EDUCA 2013 ปีนี้ชูแนวคิด “Strong Performers and Successful Reformers”

อังคาร ๑๕ ตุลาคม ๒๐๑๓ ๑๔:๐๑
EDUCA 2013 ปีนี้ชูแนวคิด “Strong Performers and Successful Reformers”นักการศึกษาระดับโลกร่วมเวทีคับคั่ง ฟินแลนด์แบบอย่างความสำเร็จด้านพัฒนาการศึกษาย้ำ “การศึกษาต้องเท่าเทียม” ในขณะที่ฝั่งฮ่องกงเน้นเรื่องการปรับหลักสูตรให้ตรงสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

EDUCA 2013 : มหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ครั้งที่ 6 ปีนี้ เปิดอย่างเป็นทางการแล้ว โดยปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Strong Performers and Successful Reformers” ระดมนักการศึกษาชั้นนำระดับโลกร่วมเวทีการประชุมนานาชาติ อาทิ ฟินแลนด์ประเทศที่มีการพัฒนาการศึกษาได้ดีที่สุด, ฮ่องกง กับเรื่องหลักสูตรการศึกษาเพื่ออนาคต เป็นต้น พบปีนี้มีจำนวนครูลงทะเบียนล่วงหน้ามากกว่า 50,000 คน โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-11 ตุลาคม 2556 ณ อิมแพคฟอรั่ม (ฮอลล์ 9) เมืองทองธานี

ด้วยแนวคิดหลักของงานปีนี้ คือ “Strong Performers and Successful Reformers” ซึ่งเป็นแนวคิด ที่ EDUCA นำมาจากรายงานการศึกษาของ OECD เมื่อปี 2011 โดย“Strong Performers” หมายถึง ประเทศที่มีความสำเร็จอย่างสูงในการพัฒนาการศึกษาได้อย่างเข้มแข็ง ส่วน Successful Reformers หมายถึง ประเทศที่สามารถก้าวผ่านอุปสรรคและยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว ทั้งหมดคือเหตุผลที่ EDUCA 2013 ได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาทั่วโลกมาร่วมงานในปีนี้ ทั้งจากประเทศที่เป็น Strong Performers และประเทศที่เป็น Successful Reformers มาร่วมบนเวทีการประชุมนานาชาติ

เริ่มด้วยดร.พาสี ซาลเบิร์ก อธิบดีกรมพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือทางกาศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรมฟินแลนด์ เป็นผู้เริ่มการสัมมนาเป็นท่านแรก โดยเนื้อหาการสัมมนา คือ “บทเรียนด้านการศึกษาจากฟินแลนด์ : การเปลี่ยนแปลงสู่ความสำเร็จ” ซึ่ง ดร.พาสี ซาลเบิร์ก ได้กล่าวว่า “ความพยายามในการพัฒนาการศึกษาของฟินแลนด์ คือ การพัฒนาด้านความเท่าเทียมกัน โดยเน้นให้เด็กทุกคน ทุกระดับชั้นได้รับการศึกษาที่เท่ากันทั้งประเทศ ดังนั้น ประเทศฟินแลนด์จึงส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนฟรีทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่มาจากครอบครัวระดับรัฐมนตรี หรือเด็กที่มาจากครอบครัวธรรมดาๆ ก็ตาม โดยเขาได้กล่าวถึงการพัฒนาการศึกษาโดยมุ่งเน้นไปที่ Global Education Reform Movement หรือ GERM ซึ่งหมายถึง การวัดการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาทั้งโลก อ้นประกอบไปด้วย 1) ด้านการแข่งขัน ซึ่งฟินแลนด์จะไม่เน้นระบบการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นระดับนักเรียน หรือระดับโรงเรียน แต่จะเน้นเรื่องความร่วมมือกันในการพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีในอนาคต 2) มาตรฐาน พบกว่าการมีมาตรฐานที่ชัดเจนเกินไป จะทำให้ปิดกันความคิดสร้างสรรค์ทั้งของครูและนักเรียน ดังนั้น เน้นเรื่องความยืดหยุ่นในการจัดการเรียนการสอน 3) ความน่าเชื่อถือ ซึ่งหมายความไปถึงทั้งครู และนักเรียนที่มีความสามารถที่น่าเชื่อถือ มีการทดสอบความสามารถที่ดี และ 4) มีโรงเรียนที่หลากหลาย ที่เหมาะแก่ความต้องการของนักเรียนที่มีความสนใจในเรื่องต่างๆ ที่ต่างกัน โดยเชื่อว่าการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตัวเองสนใจ จะทำให้เด็กไปได้ดีกว่าการถูกบังคบให้เรียนตามที่ถูกกำหนดไว้ และจากแนวคิด GERM นี้ ทำให้ประเทศฟินแลนด์มีการพัฒนาการด้านการศึกษาที่ดีขึ้นเป็นลำดับ นอกจากนี้ ดร.ซาลเบิร์กยังได้กล่าวถึงนโยบายหลัก 3 ประการในการพัฒนาการศึกษาของฟินแลนด์ คือ 1) Common School for all คือ โรงเรียนที่มีมาตรฐานเดียวกันทั้งระบบ , 2) Less is Better น้อยๆ ดีกว่า นั้นหมายรวมถึงทั้งด้านการสอนที่ไม่ได้เน้นให้ครูมีชั่วโมงการสอนจำนวนมาก เนื่องจากเห็นว่าหากครูมีชั่วโมงการสอนมากก็ยิ่งจะทำให้ครูมีเวลาในการวางแผนการสอนได้น้อยลง นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการสั่งการบ้าน หรือการเรียนพิเศษที่ฟินแลนด์ไม่ได้ให้ความสำคัญ จนสามารถพบได้ว่าเด็กฟินแลนด์ จะเรียนช้ากว่าเด็กประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ถึง 2 ปี และ 3) Systematic Focus on Equity ความเท่าเทียมกันเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก

โดยสรุป คือ เราควรสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนการสอนให้ทั้งแก่ครู และนักเรียน, ให้ความเท่าเทียมกันทางการศึกษาอย่างมากที่สุด, ความร่วมมือเป็นสิ่งสำคัญกว่าการแข่งขัน และให้เวลาเด็กในการเล่น เพื่อส่งเสริมจินตนาการและสร้างสังคมการเรียนรู้”

ด้านศาสตราจารย์ ไค มิง เชง ศาสตรจารย์เกียรติยศด้านครุศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกง ได้กล่าวถึงหัวข้อ หลักสูตรการศึกษาเพื่ออนาคต Vice-Chancellor,University of Hong Kong ว่า “ในฮ่องกง ถ้าจะพูดถึงระบบการศึกษานั้น ก็เป็นได้ทั้ง Strong Performers และ Successful Reformers ดังนั้น การปฏิรูปหลักสูตร จึงอาจเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญของการพัฒนาการศึกษาในหลายๆประเทศ รวมถึงประเทศฮ่องกงด้วย ซึ่งฮ่องกงใช้เวลาเป็น 10 ปี เพื่อค้นคว้าว่า เราจำเป็นต้องมีการปฏิรูปการศึกษาเพื่ออะไร เราจึงมีคำถามพื้นฐานสำหรับเรื่องนี้ คือ เรากำลังพยายามพัฒนาการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น หรือ เรากำลังพัฒนาการศึกษาให้ต่างไปจากเดิม โดยตั้งสมมติฐานการศึกษาให้เหมือนธุรกิจ ด้วยการแบ่งระดับออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.ระดับมหภาค คือ สังคมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา 2.ระดับจุลภาค คือ ผู้เรียนจะเรียนรู้อย่างไร ด้วยหลักสูตรและอาจารย์ คำตอบที่เราได้ คือ เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงและยังคงเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องนั้น ทำให้การศึกษาจึงจำเป็นต้องถูกพัฒนาให้แตกต่างอยู่เสมอ โดยใช้องค์ประกอบของการปฏิรูปการศึกษา คือ โครงสร้าง หลักสูตร และการประเมินผล” พร้อมกล่าวสรุปเพิ่มเติมว่า “รูปแบบการเรียนรู้เพื่อธุรกิจรูปแบบเก่าๆ จึงไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป เพราะในอดีตเราเตรียมคนเพื่องาน แต่ปัจจุบันเมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เราจึงต้องปรับเด็กของเรา เพื่อที่จะเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ได้จริง และยอมรับที่จะเปลี่ยนแปลง เราจึงต้องใส่ใจในเรื่องของการวิจัยเพื่อปรับเปลี่ยนเรื่องการเรียนรู้ ศึกษาหาความหมายของมันให้ได้ และเรียนรู้จากการกระทำ กิจกรรม และประสบการณ์จากการเรียนรู้”

ศาสตราจารย์ ดร. ชารอน ฟีแมน — เนมเซอร์ ศาสตราจารย์ แมนเดล ด้านศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแบรนดีส์ จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เน้นเกี่ยวกับครุศึกษาเพื่ออนาคต มองครุศึกษาแบบกลับด้าน เป็นการมองที่เปลี่ยนจากการเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ มาเป็นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพจริงในชั้นเรียน สภาพแวดล้อมในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียน ก็เป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นการเรียนการสอนเด็กให้เข้าใจในการเรียนเพิ่มมากขึ้น การสอนนอกห้องเรียนนั้นครูก็ต้องเข้าใจในเนื้อหาอย่างมาก ไม่เน้นเนื้อหาและบทเรียน เน้นเชิงการปฏิบัติจริง เพื่อฝึกให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออก และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง การจัดกิจกรรมต่างๆ ก็สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิ์ภาพที่ดีขึ้นได้ ครูต้องมีเทคนิคในการสอนเด็ก ถ้าครูตั้งคำถาม ให้เด็กตอบ ก็ต้องรอให้เด็กคิดคำตอบประมาณ 30 วินาที เพื่อฝึกให้เด็กได้คิด และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามและสนใจในการสอนของครูมากขึ้น ครูนั้นต้องมีกลยุทธ์ในการสอน และต้องไม่เน้นเนื้อหาเพียงวิชาใด วิชาหนึ่ง ต้องเรียนรู้เนื้อหาให้ได้ทุกๆวิชา ครูต้องคอยสังเกตสิ่งรอบๆภายนอกห้องเรียนอยู่เสมอด้วย เพื่อไว้ปรับเปลี่ยนในการสอน เพื่อไม่ให้เด็กเบี่อ และไม่สนใจเรียน ครูต้องมีโมเดล เพื่อให้นักเรียนอยากเรียนรู้ มีแนวทางในการสอนที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง

“ในฐานะผู้จัดงาน EDUCA มาตลอดระยะเวลากว่า 7 ปี ผมเชื่อว่าการมีส่วนร่วม ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาวิชาชีพครู โดยใช้โมเดล Public and Private Partnership (PPP) จะมีส่วนผลักดันให้เราก้าวพ้นกับดักในการพัฒนาการศึกษา สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างสำเร็จ สร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไปได้ สอดคล้องกับแนวคิด Strong Performers and Successful Reformers ของงาน EDUCA 2013 ในปีนี้” นายศีลชัย เกียรติภาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวในฐานะผู้จัดงาน EDUCA กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๗ เม.ย. อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud