ก่อสร้างไทยกระอักค่าแรง 300 บาทส่งแรงงานขาดแคลน สมาคมอุตฯก่อสร้างไทยยื่น 5 ข้อร้องรัฐแก้ปัญหาก่อนวืด

ศุกร์ ๒๓ สิงหาคม ๒๐๑๓ ๑๑:๑๒
- ระดมชาวก่อสร้างทั่วไทยร่วมสัมมนา-ชี้จุดยืนพร้อมแนวทางสร้างความแข็งแกร่ง

นายอังสุรัสมิ์ อารีกุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยในงานสัมมนา.....อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยกับการปรับตัวค่าแรง 300 บาท และการขาดแคลนแรงงาน....ซึ่งจัดวันที่ 22 สิงหาคม 2556 ณ หอประชุมมหิศร อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า ถนนรัชโยธิน ว่า สมาคมฯได้รับคำร้องเรียนจากสมาชิกและผู้ประกอบการก่อสร้างในประเทศไทยจำนวนมากถึงผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ ที่ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงานและทำให้ต้นทุนการก่อสร้างสูงขึ้น โดยคำร้องเรียนดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างจริงจังในปีที่ผ่านมา และทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นหลังรัฐบาลประกาศใช้ค่าแรง 300 บาททั่วประเทศไทยช่วงต้นปีนี้ จากการศึกษาข้อร้องเรียนของสมาชิกและผู้ประกอบการก่อสร้างในประเทศไทยพบว่าปัญหาการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท ไม่ได้ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงานจำนวนมากแต่เพียงประการเดียว แต่มีผลกระทบต่อเนื่องอีกหลายประการโดยเฉพาะกระทบกับโครงการที่มีการประมูลไปก่อนจะมีการปรับขึ้นค่าแรง ซึ่งหากรัฐบาลไม่เร่งหามาตรการแก้ไขอย่างจริงจัง มูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมก่อสร้างนับล้านล้านบาทจะได้รับผลกระทบจนอาจทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรงและแพร่ขยายไปในวงกว้างจนยากจะแก้ในอนาคต สมาคมฯจึงขอให้รัฐบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นเป็นมาตรการเร่งด่วน 5 ข้อดังนี้ ข้อแรก ให้ภาครัฐลดเพดานการหัก Escalation Factor จาก +4 เปอร์เซ็นต์ เป็น +2 เปอร์เซ็นต์ เป็นการชั่วคราว เพื่อช่วยเพิ่มเงินทุนหมุนเวียนในระหว่างการปรับตัวเพื่อยกระดับฝีมือแรงงาน ข้อที่สอง ขอให้ผู้ประกอบการก่อสร้างสามารถเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว ไปยังโครงการก่อสร้างต่างๆ ที่ผู้ประกอบการกำลังก่อสร้างอยู่ โดยสามารถเคลื่อนย้ายได้ทั่วประเทศ เพื่อลดปัญหาความขาดแคนแรงงานในภาคก่อสร้าง ข้อที่สาม ขอขยายอายุสัญญางานก่อสร้างภาครัฐ ทั่วประเทศ 180 วัน ทั้งนี้เพราะผลกระทบการขาดแคลนแรงงานรุนแรงจึงทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถส่งมอบงานตามที่ระบุไว้ในเงื่อนไขการส่งมอบได้ ข้อที่สี่ ขอให้หน่วยงานราชการใช้ค่าปรับรายวันในอัตราตายตัว0.01 เปอร์เซ็นต์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการจากผลกระทบการขาดแคลนแรงงาน และข้อที่ห้า ให้ผู้ประกอบการก่อสร้างสามารถประกันผลงานของตนเองได้เมื่อผลงานก่อสร้างนั้นผ่านไปแล้ว 6 เดือน โดยไม่ต้องใช้ค้ำประกันจากธนาคาร เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารและเพิ่มเงินทุนหมุนเวียน โดยมาตรการเร่งด่วนทั้ง 5 ข้อนี้ขอให้มีผลกับสัญญาทุกสัญญาที่มีนิติสัมพันธ์กับภาครัฐช่วงระหว่างวันที่ 1 เม.ย.55 — 22 เม.ย. 56 ทั้งนี้ทางสมาคมฯจะได้นัดหมายเพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องต่อท่านนายกรัฐมนตรีต่อไป และเชื่อว่าหากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทั้ง 5 ข้อจะส่งผลให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมก่อสร้างมีความคล่องตัวและสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ร่วมถึงแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีคุณภาพได้ ทั้งนี้ในปี 2012 อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยมีอัตราการเติบโต 17.3 เปอร์เซ็นต์มูลค่ารวมประมาณ 927,940 ล้านบาท โดยมีแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ 2.8 ล้านคน เป็นแรงงานต่างด้าวประมาณ 200,000 คน ทั้งนี้ค่าจ้างแรงงานจะคิดเป็นต้นทุนในการก่อสร้างประมาณ 25% สำหรับปี 2013 อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยคาดว่าจะมีอัตราการเติบโต 8.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะส่งผลให้มูลค่าการลงทุนของภาคการก่อสร้างเพิ่มขึ้นเป็น 990,000 ล้านบาท

สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก่อตั้งขึ้นเป็นปีที่ 84 เราเปรียบเสมือนเสาหลักของวงการ หากสมาชิกหรือผู้ประกอบในอุตสาหกรรมก่อสร้างมีความเดือดร้อน ทางสมาคมฯก็ต้องให้ความช่วยเหลือ แต่ก่อนจะให้ความช่วยเหลือ เราก็ต้องศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อหาสาเหตุและแนวทางในการแก้ไข ซึ่งทุกเรื่องเราต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพราะทุกมาตการรวมทั้งการขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ ผมเชื่อว่ารัฐบาลมีเจตนาที่ดี ที่จะยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของพี่น้องเราในระดับแรงงาน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลอาจจะไม่ได้ศึกษาให้ลึกลงไป คือความจริงที่ว่า ในขณะที่ค่าแรงงานทั่วประเทศอยู่ระดับ 200 บาทเศษ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมก่อสร้างจ้างงานแรงงานคนไทยที่มีคุณภาพเกินกว่า 300 บาทอยู่แล้ว ความต่างของค่าแรงนี้ ทำให้ไม่เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แต่เมื่อขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ แรงงานหายไปจากตลาดก่อสร้างไปอยู่ในอุตสาหกรรมที่ทำงานสบายกว่าเช่นโรงงาน จึงต้องมีการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทดแทนและต้องจ่ายค่าแรงอัตราเดียวกับแรงงานไทย ซึ่งก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เนื่องจากแรงงานไทยเป็นแรงงานคุณภาพ ในขณะที่แรงงานต่างด้าว ยังขาดทักษะทั้งด้านการสื่อสาร ทักษะด้านความปลอดภัย ระเบียบวินัยและคุณภาพฝีมือ นอกจากนี้ค่าแรงที่ปรับขึ้นยังทำให้วัสดุก่อสร้างราคาสูงขึ้นตามไปด้วยเนื่องจากผู้ผลิตสินค้าใช้แรงงานเช่นกัน ทั้งหมดเป็นปัญหาที่เพื่อน ๆ และพี่น้องในอุตสาหกรรมก่อสร้างต้องประสบอยู่ในขณะนี้จึงอยากขอความเห็นใจจากภาครัฐให้ช่วยผู้ประกอบการก่อสร้าง” นายอังสุรัสมิ์ ยังกล่าวว่า “ปัจจุบันสมาคมฯมีสมาชิก 500 ราย ซึ่งเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ รวมมูลค่าทางธุรกิจหลายแสนล้านบาท และยังมีผู้ประกอบการก่อสร้างในประเทศไทยที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องแต่ไม่ได้เป็นสมาชิกสมาคมฯอีกหลายหมื่นราย การจัดงานสัมมนา.....อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยกับการปรับตัวค่าแรง 300 บาท และการขาดแคลนแรงงาน....ในครั้งนี้เป็นการจัดสัมมนาที่จัดขึ้นเพื่อสะท้อนปัญหาของผู้ประกอบการทั้งหมดอย่างแท้จริง ซึ่งผมต้องขอบคุณรศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาแรงงาน TDRI ที่มาร่วมเป็นวิทยากรในงานสัมมนาครั้งนี้ด้วย ซึ่งท่านได้มาสะท้อนมุมสำคัญในฐานะนักวิชาการที่ทำให้เราเห็นภาพของวิฤตและโอกาสจากการขาดแคลนแรงงานชัดเจนมากขึ้น ผู้ประกอบการที่มาร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้ได้รับประโยชน์อย่างมาก”

สำหรับการคาดการณ์การขาดแคลนแรงงานและแนวทางในการแก้ไขปัญหา นายอังสุรัสมิ์ กล่าวว่า ปัญหาการคาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างคงจะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลมีแผนสำหรับโครงการสองล้านล้านบาทที่กำลังจะเกิดขึ้น ดังนั้นรัฐบาลควรเร่งแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งสมาคมฯเสนอแนวทางแก้ไขในระยะเร่งด่วนและการดำเนินการต่อเนื่อง 4 ประการคือ ประการแรก รัฐบาลต้องให้ความช่วยเหลือในการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานโดยสามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานในพื้นที่ต่างๆ ได้โดยสะดวก ประการที่สองแรงงานต่างด้าวที่นำเข้ามารัฐบาลต้องให้การสนับสนุนฝึกฝนแรงงานเหล่านั้นให้มีคุณภาพและต้องเป็นการฝึกฝนที่เป็นมาตรฐาน เช่นการตั้งสถาบันฝึกฝีมือแรงงานต่างด้าว พร้อมหลักสูตรการฝึกอบรมมาตรฐาน แยกต่างความเหมาะสมของแต่ละอุตสาหกรรม หากผ่านการฝึกในระดับต้นมีสิทธิได้รับค่าแรงเท่าใด ผ่านการฝึกในระดับกลางมีสิทธิได้รับค่าแรงเท่าใด ฯลฯ ประการที่สาม รัฐบาลต้องยอมรับต้นทุนโดยรวมที่สูงขึ้น และหลักเกณฑ์ในการคิดราคากลางการก่อสร้างก็ตั้งปรับให้เหมาะสมสะท้อนความเป็นจริง ประการที่สี่ สำหรับการประมูลงานภาครัฐ รัฐบาลควรมีการกำหนดระยะเวลาการก่อสร้างที่เหมาะสมกับงาน อย่างไรก็ตามเชื่อว่าหากสามารถลดข้อเสียเปรียบในเรื่องการใช้แรงงาน ซึ่งหมายถึงการใช้แรงงานน้อยลง เปลี่ยนวิธีก่อสร้างโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาช่วย หรือการใช้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ใช้เครื่องจักรทดแทน โดยคุณภาพการก่อสร้างยังมีคุณภาพเช่นเดิมหรือดีขึ้น จะส่งผลให้เราสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อมีการเปิด AEC ในปี 2015

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการติดต่อสอบถาม หรือร้องเรียนผลกระทบใด ๆ สามารถติดต่อได้ที่...สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โทรศัพท์ 0-2251-4471-3 หรือที่ www.tca.or.th หรือwww.facebook.com/ThaiContractorsAssociation

ติดต่อ:

จินตนา ตรีพิชิต

ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์

บริษัท อินคริสซ์ เน็ทเวิร์ค เอเจนซี แอนด์ คอนซัลแทนส์ จำกัด

e-mail [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๕ ผู้บริหาร DDD ร่วมเสวนา ความร่วมมือวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ผลักดันสารสกัดมูลค่าสูงสู่การใช้ประโยชน์ โดย สวทช.
๑๖:๐๔ AI ไม่ใช่แค่กระแส! PaM และ Connext AI ผนึกกำลัง ยกระดับ AI สู่ธุรกิจจริงสร้างสรรค์โซลูชันที่ตอบโจทย์ พิสูจน์ผลลัพธ์ที่วัดได้
๑๖:๕๖ PHYTOMER เปิดตัวทรีทเม้นท์หน้าตัวใหม่ สำหรับผิวแพ้ง่ายมาก ACCEPT CICA FACIAL TREATMENT
๒๑ ต.ค. FIRSTER OCTOBER SALE เปิดโปรล่า ท้านักช้อป
๒๑ ต.ค. เปิดกล่องนมซันคิสท์ สูตรเด็ดจานลับ กับ เชฟสุดฮิต! สร้างสรรค์เมนูใหม่ ซันคิสท์ ริโซ่ พุดดิ้ง สตรอเบอรี
๒๑ ต.ค. บุญถาวร เตรียมจัดงาน Designer Talk อัปเดตเทรนด์กระเบื้องงาน Cersaie ณ ประเทศอิตาลี
๒๑ ต.ค. เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ร่วมยินดีเปิด Math Talent by Dr.Ying เพิ่มทักษะเรียนวิทย์คณิตฯ คิดเป็นภาพ
๒๑ ต.ค. วว. /ม.ขอนแก่น / University of Franche-Comte (UFC) ประชุมหารือการจัดทำปริญญาร่วม (double degree) หลักสูตร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
๒๑ ต.ค. โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ ต้อนรับองคมนตรีเนื่องในโอกาสพิธีประกาศเกียรติคุณ บุคคลคุณภาพแห่งปี
๒๑ ต.ค. กองทรัสต์ ALLY มองโอกาสลงทุนสินทรัพย์ใหม่ ต่อยอดการใช้แหล่งเงินทุนจากสภาพคล่อง ช่วยหนุน Yield เพิ่มขึ้น พร้อมส่งสัญญาณผลงานไตรมาส 3/67