สถาบันสิ่งทอฯจับมือภาครัฐและเอกชน รุกดัน “สิ่งทอเทคนิค”จากเส้นใยธรรมชาติสู่ภาคอุตสาหกรรม หวัง “สร้างมูลค่าเพิ่มภาคการผลิต”“สร้างรายได้ให้เกษตรกร”

ศุกร์ ๐๗ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๔ ๐๙:๐๐
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดแนวคิดไทย อีโค ไฟเบอร์ : สปินนิ่ง เดอะฟิวเจอร์ (Thai Eco Fiber : Spinning the Future)เดินหน้า 2 โครงการพัฒนาเส้นใยธรรมชาติสู่อุตสาหกรรม นำโดย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบภาคการเกษตรด้วยการพัฒนาเส้นใยธรรมชาติสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอ มุ่งวิจัยเส้นใยธรรมชาติสู่อุตสาหกรรมแฟชั่น ผ่านเวทีการประกวดออกแบบสิ่งทอเชิงสร้างสรรค์เพื่อเฟ้นหาผลงาน Green & Innovative ชิงเงินรางวัลมูลค่า 100,000 บาท เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการถึง 27 กุมภาพันธ์ 2557 และโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอด้วยเส้นใยต้นแบบและการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอเทคนิค ที่มุ่งสร้างองค์ความรู้ พัฒนาเครื่องจักร และวิจัยสร้างต้นแบบสินค้าสิ่งทอเทคนิคสู่อุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นต้น โดยทั้ง 2 โครงการ จะนำวัตถุดิบเหลือใช้จากภาคการเกษตรของไทย เช่น ใบสับปะรด เปลือกลูกตาล เปลือกหมาก ฯลฯ มาสร้างมูลค่าเพิ่มและลดของเสีย สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ตลอดจนตั้งเป้าหมายส่งเสริมการใช้เส้นใยดังกล่าวในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต่อไปสำหรับการดำเนินงานดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก สำนักปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พร้อมจัดให้มีกิจกรรมการลงนามความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐสถาบันการศึกษา และภาคเอกชน ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร และ บริษัท มาลี สามพราน จำกัด (มหาชน) เพื่อร่วมนำร่องศึกษาวิจัย เสริมสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอเทคนิค และการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ ห้องสุรศักดิ์ 1 ชั้น 11 โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร โดยมีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ร่วมงานเป็นจำนวนมาก

สำหรับผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 กรุงเทพฯโทรศัพท์ 0 2713 5492 – 9 ต่อ 406, 400 หรือดูรายละเอียดได้ที่www.thaitextile.org

นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวว่าปัจจุบันทุกภาคส่วนทั่วโลกให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยในภาคอุตสาหกรรมก็ต้องปรับตัวให้ทันต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เช่น การเลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดการของเสียหรือของเหลือทิ้งที่ไม่ทำให้เกิดมลภาวะ หรือมีกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้ ผลักดันแนวทางการพัฒนาเส้นใยธรรมชาติสู่อุตสาหกรรม ในปี 2557 ประกอบไปด้วย 2 โครงการ คือ โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอด้วยเส้นใยต้นแบบและการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอเทคนิค และ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบภาคการเกษตรด้วยการพัฒนาเส้นใยธรรมชาติสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และสำนักปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ตามลำดับ

สำหรับโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอด้วยเส้นใยต้นแบบและการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอเทคนิค มุ่งพัฒนาบุคลากร สร้างองค์ความรู้ พัฒนาเครื่องจักร และวิจัยสร้างต้นแบบสินค้าสิ่งทอเทคนิคสู่อุตสาหกรรม เช่น สิ่งทอเพื่ออุตสาหกรรมยานยนต์(Mobiltech)สิ่งทอเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง(Buildtech) สิ่งทอเพื่อการแพทย์(Medtech) และสิ่งทอเสื้อผ้า (Clothtech) เป็นต้น โดยใช้วัสดุที่เหลือใช้จากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเกษตรเช่น ใบสับปะรด เปลือกลูกตาล เปลือกหมากจากข้อมูล พบว่า พื้นที่การปลูกสับปะรดในประเทศไทยมีมากกว่า 600,000 ไร่ เกษตรกรจะมีการลิดใบสับปะรดหรือต้นทิ้ง และไถกลบเพื่อปลูกรอบใหม่ โดยแต่ละรอบการผลิตจะมีเศษสับปะรดที่ถูกทิ้งรวมกว่า 4,000 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนี้ ผลตาล 1 ผล หลังจากนำจาวตาลออกแล้ว จะเหลือส่วนเส้นใยลูกตาล อยู่ประมาณร้อยละ 40-50 ต่อตาล 1 ผล ซึ่งวัสดุเหล่านี้สามารถนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการนำมาแปรรูปเป็นเส้นใยธรรมชาติและพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์สิ่งทอเทคนิค ส่งต่อไปใช้ยังอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้ นอกจากนี้ผลผลิตที่ได้ยังเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม และยังเป็นการสร้างรายได้ให้เกษตรกร โดยอุตสาหกรรมสิ่งทอเทคนิค (Technical Textiles) ปัจจุบันถือเป็นอุตสาหกรรมสิ่งทอสมัยใหม่ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็วมากกว่าสิ่งทออื่น ๆ ในตลาดโลก เช่นสิ่งทอยานยนต์ (Mobiltech) ผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่นำมาใช้กับยานพาหนะขนส่ง ได้แก่ รถยนต์ รถไฟ เรือเดินสมุทร เครื่องบิน และยานอวกาศ จากข้อมูลพบว่า ในรถยนต์ 1คัน จะมีส่วนประกอบเส้นใยอยู่ประมาณ 50 ตารางหลา เช่น เบาะนั่ง ผ้ากรุรอบห้องโดยสาร พรมปูพื้น ผ้ารองพื้น ยางล้อรถ ไส้กรอง สายพาน ท่อ ถุงลมนิรภัย เข็มขัดนิรภัย วัสดุดูดซับเสียง และฉนวนกันความร้อน ฯลฯ

