สกว. ผนึกกำลัง ม.มหิดล และ ม.ราชภัฎยะลาเดินหน้าโครงการโรงเรียนทวิภาษา หวังใช้การศึกษาขั้นพื้นฐานแก้ปัญหาพื้นที่ชายแดนใต้อย่างยั่งยืน

จันทร์ ๒๘ ตุลาคม ๒๐๑๓ ๐๙:๐๔
สกว. ร่วมกับ ม.มหิดล และ ม.ราชภัฎยะลาต่อยอด “โครงการวิจัยการจัดการศึกษาแบบทวิภาษา (ภาษามลายูปาตานี-ภาษาไทย) ในโรงเรียนเขตพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล) ระยะที่ 3 (2556-2559)”พร้อมกับเดินหน้า 2 โครงการ การประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนทวิภาษาในพื้นที่และการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมแก่นักศึกษาฝึกสอนแบบทวิภาษาเพื่อหาแนวทางสร้างครูและรูปแบบจัดการศึกษาระดับปฐมวัยและประถมศึกษาที่สอดคล้องกับพื้นที่ ภาษาและวัฒนธรรมของจังหวัดชายแดนภาคใต้หวังใช้มิติการศึกษาเป็นแนวทางแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้อย่างตรงจุดและยั่งยืน

ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลพร้อมด้วยศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) และผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการสนับสนุนการวิจัย “การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาท้องถิ่นและภาษาไทยเป็นสื่อ: กรณีการจัดการศึกษาแบบทวิภาษา (ภาษามลายูปาตานี-ภาษาไทย) ในโรงเรียนเขตพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ 3” และ “โครงการวิจัยต่อยอด” เพื่อพัฒนาพื้นที่ชายแดนใต้อย่างยั่งยืน

ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว.กล่าวว่า “พื้นที่ชายแดนของประเทศเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แนวทางการพัฒนาการศึกษาต้องเคารพในความแตกต่างทางวัฒนธรรม สกว. ตระหนักถึงความสำคัญในการพยายามหารูปแบบและแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่มีความเหมาะสมกับเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้รับความมือจากมหาวิทยาลัยมหิดลในการดำเนินการวิจัยโครงการวิจัยปฏิบัติการเรื่อง การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาท้องถิ่นและภาษาไทยเป็นสื่อ: กรณีการจัดการศึกษาแบบทวิภาษา (ภาษามลายูปาตานี-ภาษาไทย) ในโรงเรียนเขตพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือโครงการทวิภาษา โดยการลงนามในครั้งนี้ สกว. ร่วมกับ ม.มหิดล และม.ราชภัฎยะลาจะร่วมกันดำเนินโครงการใน 2 ส่วนได้แก่ โครงการประเมินผลสัมฤทธิ์ในโครงการวิจัยปฏิบัติการทวิภาษาฯ เพื่อชี้ให้เห็นว่าโครงการทวิภาษาก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาแก่เด็กและโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญและโครงการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนการสอบแบบทวิภาษา โดยใช้ภาษาท้องถิ่นและภาษาไทยเป็นสื่อสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มร.ยะลา เพื่อหาแนวทางสร้างครูสำหรับโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนแบบทวิภาษาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป”

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยทวิภาษา กล่าวว่า “โครงการทวิภาษาเป็นโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการในพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัยถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 - 2559 ปัจจุบันดำเนินการถึงระดับ ป.4 แล้ว นับเป็นนวัตกรรมใหม่ของการศึกษาไทย และเป็นแนวทางหนึ่งของการพัฒนาการศึกษาสำหรับเยาวชนไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยกลไกของโครงการทวิภาษาจะให้ครูผู้สอนสื่อสารกับเด็กด้วยภาษามลายูท้องถิ่น ซึ่งจากเดิมไม่มีตัวอักษรในการเขียนจึงสร้างระบบโดยใช้อักษรไทยเป็นตัวสะกดถ่ายทอดเสียง ซึ่งเด็กๆ จะเริ่มเรียนจากการฟัง พูดภาษามลายูท้องถิ่นให้เข้าใจก่อน แล้วจากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาไทยต่อไปทั้งนี้ ที่ผ่านมาการที่เด็กในพื้นที่อ่อนภาษาไทยทำให้การศึกษาในรายวิชาอื่นๆ อ่อนตามไปด้วย ภายหลังการดำเนินการกลับพบว่าเด็กในโครงการล้วนมีพัฒนาการที่ดีทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และการเรียน”

“อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการทวิภาษาในเขตพื้นที่ชายแดนใต้นอกเหนือจากปัจจัยด้านภาษาในพื้นที่แล้ว ยังมีปัจจัยเรื่องความไม่สงบในพื้นที่ ดังนั้นการเรียนการสอนด้วยภาษามลายูท้องถิ่นถือเป็นการให้เกียรติ เคารพสิ่งที่ชุมชมภูมิใจ เนื่องจากภาษามลายูท้องถิ่นเป็นภาษาพูดในชีวิตประจำวันของคนในชุมชนอยู่แล้วเมื่อเกิดการสื่อสารระหว่างกันและกันของคนในพื้นที่ได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ช่วยลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นรวมทั้งส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีการศึกษาดีขึ้นสามารถเข้าสู่ระบบการศึกษาในขั้นสูงยิ่งขึ้นต่อไปได้นับเป็นการตอบโจทย์ของการแก้ปัญหาที่มาถูกทาง โดยใช้มิติการศึกษาที่ปูพื้นฐานตั้งแต่ระดับเยาว์วัยสามารถสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้ และมีส่วนช่วยแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ได้ต่อไป”หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวเสริม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ

นายวีระวุฒิ ฟุ้งรัตนตรัย (ไต๋)ฝ่ายสื่อสารสังคมสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

โทรศัพท์ 0-2278-8200 ต่อ 8354 หรืออีเมล: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง