ฟูจิตสึ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมทดสอบ “ระบบบริหารจัดการสมรรถนะความสามารถของนิสิต” เพื่อเสริมขีดความสามารถของนิสิต โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ

จันทร์ ๒๔ มิถุนายน ๒๐๑๓ ๑๖:๑๖
บุคคลในภาพ: จากซ้าย ดร.ชัยรัต พงศ์พันธุ์ภาณี หัวหน้ากิจกรรมฝ่ายสารสนเทศและระบบทะเบียนกิจกรรมนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผศ.ดร.สุธนะ ติงศภัทิย์ หัวหน้าโครงการพัฒนากีฬาชาติ สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รศ. ดร.ธนิต ธงทอง รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายอัตซูฮิโกะ โมโตฮาชิ รองประธานอาวุโส ส่วนธุรกิจระบบเพื่อการศึกษาและการสาธารณสุข บริษัท ฟูจิตสึ, นายมาซายูกิ คูนิมารุ ประธาน บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด และนางวัลลภา เปี่ยมนพเก้า รองประธานฝ่ายขาย บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมถ่ายภาพในพิธีเซ็นต์สัญญา การทดสอบ “ระบบบริหารจัดการสมรรถนะความสามารถของนิสิต”

เพื่อเป็นการสนับสนุนการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย ฟูจิตสึ ได้นำซอฟต์แวร์ในการสนับสนุนนักศึกษา “Campusmat-J/Student” มาให้บริการนอกประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก

บริษัท ฟูจิตสึ จำกัด, บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด, และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือร่วมกันพัฒนา ”ระบบบริหารจัดการสมรรถนะความสามารถของนิสิต” โดยต่อยอดจากโซลูชั่นด้านการศึกษาสำหรับสถาบันการศึกษา “Campusmate-J/Student” ของฟูจิตสึ โดยจะเริ่มทดสอบการใช้งานจริงที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อวัดผลประสิทธิภาพการทำงานและศึกษาข้อมูลเพื่อการปรับแต่งคุณลักษณะต่างๆ ของซอฟต์แวร์ให้เหมาะกับความต้องการในการใช้งานของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในประเทศไทยอีกด้วย

การพัฒนาระบบใหม่นี้จะช่วยให้นิสิต อาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้สอน สามารถจัดการ การศึกษาและกิจกรรมพิเศษต่างๆ ของนิสิตร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบดังกล่าวนี้จะนำมาทดลองใช้กับนิสิตที่มีความสามารถพิเศษด้านกีฬา ศิลปะ และดนตรี โดยจะทำการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ของนิสิต จากหน่วยงานต่างๆ ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าไว้ในระบบเดียว ยิ่งไปกว่านั้น ระบบยังเปิดโอกาสให้นิสิตสามารถสื่อสารแบบสองทางกับอาจารย์ได้โดยตรง ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตได้รับข้อมูลและคำแนะนำเฉพาะตัวที่เหมาะสมตามสถานการณ์ ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จากการทดสอบการใช้งานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะถูกนำมาใช้ปรับแต่งให้ระบบมีคุณลักษณะที่เหมาะสมกับความต้องการ, วัฒนธรรม, และระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่งภายหลังจากการประเมินการใช้งานระบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ฟูจิตสึมีแผนจะพัฒนาโซลูชั่นนี้ให้เป็นโซลูชั่นสำหรับตลาดการศึกษาในประเทศไทย เพื่อรองรับความต้องการของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในประเทศไทยในระยะต่อไป

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความมุ่งหมายที่จะนำระบบใหม่นี้มาเสริมจุดแข็งในการพัฒนาอาชีพของนิสิต ปรับปรุงคุณภาพการให้บริการข้อมูลนิสิต และเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวม

การทดสอบครั้งนี้ถือเป็นก้าวแรกของฟูจิตสึในการนำโซลูชั่นด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาออกมาให้บริการนอกประเทศญี่ปุ่น ซึ่งฟูจิตสึ จะยังคงมุ่งมั่นในการนำโซลูชั่นใหม่ๆ มาพัฒนาต่อยอดเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

ติดต่อฝ่ายสื่อสารมวลชน

บริษัท ฟูจิตสึ

แผนกประชาสัมพันธ์และนักลงทุนสัมพันธ์

สอบถามข้อมูล: https://www-s.fujitsu.com/global/news/contacts/inquiries/index.html

บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด

สอบถามข้อมูลติดต่อ: 0066-2302-1500

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน