันฯ ได้ทำการวิจัยความเสียหายจากการโจรกรรมข้อมูลเป็นเวลากว่า 8 ปี แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมของพนักงานกลายเป็นปัญหาสำคัญที่องค์กรกำลังเผชิญ และเพิ่มขึ้นมากกว่า 22 เปอร์เซ็นต์จากการวิจัยครั้งแรก”

“พบว่าองค์กรที่มีแผนจัดการกับภัยคุกคามและมีระบบรักษาความปลอดภัยที่เข้มแข็ง นั้นมีความเสียหายน้อยกว่าองค์กรอื่นๆ มากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ โดยปัจจัยที่สำคัญคือการประสานงานที่ดีและการโต้ตอบแบบองค์รวมที่ชัดเจน” มร.เอนิล ชาคราวาร์ตี้ (Anil Chakravarthy) รองประธานบริหาร กลุ่มความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศที่ไซแมนเทค กล่าว “องค์กรทั้งหลายต้องปกป้องข้อมูลสำคัญของลูกค้า ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะอยู่ในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โทรศัพท์มือถือ เครือข่ายองค์กรหรือดาต้าเซ็นเตอร์”

จากรายงานประจำปี ฉบับที่ 8 ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการโจรกรรมข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงของบริษัท 277 แห่งใน 9 ประเทศ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี อินเดีย ญี่ปุ่น ออสเตรเลียและบราซิล สามารถอ่านรายงานสรุปของภาพรวมทั่วโลกและ 9 ประเทศนี้ได้ที่ http://bit.ly/10FjDik โดยปัญหาข้อมูลรั่วไหลทั้งหมดที่ได้รับการวิเคราะห์นี้เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2556 และเพื่อให้การศึกษาแนวโน้มของทิศทางที่ชัดเจน สถาบันโพเนมอนจึงไม่รวมภัยคุกคามขนาดใหญ่ ที่มีการโจรกรรมข้อมูลมากกว่า 100,000 รายการ เข้าไว้ในการศึกษาครั้งนี้ด้วย

โดยบริษัทที่สนใจวิเคราะห์ความเสี่ยงของตนเอง สามารถเข้าเยี่ยมชมและใช้เครื่องมือ Symantec’s Data Breach Risk Calculator ที่ใช้คำนวณความเสี่ยงตามขนาดองค์กร ประเภทธุรกิจ ตำแหน่งที่อยู่ และข้อมูลพื้นฐานด้านความปลอดภัยต่างๆที่จะนำมาพิจารณาร่วมกันเพื่อคำนวณและประเมินภาพรวมองค์กร

นอกจากนี้ในรายงานนี้ยังได้ค้นพบข้อมูลสำคัญได้แก่:

- มูลค่าความเสียหายโดยเฉลี่ยจากการถูกโจรกรรมข้อมูลแตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาคทั่วโลก ความแตกต่างขึ้นอยู่กับชนิดของภัยคุกคามที่องค์กรต้องเผชิญ เช่นเดียวกับกฎหมายการปกป้องข้อมูลที่มีผลบังคับใช้ไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ บางประเทศอย่างเยอรมนี ออสเตรเลีย อังกฤษและสหรัฐอเมริกา มีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและข้อกำหนดที่ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและความปลอดภัยด้านไอทีอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตามในสหรัฐอเมริกาและเยอรมนียังคงมีมูลค่าความเสียหายจากการโจรกรรมข้อมูลที่สูงอยู่ (มูลค่าความเสียหายเฉลี่ยต่อข้อมูลอยู่ที่ 188 ดอลลาร์และ 199 ดอลลาร์ตามลำดับ) โดยทั้ง 2 ประเทศถือเป็นประเทศที่มีมูลค่าความเสียหายโดยรวมสูงสุดอีกด้วย (สหรัฐอเมริกา เสียหาย 5.4 ล้านดอลลาร์ และ เยอรมนี เสียหาย 4.8 ล้านดอลลาร์)

