ผาแดงร่วม EHIA เวที กอสส. ในกระบวนการขอประทานบัตรใหม่21 ต.ค.นี้

ศุกร์ ๑๘ ตุลาคม ๒๐๑๓ ๑๖:๑๒
- คำขอประทานบัตรใหม่ (ที่8/2553)เป็นพื้นที่ซึ่งอยูในเขตโครงการทำเหมืองแร่ปัจจุบัน ไม่ใช่การขอเปิดพื้นที่ใหม่นอกโครงการฯ

- กระบวนการ EHIA ตามคำขอประทานบัตรใหม่นี้ ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำเหมืองในปัจจุบันที่มีอายุประทานบัตรทำเหมืองและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมได้ถึงปี 2566

ในวันที่ 21 ตุลาคม2556องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.) จะจัดเวทีนำเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โครงการเหมืองแร่สังกะสีของบริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ตามคำขอประทานบัตรที่ 8/2553 ที่ได้ผ่านความเห็นชอบจากสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.)แล้ว ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 67 (วรรคสอง)

คำขอประทานบัตรที่ 8/2553 เป็นการขออนุญาตเพื่อทำเหมืองภายในเขตพื้นที่โครงการเหมืองแร่ปัจจุบัน ไม่ใช่ขอพื้นที่ใหม่นอกโครงการฯ ซึ่งขณะนี้พื้นที่ดังกล่าวได้ใช้ทำกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่การทำเหมืองโดยตรง แต่เมื่อจะเปลี่ยนการใช้ประโยชน์เพื่อให้สามารถนำแร่ที่เหลืออยู่มาใช้ให้เกิดคุณค่าทางเศรษฐกิจได้บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องขอเปลี่ยนแปลงพื้นที่ให้เป็นเขตประทานบัตร โดยเริ่มกระบวนการจัดทำ EHIA มาตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่3 ครั้ง ระหว่างปี 2553 -2554 เพื่อรับทราบข้อคิดเห็นข้อห่วงใยและข้อเสนอแนะต่างๆ ซึ่งมีผู้แทนจากทุกภาคส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมาและเป็นเหตุเป็นผลโดยข้อคิดเห็นทั้งหมดได้นำมาพิจารณาจัดทำมาตรการป้องกันและลดผลกระทบต่างๆในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) เสนอต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) พิจารณาตามลำดับ ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาอนุมัติรายงานฯ แล้วเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555และจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) แล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม 2556

การจัดเวทีของกอสส.เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่เป็นไปตามกระบวนการ EHIA เพื่อนำเสนอความเห็นต่อรายงานดังกล่าวก่อนที่หน่วยงานอนุญาตคือกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม จะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติเป็นลำดับสุดท้าย

แม้ขั้นตอนการขอประทานบัตรในพื้นที่ใหม่จะยังไม่แล้วเสร็จก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำเหมืองขณะนี้ เนื่องจากบริษัทฯสามารถผลิตแร่สังกะสีได้ตามประทานบัตรปัจจุบันที่ยังมีอายุอยู่จนถึงปี 2566 ทั้งนี้บริษัทฯ คาดว่าจะผลิตแร่อีก4 ปี แต่หากได้รับอนุมัติประทานบัตรใหม่ก็จะสามารถทำเหมืองเพิ่มได้อีกหนึ่งปี หลังจากนั้นบริษัทฯ จะใช้เวลา 5 ปี ปลูกป่าในพื้นที่ที่เหลือและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเพื่อคืนความสมดุลสู่ธรรมชาติจนสิ้นอายุประทานบัตร

เหมืองผาแดงเป็นเหมืองแร่สีเขียวที่ได้รับรางวัลสถานประกอบการรักษามาตรฐานเหมืองแร่สีเขียวต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน และล่าสุดในปีนี้ยังได้รางวัลมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแร่ต่อเนื่องเป็นปีที่สาม จากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๔๙ จุฬาฯ ครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2024
๐๙:๒๒ กทม. กำชับเจ้าหน้าที่เทศกิจป้องกันผลกระทบสุขภาพระหว่างปฏิบัติงานกลางแดดร้อนจัด
๐๙:๕๑ ดีพร้อมเปย์ ปล่อยกู้ระยะสั้น ช่วยผู้ประกอบการแก้หนี้
๐๙:๒๗ กทม. ตั้งเป้าปรับปรุงทางเท้าตามมาตรฐานใหม่ 76 เส้นทางภายในปี 68
๐๙:๒๗ รายการ สถานีประชาชน รับโล่ประกาศเกียรติคุณเนื่องในวันคุ้มครองผู้บริโภคไทย 2567
๐๙:๐๒ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ รับสมัครนักศึกษาใหม่ ปริญญาโท หลักสูตรวิศวกรรมเว็บ และการพัฒนาแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพา ปี
๐๙:๐๖ ต่อกล้าอาชีวะ ปี 67 ปั้นนวัตกรสายอาชีวะ สู่ Young Smart IoT Technician ด้วย IIoT เสริมแกร่งแรงงานในหลากอุตสาหกรรม S-Curve มุ่งสู่ Industry
๐๘:๐๙ WICE รับมอบรถบรรทุกไฟฟ้าจาก NEX พร้อมเดินหน้า มุ่งสู่ Green Logistics
๐๘:๔๓ EVT เร่งเพิ่มพันธมิตร รองรับนโยบายภาครัฐในการเพิ่มสัดส่วนการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ
๐๙:๒๔ บิทคับ มูนช็อต ร่วม อัลติเมท เดสตินี่ เปิดตัว U Destiny เอาใจสายมู แพลตฟอร์มแรกของไทยที่ใช้ AI ทำนายดวง