สิ่งทอก่อสร้าง (Buildtech) โดยการนำสิ่งทอที่มาใช้ในงานสถาปัตยกรรมและงานก่อสร้างต่างๆ แต่เดิมวัสดุที่ใช้ส่วนมากเป็นคอนกรีต เหล็กไม้ กระดาษอัด ฯลฯ ซึ่งมีความเปราะและไม่สามารถดัดแปลงเป็นรูปแบบตามต้องการได้ จึงมีการพัฒนาใยสังเคราะห์ต่าง ๆ ที่มีความแข็งแรงสูง สามารถสะท้อนน้ำได้ดี และไม่ย่อยสลายง่าย ซึ่งต้องพัฒนาควบคู่ไปกับสารเคลือบเส้นใยด้วย ซึ่งเมื่อเคลือบเส้นใยจะทำให้สามารถทนต่อแสง อุณหภูมิ ลม ฝน และสารชีวภาพต่าง ๆ ได้ ซึ่งได้แก่ เส้นใยเสริมคอนกรีต และฉนวนอาคารเป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินงานโครงการดังกล่าว สถาบันฯ ได้ลงนามความร่วมมือระหว่าง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และบริษัท มาลี สามพราน จำกัด(มหาชน) โดยมีเป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ในการร่วมกันพัฒนาบุคลากร พัฒนาเครื่องจักร พัฒนาการผลิตเส้นใยธรรมชาติ สู่การวิจัยสร้างสรรค์สินค้าสิ่งทอเทคนิคต้นแบบ 12 ผลิตภัณฑ์ในปลายปีนี้

ด้าน นายภัทร ตะนังสูงเนิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานซัพพลายเชน บริษัท มาลี สามพราน จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการร่วมลงนามในครั้งนี้ กล่าวว่า บริษัทดำเนินธุรกิจผลิตอาหารและเครื่องดื่ม อาทิ ผลไม้กระป๋องตามฤดูกาล น้ำผลไม้ และน้ำผักผลไม้ยูเอชที และพาสเจอร์ไรส์ น้ำมะพร้าวบรรจุกระป๋อง ข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋อง เป็นต้น ซึ่งมีเส้นใยธรรมชาติเหลือใช้ และยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กาบและเส้นใยมะพร้าว ซึ่งมีจำนวนประมาณ12,000ตันต่อปี หรือคิดเป็นประมาณ 40% ของวัตถุดิบที่นำมาใช้ จึงมีความคิดว่าควรจะนำวัตถุดิบเหลือใช้เหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้อีก จึงมีโครงการนำวัตถุดิบเหลือใช้ต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน เช่น นำเปลือกและเศษผักผลไม้มาใช้ผลิตพลังงานชีวมวล กะลามะพร้าวใช้ผลิตพลังงาน ซึ่งช่วยประหยัดการใช้พลังงานได้ประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ กาบและขุยมะพร้าวพัฒนาเป็นเส้นใยธรรมชาติ วัสดุก่อสร้าง วัสดุปลูก ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ ที่บริษัทดำเนินการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการพัฒนาสิ่งทอจากเส้นใยธรรมชาติของสถาบันฯ จึงเข้าร่วมลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่ายังมีวัตถุดิบทางการเกษตรอีกเป็นจำนวนมากที่ยังใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ โดยเฉพาะเปลือก หรือกาบ เช่น ใบสับปะรด ใยจากผลลูกตาล ใบ กาบและขุยของมะพร้าวเป็นต้น ซึ่งเส้นใย

จากพืชเหล่านี้ มีเซลลูโลส (Cellulose) ที่สามารถพัฒนาต่อเป็นวัสดุสิ่งทอ หรือวัสดุสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมอื่นที่มีมูลค่าสูงขึ้นได้อีกมาก สำหรับบทบาทความร่วมมือของ บริษัทฯ ยินดีให้ความร่วมมือในทุกด้าน โดยเฉพาะการประสานงานด้านการจัดหาและพัฒนาวัตถุดิบการเกษตร การพัฒนาเทคโนโลยี ตลอดจนความร่วมมือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้นให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งนี้ บริษัทมีความคาดหวังว่า หน่วยงานต่างๆที่ได้ร่วมลงนามกันในครั้งนี้จะเป็นเครือข่ายการดำเนินการร่วมกัน มีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นใยธรรมชาติจากวัสดุการเกษตรที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศให้เกิดเป็นสินค้าที่มีมูลค่า ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร และเพิ่มขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมของประเทศไปพร้อมกัน

นางสุทธินีย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบภาคการเกษตรด้วยการพัฒนาเส้นใยธรรมชาติสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นอีกโครงการหนึ่งภายใต้การดำเนินงานปีงบประมาณ 2557 ที่มุ่งวิจัยเส้นใยธรรมชาติจากวัตถุดิบเหลือทิ้งจากภาคเกษตรสู่อุตสาหกรรมแฟชั่น โดยได้ดำเนินการศึกษาและรวบรวมแนวโน้มของนวัตกรรมการพัฒนาเส้นใยธรรมชาติพร้อมเก็บเป็นฐานข้อมูล และวิจัยพัฒนาเส้นใยธรรมชาติเพื่อส่งต่อให้กับนักออกแบบและดีไซน์เนอร์ได้สร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่สวยงามและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านเวทีการประกวดออกแบบสิ่งทอเชิงสร้างสรรค์ (Creative Textile Award)โดยในปีนี้ ถือเป็นการเริ่มต้นครั้งที่ 1 ภายใต้หัวข้อGreen Textiles และ Innovative Textilesแบ่งเป็นผลิตภัณฑ์ สิ่งทอสำหรับแฟชั่นและLifestyle Product ชิงเงินรางวัลมูลค่า 100,000 บาท โดยมุ่งเน้นผลงานที่ผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบร่วมกับงานวิจัยการพัฒนาเส้นใยจากวัตถุดิบภาคการเกษตรสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอโดยนักออกแบบ 1 ทีม สามารถส่งผลงานเข้าร่วมได้ 1 คอลเลคชั่น ซึ่งอาจจะมี 1 ชิ้นหรือมากกว่าก็ได้สำหรับโครงการดังกล่าวตั้งเป้าพัฒนาบุคลากรด้านการออกแบบเส้นใยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่น้อยกว่า 100 คน และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ(Prototype) จากเส้นใยธรรมชาติที่ทันสมัยตามแนวโน้มแฟชั่นไม่น้อยจำนวน 20 ผลิตภัณฑ์ โดยเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการแล้วตั้งแต่วันนี้ถึง 27 กุมภาพันธ์ 2557

อย่างไรก็ตาม คาดว่าเมื่อนำเส้นใยธรรมชาติมาพัฒนาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างเต็มรูปแบบจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและลดการสูญเสียวัตถุดิบเหลือทิ้งจากภาคการเกษตรสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรไทยมากขึ้น

สำหรับผู้ประกอบการและนักออกแบบท่านใดสนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0 2713 5492 – 9 ต่อ400 ,409 หรือ ติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ www.thaitextile.org และ facebook: Thailand Textile Institute

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๒ พ.ค. คณะ กิจกรรม วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงาน
๐๒ พ.ค. กรุงศรีออกมาตรการช่วยเหลือ ลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% ให้ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง เป็นเวลา 6 เดือนตอบรับแนวทางการช่วยเหลือของสมาคมธนาคารไทย
๐๒ พ.ค. Lexar Professional CFexpress 4.0 Type B Card DIAMOND คว้ารางวัล BEST STORAGE MEDIA ในงาน TIPA WORLD AWARDS
๐๒ พ.ค. ฟอร์ติเน็ต ร่วมมือ สกมช. คัดเลือก-ฝึกอบรมเสริมทักษะบุคลากรคลาวด์ เล็งเพิ่มทรัพยากรบุคคล เสริมความมั่นคงปลอดภัยบนคลาวด์ทุกรูปแบบ
๐๒ พ.ค. ไอ-เทล รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสแรก แข็งแกร่งด้วย รายได้กว่า 4 พันล้าน กำไรเพิ่ม 93 เปอร์เซ็นต์ มุ่งการเติบโตต่อเนื่องตลอดปี
๐๒ พ.ค. หมอแม็ค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผมของไทย
๐๒ พ.ค. ทรูเวฟ (ประเทศไทย) เปิดตัว GreenFarm.AI ผู้ช่วยคนใหม่ที่จะทำให้สวนเติบโตสวยและยั่งยืนได้ดั่งใจ
๐๒ พ.ค. ไบเทคบุรี เมกะโปรเจกต์ของภิรัชบุรี กรุ๊ป พลิกโฉม ไบเทค บางนา ก้าวข้ามอุตสาหกรรม MICE สู่สถานที่แห่งไลฟ์สไตล์ครบวงจร
๐๒ พ.ค. ดีมันนี่ ตอกย้ำความสำเร็จในงาน Money 20/20 Asia ในฐานะผู้บุกเบิกโซลูชัน โอนเงินไปต่างประเทศชั้นนำในวงการฟินเทคไทย
๐๒ พ.ค. สบยช. ยืนยัน ชาเม่ คอลลาเจน ไม่มีสารเสพติด