- ความผิดพลาดจากบุคลากรและระบบเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาข้อมูลรั่วไหล ทั้งความผิดพลาดจากการกระทำของมนุษย์และความผิดพลาดจากระบบมีมากถึง 64 เปอร์เซ็นต์ของปัญหาข้อมูลรั่วไหลทั้งหมดในการวิจัยนี้ ในขณะที่งานวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า 62 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานคิดว่าการนำข้อมูลองค์กรออกสู่ภายในองค์กรเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ โดยส่วนใหญ่ไม่เคยลบข้อมูลเหล่านั้น จนกลายเป็นช่องโหว่อันส่งผลให้ข้อมูลรั่วไหล ซึ่งข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าบุคลากรภายในกลายเป็นตัวแปรสำคัญอันก่อให้เกิดการรั่วไหลของข้อมูล และความเสียหายต่างๆ เกิดขึ้นกับองค์กรได้อย่างไร บริษัทในบราซิลเป็นกลุ่มที่ได้รับความเสียหายจากความผิดพลาดของมนุษย์มากที่สุด ส่วนบริษัทในอินเดียจะได้รับความเสียหายจากข้อมูลรั่วไหลเพราะระบบหรือกระบวนการทางธุรกิจล้มเหลวมากที่สุด โดยความผิดพลาดของระบบ หมายรวมถึง แอพพลิเคชันทำงานผิดพลาด การได้ข้อมูลโดยไม่ตั้งใจ กระบวนการรับส่งข้อมูลผิดพลาด หรือการตรวจสอบอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลผิดพลาด (การเข้าถึงโดยมิชอบ) การกู้ข้อมูลผิดพลาดและอื่นๆ อีกมากมาย

- การโจมตีที่ประสงค์ร้ายและอาชญากรรม เป็นภัยคุกคามที่ส่งผลเสียหายมากและเกิดขึ้นกับทุกแห่ง ผลรวมค่าความเสียหายแสดงให้เห็นว่า การโจรกรรมและการโจมตีที่ประสงค์ร้ายนี้มีมากถึง 37 เปอร์เซ็นต์ของการรั่วไหลของข้อมูลทั้งหมด และเป็นภัยคุกคามที่มีความเสียหายสูงใน 9 ประเทศ โดยในสหรัฐอเมริกาและเยอรมนี มีบริษัทที่ประสบความเสียหายจากการโจมตีที่ประสงค์ร้ายและการโจมตีแบบอาชญากรรมนี้สูงถึง 277 ดอลลาร์และ 214 ดอลลาร์ต่อหนึ่งรายการข้อมูล ตามลำดับ โดยบริษัทในเยอรมนีมีแนวโน้มมากที่สุดที่จะเผชิญหน้ากับปัญหานี้ต่อไป ตามด้วยออสเตรเลียและญี่ปุ่น

- ตัวแปรบางอย่างขององค์กรมีส่วนช่วยลดความเสียหายได้ บริษัทในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ถือเป็นกลุ่มบริษัทที่สามารถลดมูลค่าความเสียหายลงได้มากที่สุด ด้วยการวางระบบรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด และการโต้ตอบต่อปัญหาที่รวดเร็วชัดเจน รวมถึงการมี CISO เป็นผู้บริหารด้วย ทั้งในสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส สามารถลดมูลค่าความเสียหายลงได้ด้วยการจ้างที่ปรึกษาด้านการแก้ไขปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลโดยเฉพาะ

ไซแมนเทค มีข้อแนะนำให้ปฏิบัติตามดังนี้ เพื่อป้องกันปัญหาข้อมูลรั่วไหลและลดความเสียหายหากเกิดขึ้นจริง:

1. ให้ความรู้กับพนักงานและตระหนักถึงการจัดการข้อมูลที่มีความเสี่ยงสูง

2. ใช้เทคโนโลยีปกป้องข้อมูล ค้นหาข้อมูลสำคัญและปกป้องข้อมูลเหล่านี้ให้ปลอดภัยก่อนคุณออกนอกองค์กร

3. เข้ารหัสข้อมูลและเลือกใช้โซลูชันการตรวจสอบสิทธิ์ที่เข้มงวด

4. เตรียมแผนรับมือกับภัยคุกคาม และต้องรวมถึงขั้นตอนการแจ้งให้ลูกค้าทราบด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง