สรุปสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจและธุรกิจภาคตะวันออก

อังคาร ๓๐ กรกฎาคม ๒๐๑๓ ๑๕:๒๐
นายปรัชญา สมะลาภา ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออก หอการค้าไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจของภาคตะวันออกในช่วงครึ่งปีแรกปี 56 ยังคงมีการขยายตัวได้อยู่ในระดับดี โดยจะเห็นได้จากหอการค้าจังหวัดภาคตะวันออกตอบว่า ภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรกของปีอยู่ในระดับดี ถึง 50% ในระดับปานกลาง 37.5% และอยู่ในระดับแย่เพียง 12.5% เท่านั้น และเมื่อพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภาคการท่องเที่ยว การเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางถึงดี และเมื่อพิจารณาด้านการบริโภคก็พบว่าอยู่ในระดับปานกลางถึงดี แต่การลงทุนของภาคตะวันออกถือว่ายังคงขยายตัวได้ดีทั้งการลงทุนภาครัฐ และภาคเอกชน

สำหรับสถานการณ์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 ของภาคตะวันออกยังคงมีแนวโน้มที่ขยายตัวได้ในระดับดี แต่เริ่มมีสัญญาณของการชะลอตัวลงจากช่วงครึ่งปีแรกเล็กน้อย ดังจะเห็นได้จากการตอบของหอการค้าจังหวัดในภาคตะวันออกที่ตอบว่าอยู่ในระดับดี ลดลงจากช่วงครึ่งปีแรก ไม่ว่าจะเป็นการบริโภค การลงทุน หรือแม้แต่ภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคการค้า รวมทั้งเศรษฐกิจโดยรวม

แต่อย่างไรก็ตามธุรกิจที่ยังคงมีความโดดเด่นอยู่ในภาคตะวันออก ได้แก่ การค้าชายแดนที่มีมูลค่าการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านชายแดนไทย-กัมพูชา รวมทั้งภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงการท่องเที่ยว นอกจากนี้ระดับราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะผลไม้ของภาคตะวันออกยังคงมีระดับราคาทรงตัวในระดับที่ดีอย่างต่อเนื่อง ด้านของภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวได้ดีในภาคตะวันออก เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมที่กรุงเทพเมื่อ 2 ปีก่อน ทำให้มีการหาซื้อที่ดิน และบ้าน/คอนโดในภาคตะวันออกมากขึ้น

ธุรกิจในภาคตะวันออกที่ชะลอตัวลง ได้แก่ ภาคธุรกิจอัญมณี ทั้งนี้เป็นผลมาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอก ไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ค่าเงินบาทที่ผันผวน รวมทั้งนโยบายรถคันแรกของรัฐบาล ที่ทำให้กำลังซื้อในหมวดสินค้าฟุ่มเฟือยลดลง นอกจากนี้แล้วภาคอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกไปยังต่างประเทศยังคงได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลก รวมทั้งค่าเงินบาท

ดังนั้นโดยภาพรวมของเศรษฐกิจธุรกิจของภาคตะวันออกยังคงอยู่ในระดับที่ดีและยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แต่สัญญาณของการชะลอตัวลงของภาวะเศรษฐกิจธุรกิจในช่วงครึ่งหลังของปีนั้นยังคงมีให้เห็น

สิ่งที่ภาคธุรกิจภาคตะวันออกมีความกังวล

ความไม่แน่นอน และความผันผวนของค่าเงินบาท เป็นปัจจัยสำคัญต่อภาคธุรกิจที่มีการส่งออก

โครงการรับจำนำข้าว เป็นโครงการที่ส่งผลกระทบต่อแรงงานในภาคอย่างมาก เนื่องจากแรงงาน

ส่วนใหญ่กลับเข้าไปทำงานในภาคเกษตรเป็นจำนวนมาก จนเป็นเหตุให้ขาดแคลนแรงงาน

แรงงานมีการเลือกงานมากขึ้น จากนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ทำให้ขาดแคลนแรงงาน

แรงงานที่เข้าสู่ภาคธุรกิจจะขาดทักษะฝีมือ ทำให้ธุรกิจต้องมีภาระในการพัฒนา

ปัญหาเรื่องของผังเมืองที่ดำเนินการโดยเฉพาะพื้นที่สีเขียว ซึ่งจะเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อภาคธุรกิจในพื้นที่

ในช่วงกลางปีนี้ ถือเป็นช่วงที่ภาคธุรกิจหลายภาคส่วนที่จะต้องมีการจ่ายเงินภาษีกลางปี ซึ่งจะทำให้สภาพคล่องลดลงได้

เรื่องของระบบ Logistics ที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการ และให้ครอบคลุม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง