บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จับมือกับ ยูโอบี พริวิเลจ แบงก์กิ้ง แนะนำผู้ลงทุน จัดพอร์ตรับตลาดผันผวน

พฤหัส ๒๙ สิงหาคม ๒๐๑๓ ๑๗:๐๐
นายวนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด และ Mr. Anthony Joseph Raza — Senior Director หัวหน้าทีมจัดสรรกลยุทธ์พอร์ตการลงทุน ของ UOB Asset Management Ltd. ประเทศสิงคโปร์ เข้าร่วมเป็นวิทยากรในงานสัมนาลูกค้าพริวิเลจ แบงก์กิ้งของธนาคารยูโอบี เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเรเนซองค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานสถานการณ์ตลาดทั่วโลกในปัจจุบัน รวมถึงให้มุมมองต่อสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนในการวางแผนกลยุทธ์การลงทุน

MR. Anthony Joseph Raza ได้แสดงความคิดเห็นว่า ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพที่ชัดเจน ในไตรมาส 3/2555 จากอัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่เริ่มใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (QE) และยอดค้าปลีกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในครึ่งปีแรก ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค มูลค่าของหุ้นเริ่มกลับมาอยู่ในระดับค่าเฉลี่ย หรือที่ระดับ P/E 16.4 ส่วนวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรปนั้นเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ถึงแม้ว่าสัญญาณการฟื้นตัวจะยังไม่ชัดเจนเท่าฝั่งสหรัฐฯ แต่ล่าสุดสัญญาณที่ชี้ว่าเศรษฐกิจเริ่มขยายตัว เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) มีการขยายตัวอย่างดีขึ้น สะท้อนมุมมองเชิงบวกจากผู้ประกอบการ ส่งผลให้มีการปรับประมาณการของตัวเลขเศรษฐกิจ GDP เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผู้ลงทุนยังคงต้องติดตามเพื่อดูสถานการณ์การฟื้นตัวอย่างใกล้ชิดต่อไป

ด้านเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียอย่างประเทศจีน เริ่มประสบปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ เห็นได้จากการเติบโตของ GDP ลดลงสู่ระดับ 7.5% รวมทั้งปัญหาหนี้นอกระบบ หรือระบบธนาคารเงา (Shadow banking) ที่ตัวเลขยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ปัญหาอุปทานส่วนเกินเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่กดดันประสิทธิภาพการขยายตัวเศรษฐกิจของประเทศจีน อย่างไรก็ดีประเทศจีนยังคงมีเสถียรภาพทางการเมืองและการเงินสูง นอกจากนี้มูลค่าของตลาดหุ้นยังคงซื้อขายอยู่ในระดับที่ไม่แพง เมื่อเทียบกับภูมิภาค ระดับ P/E ต่ำกว่า 10 จึงคาดว่า Downside risk เป็นไปอย่างจำกัด ส่วนในระยะยาวยังมองว่าสามารถสร้างผลตอบแทนได้ และอีกหนึ่งประเทศที่น่าจับตามองคือ ประเทศญี่ปุ่น หลังจากที่ได้มีการออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ปัญหาเงินฝืดที่ต่อเนื่องมาหลายสิบปีนั้นได้รับการแก้ไข มาตรการดังกล่าวส่งผลให้ราคาทรัพย์สินปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนตัวเลขความมั่นใจของผู้บริโภคและการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ ด้านตลาดหุ้นตอบรับมาตรการดังกล่าว โดยได้ปรับตัวขึ้นกว่า 30% ตั้งแต่ต้นปี 2013 อย่างไรตามควรติดตามอย่างใกล้ชิดว่าการฟื้นตัวเป็นไปอย่างยั่งยืนหรือไม่ รวมทั้งต้องติดตามค่าเงินเยนที่คาดว่าจะอ่อนค่าต่อเนื่อง ปัญญาหนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูง ความแข็งแกร่งของภาคบริโภค และ ปัญหาโครงสร้างประชากรภาคแรงงาน (จำนวนผู้สูงอายุ) โดยมองว่าในระยะสั้นยังคงได้ผลบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ในระยะกลางและยาวยังคงมีความท้าทายอยู่

นายวนา พูลผล ได้กล่าวเสริมว่า แม้ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา จะมีความกังวลเรื่องเงินลงทุนที่ได้เคลื่อนย้ายออกจากกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) รวมถึงภูมิภาคเอเชีย เพื่อกลับเข้าลงทุนในประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Market) อย่างตลาดหุ้นสหรัฐฯ ตามทิศทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวนั้น ยูโอบีมีมุมมองว่าในระยะต่อไปจะส่งผลดีโดยรวมต่อสมดุลของตลาดหุ้นทั่วโลก ทั้งนี้ สำหรับตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชีย ถึงแม้ในระยะสั้นยังคงมีความผันผวนอยู่ แต่จากปัจจัยพื้นฐานที่ยังแข็งแกร่งและมั่นคง ประกอบกับแรงสนับสนุนของโครงการพัฒนาเศรษฐกิจจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) รวมทั้งนโยบายโครงสร้างพื้นฐานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต น่าจะเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้หุ้นภูมิภาคเอเชียยังคงมีความน่าสนใจ

ด้านเศรษฐกิจไทยจากการรายงานตัวเลขการขยายตัวเศรษฐกิจ ที่หดตัว 2 ไตรมาสติดต่อกันในไตรมาส 2 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการใช้จ่ายของครัวเรือนและการส่งออกสินค้าและบริการที่ลดลงต่อเนื่อง การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนชะลอตัวลงเหลือ 2.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน และจาก 4.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ส่วนการส่งออกสินค้าหดตัว 1.5% ในไตรมาสที่ 2 อย่างไรก็ดี รายรับที่ได้จากการบริการขยายตัวได้ดีต่อเนื่องโดยเฉพาะจากการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวต่างชาติยังขยายตัวสูงต่อเนื่อง ในระยะสั้นจึงทำให้ตลาดหุ้นไทยยังคงมีความผันผวน แต่จากปัจจัยพื้นฐานที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในระยะยาว สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ หากนักลงทุนสามารถรับความเสี่ยงได้ขึ้น ปัจจุบันการลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจที่สามารถสร้างโอกาสรับผลตอบแทนได้สูงกว่าการลงทุนตราสารหนี้ภายในประเทศเพียงอย่างเดียว

นายวนา กล่าวทิ้งท้ายว่า “แม้การลงทุนในหุ้นจะมีความเสี่ยงสูง แต่เป็นสินทรัพย์ที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนในระยะยาวได้ ทั้งนี้ หากผู้ลงทุนสามารถรับความเสี่ยงได้มาก สามารถมีน้ำหนักการลงทุนในหุ้นมากกว่าสินทรัพย์อื่นได้ ทั้งนี้ควรพิจารณาเรื่องความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้เป็นหลัก และควรกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์อื่นๆบ้าง ตามระดับความเสี่ยงของตน ได้แก่ ตราสารหนี้ต่างประเทศ หรือสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ เป็นต้น”

คำเตือน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศ ถึงแม้ว่ากองทุนอาจป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม แต่เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูล นโยบายการลงทุน ความเสี่ยงและผลการดำเนินงานของกองทุนก่อนการตัดสินใจลงทุน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง