พพ. จับมือ 10 บริษัทเอกชน เดินหน้าโครงการปลูกหญ้าเนเปียร์ผลิตพลังงาน นำร่องมอบสัญญาสนับสนุนวงเงิน 200 ล้านบาท

พุธ ๑๙ มีนาคม ๒๐๑๔ ๑๖:๐๙
พพ. จับมือ 10 บริษัทเอกชน เดินหน้าโครงการปลูกหญ้าเนเปียร์ผลิตพลังงาน นำร่องมอบสัญญาสนับสนุนวงเงิน 200 ล้านบาท หวังผุดโรงงานต้นแบบผลิตก๊าซชีวภาพจากหญ้าเนเปียร์ ไม่น้อยกว่า 12 แห่ง ในปี 2558 และวางเป้าหมายยาวขยายผลตั้งโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานเพื่อผลิตไฟฟ้าให้ได้ 3,000 เมกะวัตต์ ในปี 2564

วันนี้ (19 มีค.) นายประมวล จันทร์พงษ์ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) เป็นประธานแถลงข่าว “โครงการศึกษา วิจัย ต้นแบบวิสาหกิจชุมชนพลังงานสีเขียวจากพืชพลังงาน” พร้อมการจัดแสดงนิทรรศการให้ความรู้ด้านการปลูกพืชพลังงานจากหญ้าเนเปียร์ โดยมีผู้บริหารจากบริษัทภาคเอกชนที่ได้รับเข้าร่วมโครงการ และสื่อมวลชนทุกแขนงเข้าร่วม

นายประมวล กล่าวว่า ปัจจุบันความคืบหน้านโยบายและเป้าหมายการผลิตพลังงานจากหญ้าเนเปียร์ ความก้าวหน้าโครงการศึกษา วิจัย ต้นแบบวิสาหกิจชุมชนฯ รวมไปถึงการปลูกและใช้ประโยชน์จากหญ้าเนเปียร์ พพ. ได้รับวงเงินสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์พลังงานจำนวน 260 ล้าน เพื่อใช้เป็นวงเงินส่งเสริมและจูงใจให้ภาคเอกชนที่สนใจจะลงทุนโครงการ โดยเบื้องต้นจะมีวงเงินสนับสนุนโครงการในพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพนำร่องโครงการผลิตพลังงานจากหญ้าเนเปียร์ดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 1 เมกะวัตต์ โดยมอบเงินสนับสนุนในแต่ละโครงการไม่เกิน20 ล้านบาท

ทั้งนี้ พพ. ได้บรรลุความร่วมมือจากภาคเอกชนแล้วจำนวน 10 บริษัท ใน 2 ภูมิภาค ประกอบด้วย ภาคเหนือ 4 แห่ง คือ 1) บริษัท เอ็น พี พาวเวอร์ จำกัด อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ 2) บริษัท ไทยพีเอสเมกกะพาวเว่อร์ จำกัด อ.สามง่าม จ.พิจิตร 3) บริษัท พรีไซซ์ เพาเวอร์ โปรดิวเซอร์ จำกัด อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ 4) บริษัท ไทย ไบโอก๊าซ เทคโนโลยี จำกัด อ.เมือง จ.ลำปาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 แห่ง คือ 5)บริษัท ห้วยลานไบโอแก๊ส จำกัด อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย 6) บริษัท บิเทโก(ประเทศไทย) จำกัด อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี 7) บริษัท กรีนเอนเนอร์จี จำกัด อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น 8) บริษัท เอส เอ็ม ซี พาวเวอร์ จำกัด(มหาชน) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด 9) บริษัท สีคิ้ว ไบโอแก๊ส จำกัด อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา และ 10) บริษัท ยูเอซี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ โดยพพ. ได้รับเกียรติจากนายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นผู้มอบสัญญาให้แก่ผู้บริหารจากบริษัทแต่ละแห่ง เพื่อเป็นสัญญาณเริ่มต้นในการผลักดันการใช้ประโยชน์จากหญ้าเนเปียร์

นายประมวล กล่าวเพิ่มเติมว่า พพ. อยากจะขอเชิญชวนเกษตรกร หรือภาคเอกชนที่สนใจโครงการฯ เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันการพัฒนาหญ้าเนเปียร์เพื่อผลิตเป็นพลังงาน โดยประโยชน์และความคุ้มค่าที่ได้รับนั้น จากที่ พพ.ศึกษาร่วมกับกรมปศุสัตว์พบว่า ต้นทุนเฉลี่ยสำหรับการปลูกหญ้าเนเปียร์ ประมาณ 271 บาทต่อตันหญ้าสด และราคารับซื้อหญ้าเนเปียร์ที่ไร่ของเกษตรกร 300 บาทต่อตันหญ้าสด โดยราคารับซื้อจะเพิ่มขึ้นทุกปีในอัตราร้อยละ 2.5 บาทต่อปี กล่าวคือโดยเฉลี่ยแล้วภายในระยะเวลา 20 ปี เกษตรกรจะมีรายได้เฉลีย8,960 บาทต่อไร่ต่อปี ณ ผลผลิตหญ้า 80 ตันหญ้าสดต่อไร่ต่อปี (เมื่อหักต้นทุนค่าไถเตรียมดิน ค่าปลูก ค่าบำรุงรักษา ค่าท่อนพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่าจัดหาน้ำชลประทาน ค่าเช่าพื้นที่ปลูก ค่าดอกเบี้ยเงินลงทุน) โดยปัจจุบัน Feed in tariff อยู่ที่ 4.50บาท/หน่วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๐ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๑๖:๑๔ เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๑๖:๕๘ ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๑๖:๓๕ หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๑๖:๓๘ ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๑๖:๓๖ YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๑๖:๕๗ คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๑๖:๔๒ กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๑๕:๒๒ ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๑๕:๐๖ PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น