สมาคมอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษไทยเตรียมยื่นเซฟการ์ด ร้องรัฐปกป้องตลาดกระดาษถ่ายเอกสาร

จันทร์ ๐๙ ธันวาคม ๒๐๑๓ ๑๕:๓๓
สมาคมอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษไทยมีมติจากการประชุมเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2556 เตรียมยื่นหนังสือเพื่อให้ทางสำนักปกป้องและตอบโต้ทางการค้า กำหนดมาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้ากระดาษถ่ายเอกสารที่เพิ่มขึ้น (หรือมาตรการ Safeguard) ตามที่ผู้ผลิตกระดาษร้องเรียน เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมการผลิตเยื่อและกระดาษของประเทศไทยตลอดจนถึงห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain) เยื่อและกระดาษทั้งหมด

นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษไทย กล่าวว่า “ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมกระดาษได้รับผลกระทบจากการนำเข้ากระดาษมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดถ่ายเอกสารที่มีการแข่งขันที่รุนแรงมาก และสมาคมฯ ได้รับการร้องเรียนจากสมาชิกซึ่งเป็นผู้ผลิตกระดาษถ่ายเอกสารว่า ตรวจพบการนำเข้ากระดาษถ่ายเอกสารที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างผิดปกติด้วยราคาการนำเข้าที่ต่ำมากอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อปริมาณการขาย ปริมาณการผลิต และปริมาณสินค้าคงเหลือของผู้ผลิตกระดาษในประเทศเป็นอย่างมาก ซึ่งหากปล่อยให้สถานการณ์การนำเข้ากระดาษถ่ายเอกสารเป็นเช่นนี้ต่อไป จะส่งผลให้ผู้ผลิตกระดาษในประเทศไม่สามารถอยู่รอดต่อไปได้ และย่อมส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมฯ ทั้งในระดับต้นน้ำและระดับปลายน้ำ เริ่มตั้งแต่การปลูกไม้ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกยูคาลิปตัสประมาณ 158,000 ครัวเรือน การผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษถ่ายเอกสาร ตลอดถึงการจ้างงานและรายได้จากการขนส่ง และหากไม่มีการดำเนินการใดๆ เป็นไปได้ว่าการแข่งขันรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และอาจส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมกระดาษพิมพ์เขียนในภาพรวมซึ่งมีมูลค่าประมาณ 30,000 ล้านบาท ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องทำให้อุตสาหกรรมของประเทศอยู่รอด เพื่อให้เกิดรายได้ การจ้างงาน และสวัสดิภาพของคนในประเทศโดยรวมตลอดช่วงสายการผลิต”

สมาคมอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษไทย จึงได้หารือกับกลุ่มต่างๆ ภายในสภาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทาน และมีมติสมาคมฯ ให้นำเสนอและยื่นหนังสือคำร้องต่อรัฐบาลผ่านทางสำนักปกป้องและตอบโต้ทางการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้ช่วยดำเนินการเรื่องมาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้ากระดาษถ่ายเอกสารที่เพิ่มขึ้นหรือ Safeguard ให้กับผู้ผลิตในอุตสาหกรรมฯ ส่วนผลการพิจารณาจะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนและมาตรการของภาครัฐต่อไป” นายมนตรีกล่าวเพิ่มเติม

ปัจจุบันตลาดกระดาษถ่ายเอกสารในประเทศมีปริมาณความต้องการรวมประมาณ 230,000 ตันต่อปี มูลค่าตลาดรวมประมาณ 10,000 ล้านบาท เดิมกระดาษถ่ายเอกสารมีปริมาณนำเข้าประมาณ 1,000 ตันต่อเดือน แต่ปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นจำนวนเฉลี่ยประมาณ 4,000 ตันต่อเดือน และเคยสูงสุดถึง 6,000 ตันต่อเดือน ซึ่งคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นถึง 600% ในขณะที่ปริมาณความต้องการกระดาษถ่ายเอกสารอยู่ที่ประมาณ 19,000 ตันต่อเดือน หรือหากคิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดของสินค้านำเข้าแล้วจะพบว่าจากเดิมมีส่วนแบ่ง 5% ได้เพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 30% ทั้งนี้ปัจจัยที่ส่งผลให้มีการนำเข้ากระดาษถ่ายเอกสารในจำนวนมากคือ กำลังการผลิตเกินปริมาณความต้องการและการถูกกีดกันทางการค้าจากประเทศอื่นๆ เช่นการฟ้อง Anti-Dumping ของประเทศออสเตรเลีย ประกอบกับประเทศไทยมีภาษีนำเข้ากระดาษเป็นร้อยละ 0 ขณะที่ประเทศอื่นในอาเซียนยังมีภาษีนำเข้ากระดาษถ่ายเอกสารอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3-20 ทำให้ปริมาณการผลิตส่วนเกินส่งออกมายังประเทศไทยเป็นจำนวนมาก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง