จริงหรือมั่ว? กรมวิทย์ฯ เตรียมพิสูจน์ “ทุเรียนเทศ” รักษามะเร็ง

พฤหัส ๒๐ มีนาคม ๒๐๑๔ ๑๖:๑๔
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เตรียมศึกษาวิจัยสมุนไพรทุเรียนเทศ หลังมีกระแสในโลกสังคมออนไลน์ว่าใบทุเรียนเทศสามารถรักษาโรคมะเร็ง

นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า มีประชาชนสอบถามข้อมูลเรื่องสมุนไพรทุเรียนเทศเข้ามาที่สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กันอย่างต่อเนื่อง หลังจากมีการเผยแพร่สรรพคุณของใบทุเรียนเทศว่าสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ดีกว่ายาเคมีบำบัดทางโลกออนไลน์ และมีผลิตภัณฑ์จากใบทุเรียนเทศวางจำหน่ายรูปแบบต่างๆ เช่น แคปซูล ชาชง รวมถึงมีการแนะนำให้ใช้ชาชงใบทุเรียนเทศร่วมกับการรักษาด้วยเคมีบำบัดนั้น ขณะนี้สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เตรียมรวบรวมใบทุเรียนเทศ มาศึกษาความเป็นพิษเบื้องต้นทางห้องปฏิบัติการ หลังมีรายงานวิจัยของต่างประเทศพบว่า พืชชนิดนี้มีสารที่มีพิษต่อเซลล์ประสาทและหากบริโภคในปริมาณมากจะมีผลต่อการทำงานของไต

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่ออีกว่า ทุเรียนเทศ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นสูงประมาณ 5-6 เมตร อยู่ในวงศ์เดียวกับน้อยหน่า ลัษณะมีผลสีเขียวรูปกลมรี มีหนามนิ่มที่เปลือก รสเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อย คนไทยนิยมนำทุเรียนเทศมาประกอบอาหาร ส่วนเมล็ดใช้เบื่อปลาและเป็นยาฆ่าแมลงได้ และใบมีสรรพคุณทางยาใช้รักษาโรคผิวหนัง แก้ไอ ปวดตามข้อและความดันโลหิตสูง

ทั้งนี้จากรายงานการวิจัยของต่างประเทศพบว่า สารสกัดจากใบทุเรียนเทศมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเต้านม ปอด ตับ ตับอ่อนและผิวหนังในหลอดทดลอง จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า สารสกัดมีฤทธิ์ระงับปวด ต้านการอักเสบ ลดน้ำตาลและไขมันในเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานได้ และมีรายงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า สารสกัดด้วยเอทานอลของใบทุเรียนเทศมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของก้อนเนื้องอกผิวหนัง นอกจากนี้สารสกัดยังมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของมะเร็งตับอ่อนและยังสามารถลดการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่นได้ด้วย เช่น ตับ ต่อมน้ำเหลือง และรังไข่ ซึ่งจากการแยกสารสำคัญที่มีอยู่ในทุเรียนเทศที่มีผลต่อเซลล์มะเร็งพบว่า คือ สารกลุ่ม annonaceousacetogenins

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าพืชสมุนไพรทุเรียนเทศสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นยารักษามะเร็งหรืออาจใช้ร่วมกับเคมีบำบัดในอนาคต แต่ก็มีข้อมูลการวิจัยพบว่า สารแอนโนนาซิน ที่มีอยู่ในพืชชนิดนี้มีพิษต่อเซลล์ประสาทนอกจากนี้ในรายงานการวิจัยของประเทศกานา ยังพบว่า หนูทดลองที่ได้รับสารสกัดใบทุเรียนเทศในปริมาณสูงมีผลต่อการทำงานของไต ดังนั้นการนำสมุนไพรทุเรียนเทศมาใช้บำบัดโรคมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ยังต้องผ่านกระบวนการศึกษาวิจัยต่างๆ อีกมากมาย เช่น การศึกษาด้านกลไกออกฤทธิ์ต่อเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง การส่งสัญญาณภายในเซลล์ การแยกสารสำคัญออกฤทธิ์ชนิดต่างๆ การควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน รวมถึงการศึกษาด้านพิษวิทยาและความปลอดภัย ซึ่งสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จะรวบรวมวัตถุดิบใบทุเรียนเทศในประเทศไทย มาศึกษาความเป็นพิษเบื้องต้นในห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นข้อมูลคุ้มครองผู้บริโภค และวางแผนศึกษาวิจัยเพื่อหาทางนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน