วารสาร The Lancet ตีพิมพ์ผลวิจัยโรคมะเร็งเต้านมใหม่ล่าสุด โดยเปรียบเทียบการฉายรังสีเฉพาะจุดระหว่างผ่าตัดด้วยเครื่อง ZEISS INTRABEAM กับการฉายรังสีหลังผ่าตัดตามปกติทั่วไป

อังคาร ๐๓ ธันวาคม ๒๐๑๓ ๐๘:๑๓
ผลการทดลองทางคลินิกระดับนานาชาติ TARGIT-A ซึ่งใช้เวลาศึกษานาน 5 ปี บ่งชี้ว่า การฉายรังสีเฉพาะจุดระหว่างผ่าตัด (TARGIT) ด้วยเครื่อง ZEISS INTRABEAM มิได้มีประสิทธิภาพด้อยไปกว่าการฉายรังสีภายนอก (EBRT) ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะแรก

ผลการทดลองทางคลินิก TARGIT-A ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet

The Lancet วารสารทางการแพทย์ชั้นนำของโลก ตีพิมพ์ผลวิจัยโรคมะเร็งเต้านมใหม่ล่าสุดซึ่งเผยว่า การฉายรังสีเฉพาะจุดระหว่างผ่าตัด (TARGIT) ด้วยเครื่อง ZEISS INTRABEAM(R) เพียงเล็กน้อยครั้งเดียวระหว่างการผ่าตัดเอาเฉพาะเนื้องอกออก มิได้มีประสิทธิภาพด้อยไปกว่าการฉายรังสีภายนอก (EBRT) ตามปกติทั่วไป ซึ่งใช้เวลานาน 3-6 สัปดาห์หลังผ่าตัดมะเร็งแบบสงวนเต้านม ในผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งที่เข้าร่วมการทดลอง

?ประโยชน์สูงสุดของ TARGIT สำหรับผู้หญิงที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมคือ การรักษาเฉพาะจุดจะเสร็จสิ้นทั้งหมดระหว่างการผ่าตัด นอกจากนั้นยังเป็นพิษต่อเต้านม หัวใจ และอวัยวะอื่นๆน้อยกว่า ผลวิจัยของเราสนับสนุนให้ทำ TARGIT พร้อมกับการผ่าตัดเอาเฉพาะเนื้องอกออกสำหรับผู้ป่วยที่ผ่านการคัดเลือกมาอย่างดีแล้ว ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยและแพทย์มีทางเลือกมากขึ้นในการรักษา ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย รวมทั้งช่วยรักษาเต้านมและชีวิตของผู้ป่วยเอาไว้ได้? ศจ.ชยันต์ เอส. ไวทยา FRCS MD, PhD จากคณะนักวิจัย TARGIT จากนานาชาติ ระบุในข่าวประชาสัมพันธ์ที่เผยแพร่พร้อมกับการตีพิมพ์ผลวิจัยในวารสาร The Lancet

นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2541 คณะนักวิจัย TARGIT จากนานาชาติ ได้ศึกษาว่าการฉายรังสีไปยังฐานของเนื้องอกระหว่างการผ่าตัดมะเร็งเต้านมระยะแรก จะช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งกำเริบได้อย่างมีประสิทธิภาพพอๆกับการฉายรังสีภายนอก (EBRT) ตามปกติทั่วไปที่ใช้เวลา 3-6 สัปดาห์หรือไม่

โดยทั่วไปนั้น การทำ EBRT กับเต้านมทั้งเต้าจะทำหลังการผ่าตัดเอาเฉพาะเนื้องอกออก (ผ่าแบบสงวนเต้านม) เพื่อลดความเสี่ยงมะเร็งกำเริบและลดความเสี่ยงที่จะเสียชีวิต ปกติการทำ EBRT จะใช้เวลา 3-6 สัปดาห์ โดยผู้ป่วยต้องเข้ารับการฉายรังสีที่ศูนย์รังสีรักษารวม 20-30 วัน อย่างไรก็ดี ในบางกรณีผู้ป่วยสามารถผ่าตัดแบบสงวนเต้านมได้ แต่ไม่สามารถเดินทางไปยังศูนย์รังสีรักษาเพื่อเข้ารับการรักษาหลังผ่าตัดได้ทุกวัน ส่งผลให้ผู้ป่วยเหล่านี้ตัดสินใจผ่าตัดเอาเต้านมออกทั้งเต้า

ส่วนวิธี TARGIT ซึ่งทำระหว่างการผ่าตัดหลังจากที่เฉือนเอาเนื้องอกออกแล้วนั้น จะมีการใช้เครื่อง ZEISS INTRABEAM ฉายรังสีใส่เนื้อเยื่อบริเวณฐานของเนื้องอกภายในเต้านมโดยตรง ซึ่งผลการศึกษา TARGIT แสดงให้เห็นว่า การฉายรังสีเฉพาะจุดระหว่างผ่าตัดด้วยเครื่อง ZEISS INTRABEAM สามารถลดความเสี่ยงมะเร็งกำเริบได้อย่างมีประสิทธิภาพพอๆกับการฉายรังสีเต้านมทั้งเต้าหลังผ่าตัดซึ่งต้องใช้เวลานาน 3- 6 สัปดาห์ ในผู้ป่วยหญิงกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นมะเร็งเต้านมชนิด invasive ductal carcinoma

จนถึงปัจจุบัน TARGIT-A เป็นการทดลองทางคลินิกแบบสุ่มในศูนย์หลายแห่งว่าด้วยการฉายรังสีเฉพาะจุดระหว่างผ่าตัดเต้านมที่ใหญ่ที่สุด โดยมีผู้ป่วยเข้าร่วมถึง 3,451 คน ในศูนย์ 33 แห่งทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย TARGIT-A เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการรักษาเพื่อลดความเสี่ยงสำหรับผู้ป่วยรายบุคคล ดังนั้นผู้ป่วยที่ผ่านการทำ TARGIT ระหว่างการผ่าตัด แต่พบว่ามีความเสี่ยงเพิ่มเติมที่ไม่คาดคิดมาก่อนในภายหลัง จะได้รับการทำ EBRT เสริมเข้าไปด้วย ซึ่งภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นกับผู้ป่วยราว 15% ทั้งนี้ ผลของมะเร็งกำเริบเฉพาะจุดตลอด 5 ปี รวมถึงบทวิเคราะห์แรกเกี่ยวกับอัตราการรอดชีวิตโดยรวมในการทดลอง TARGIT-A ได้รับการเผยแพร่แล้วในตอนนี้

เมื่อเปรียบเทียบ TARGIT กับ EBRT ส่วนต่างของอัตราการเกิดมะเร็งกำเริบเฉพาะจุดในช่วง 5 ปีระหว่างการรักษาทั้งสองแบบต่ำกว่า 2.5% ดังนั้นจึงถือว่า ?ไม่ด้อยกว่า? เมื่อเทียบกับมาตรฐาน EBRT (ฉายรังสีทุกวันนาน 3-6 สัปดาห์) ในการรักษาโรคมะเร็ง ส่วนอัตราการเสียชีวิตโดยรวมอยู่ที่ 3.9% สำหรับ TARGIT และ 5.3% สำหรับ EBRT เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคมะเร็งอื่นๆน้อยกว่าเดิม

สำหรับการเปรียบเทียบเชิงสถิติของการเกิดมะเร็งเต้านมกำเริบ จำนวนผู้เสียชีวิต และผลข้างเคียงของวิธี TARGIT เทียบกับ EBRT นั้น คณะผู้เขียนได้สรุปว่า ?การทำ TARGIT พร้อมกับการผ่าตัดเอาเฉพาะเนื้องอกออก ซึ่งเป็นการรักษาเพื่อลดความเสี่ยงนั้น ควรได้รับการพิจารณาในฐานะทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมการทดลอง TARGIT-A?

?เราขอยกย่องคณะนักวิจัย TARGIT จากนานาชาติซึ่งบุกเบิกโดยศจ.ชยันต์ ไวทยา และศจ.ไมเคิล บอม จากผลงานการวิจัยอันโดดเด่นเกี่ยวกับทางเลือกใหม่ในการรักษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมมากมาย ผลวิจัยนี้จะช่วยยกระดับการรักษาของนักรังสีรักษาและมะเร็งวิทยารวมถึงศัลยแพทย์เต้านมทั่วโลก และจะทำให้เครื่อง ZEISS INTRABEAM ถูกนำไปใช้มากขึ้นเพื่อต่อสู้กับโรคมะเร็ง? ดร.ลุดวิน มอนซ์ ประธานและซีอีโอของคาร์ล ไซส์ เมดิเทค เอจี (Carl Zeiss Meditec AG) กล่าว

สามารถอ่านผลวิจัย TARGIT-A ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet ได้ที่ http://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(13)61950-9/abstract

กรุณาดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.meditec.zeiss.de/presse

คาร์ล ไซส์ เมดิเทค เอจี

คาร์ล ไซส์ เมดิเทค เอจี (ISIN: DE0005313704) เป็นบริษัทเทคโนโลยีการแพทย์ชั้นนำแห่งหนึ่งของโลก บริษัทนำเสนอเทคโนโลยีที่ทันสมัยและโซลูชั่นที่ใช้งานง่าย ซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ นอกจากนั้นยังนำเสนอโซลูชั่นครบวงจรสำหรับการวินิจฉัยและรักษาโรคเกี่ยวกับดวงตา ซึ่งครอบคลุมถึงการปลูกถ่ายดวงตาและวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ ขณะเดียวกันบริษัทได้สร้างสรรค์โซลูชั่นที่ทันสมัยในด้านการผ่าตัดด้วยกล้องจุลทรรศน์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ของบริษัทประกอบด้วยเทคโนโลยีที่เป็นความหวังสำหรับอนาคตมากมาย เช่น การฉายรังสีระหว่างผ่าตัด เป็นต้น ในปีงบการเงิน 2554/55 (สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน) พนักงานทั้งหมด 2,400 คนสร้างรายได้ให้กับบริษัทรวม 862 ล้านยูโร ทั้งนี้ บริษัทมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเยนา ประเทศเยอรมนี

คาร์ล ไซส์ เมดิเทค มีบริษัทในเครืออีกหลายแห่งทั้งในเยอรมนีและในต่างประเทศ โดยพนักงานกว่า 50% ของทั้งหมดปฏิบัติงานอยู่ในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สเปน และฝรั่งเศส นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยและประยุกตใช้แห่งอินเดีย (CARIn) ในบังกาลอร์ ประเทศอินเดีย และศูนย์นวัตกรรมคาร์ลไซส์เพื่อการวิจัยและพัฒนาในเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ยังช่วยให้บริษัทมีรากฐานทางธุรกิจที่แข็งแกร่งในสองประเทศนี้ที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ หุ้นราว 35% ของคาร์ล ไซส์ เมดิเทค เป็นหุ้นที่กระจายให้แก่ผู้ถือหุ้นรายย่อย ส่วนที่เหลือประมาณ 65% ถือครองโดยคาร์ล ไซส์ เอจี กลุ่มบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับสายตาและออปโตอิเล็กทรอนิกส์ระดับโลก คาร์ล ไซส์ ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับโซลูชั่นเชิงอุตสาหกรรม โซลูชั่นเชิงวิจัย เทคโนโลยีทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสายตาเพื่อผู้บริโภค ซึ่งก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมานานกว่า 160 ปี รวมถึงช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนมากมายทั่วโลก ทั้งนี้ บริษัท คาร์ล ไซส์ เอจี ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองโอเบอร์โคเซน เป็นของมูลนิธิคาร์ล ไซส์

กรุณาดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.meditec.zeiss.com

ข้อมูลติดต่อสำหรับสื่อมวลชน

แจน เกอร์ริต โอห์เลนดอร์ฟ (Jann Gerrit Ohlendorf)

ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท คาร์ล ไซส์ เมดิเทค เอจี

โทร. +49(0)3641-220-331, อีเมล: [email protected]

อลิซ สวินตัน (Alice Swinton)

ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท คาร์ล ไซส์ เมดิเทค อิงค์

โทร. +1-925-557-4317, อีเมล: [email protected]

สำหรับนักลงทุน

เซบาสเตียน ฟรีริคส์ (Sebastian Frericks)

ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท คาร์ล ไซส์ เมดิเทค เอจี

โทร. +49(0)3641-220-116, อีเมล: [email protected]

แหล่งข่าว: คาร์ล ไซส์ เมดิเทค เอจี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง