งานวิจัย "พลังงานนิวเคลียร์ฟิวชัน"

อังคาร ๑๘ มีนาคม ๒๐๑๔ ๑๐:๕๓
"พลังงานนิวเคลียร์ฟิวชัน"

โดย รศ.ดร. ธวัชชัย อ่อนจันทร์

ตำแหน่ง : ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา

พลังงานที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้มีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น ประเทศไทยในฐานะผู้นำเข้าพลังงานเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศจึงได้รับผลกระทบจากวิกฤตด้านราคาพลังงานนี้โดยตรง อีกทั้งในกระบวนการผลิตพลังงานซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล ก่อให้เกิดก๊าซ CO2 ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ดังนั้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อหาแหล่งพลังงานที่มีราคาถูก และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและจัดเป็นวาระเร่งด่วนของทุกประเทศ

พลังงานนิวเคลียร์ฟิวชันเป็นพลังงานที่เกิดจากการรวมตัวกันของธาตุที่มีน้ำหนักเบา กลายเป็นอะตอมของธาตุที่มีน้ำหนักมากขึ้นและสามารถให้พลังงานออกมา พลังงานนิวเคลียร์ฟิวชันได้รับความสนใจในหลายประเทศเช่น สหรัฐ รัสเซีย ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เป็นต้น เนื่องจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันสามารถให้พลังงานในปริมาณสูงเมื่อเทียบจากน้ำหนักของเชื้อเพลิงที่เท่ากันและเป็นพลังงานสะอาดที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก อีกทั้งเชื้อเพลิงที่ใช้ เช่น ดิวเทอเรียมที่มีอยู่มากมายในน้ำทะเล ดังนั้นพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชันสามารถเป็นทางเลือกที่สำคัญของพลังงานทดแทนสำหรับอนาคตของเรา

ดวงอาทิตย์ตัวอย่างของการนำพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชันมาใช้ในธรรมชาติ

การศึกษาวิจัยทางด้านพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งด้านการทดลองและด้านทฤษฏี โดยเฉพาะการศึกษาโดยใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันแบบโทคาแมคเพื่อควบคุมให้เกิดปฏิกิริยาอย่างต่อเนื่อง

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันแบบโทคาแมค

ซึ่งจากการทดลองที่ผ่านมาพบว่า ประสิทธิภาพการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันภายในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันแบบโทคาแมคจะเพิ่มสูงขึ้นจากภาวะปกติเมื่อพลาสมาเข้าสู่สภาวะประสิทธิภาพสูงที่เรียกว่า H-mode จากการศึกษาพบว่าพลาสมาในสภาวะประสิทธิภาพสูงเกิดขึ้นเมื่อมีแนวต้านการสูญเสียพลังงานและอนุภาคที่ขอบของพลาสมาหรือที่เรียกว่า ETB เกิดขึ้น ซึ่งสภาวะนี้จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อมีสภาวะที่เหมาะสม บริเวณที่เกิดแนวต้านการสูญเสียพลังงานและอนุภาคที่ขอบของพลาสมานี้เป็นบริเวณที่มีความแตกต่างของความดัน (pressure gradient) สูงมาก ส่งผลให้อุณหภูมิของพลาสมาสูงขึ้นด้วย

ความดันของพลาสมาในสภาวะประสิทธิภาพสูงในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันแบบโทคาแมค

เป็นที่ทราบกันดีว่าอุณหภูมิเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปฎิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเป็นอย่างมาก หากอุณหภูมิของพลาสมาที่สูงขึ้นจะทำให้ประสิทธิภาพในการเกิดปฎิกริยานิวเคลียร์ฟิวชันสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้การทดลองพลาสมาในสภาวะประสิทธิภาพสูงได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมจนมีการค้นพบแนวต้านการสูญเสียพลังงานและอนุภาคภายในพลาสมาหรือที่เรียกว่า ITB ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพของปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันให้สูงขึ้นไปอีก การที่พลาสมาในสภาวะประสิทธิภาพสูงเกิด ETB และ ITB เป็นสิ่งที่นักวิจัยต้องการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ อีกทั้งผลกระทบของ ETB และ ITB ต่อการเกิดขึ้นและการสะสมของธาตุเจือปนในพลาสมา เช่น ฮีเลียม ซึ่งมีผลต่อการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเป็นอย่างมาก หรือการเติมเชื้อเพลิงโดยใช้เชื้อเพลิงแช่แข็งสามารถส่งผลกระทบต่อความเสถียรของพลาสมาซึ่งแสดงออกมาในรูปแบบของปรากฏการณ์ต่างๆ ดังนั้นจำเป็นต้องมีการศึกษาเรื่องนี้อย่างถี่ถ้วนเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชันให้เป็นพลังงานทดแทนในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน