อินเทลจับมือแพลนฯ รณรงค์ผ่านหนังสั้น สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนหญิงเข้าถึงการศึกษาต่อเนื่อง

พฤหัส ๒๐ มีนาคม ๒๐๑๔ ๑๖:๕๕
บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับองค์การแพลนอินเตอร์เนชั่นแนล สำนักงานประเทศไทย จัดกิจกรรมรณรงค์สนับสนุนให้เด็กหญิงทั่วโลกเข้าถึงสิทธิทางการศึกษา อย่างต่อเนื่องผ่านกิจกรรม “Community Theater” จัดฉายภาพยนต์สั้นชุด “Girl Rising” ที่สร้างจากชีวประวัติของเด็กสาว 9 คนจาก 9 ประเทศที่ไม่สามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา โดยจัดฉายในชุมชนแออัด หลังมหาวิทยาลัยจันทร์เกษม เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่เยาวชนด้อยโอกาสในเรื่องความสำคัญของการศึกษา ซึ่งจะปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

มิสเตอร์รัสเซล จอห์น แคมป์เบลล์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดภาพลักษณ์องค์กรประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัทอินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า สำหรับภาพยนตร์สั้นชุด “Girl Rising” ได้รับความร่วมมือจากองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิเด็กจากหลายองค์กรและผลงานสร้างสรรค์จากผู้กำกับชื่อดังที่เคยได้รับการเสนอชื่ออคาเดมี่อวอร์ด จากภาพยนตร์เรื่อง “สลัม บอมเบย์” และสื่อมวลชนที่ได้รับรางวัลในงานข่าวเชิงสารคดี รวม 10 คน นำเสนอเรื่องราวชีวิตของเด็กสาว 9 คนจาก 9 ประเทศ ที่มีความแตกต่างทั้งทางภาษาและวัฒธรรม แต่มีความฝันเดียวกัน คือการได้เรียนหนังสือ แต่ปัญหาและอุปสรรคจากทั้งน้ำมือมนุษย์ ความยากจน หรือแม้กระทั่งปัญหาที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาติต่างๆ เป็นต้นตอให้เด็กสาวกลุ่มนี้ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้

“ปัจจุบันปัญหาสังคมต่าง ๆ ที่เกิดจากการที่เยาวชนไม่เข้าถึงด้านการศึกษามีมากมาย อาทิ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาการค้ามนุษย์ ฯลฯ ในส่วนของประเทศไทยแม้ปัญหาเรื่องการเข้าถึงด้านการศึกษาอาจจะดูน้อยกว่าประเทศอื่นๆ แต่ก็ยังมีเด็กสาวอีกเป็นจำนวนมากที่ยังขาดสิทธิในการเรียนหนังสือในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายขึ้นไปจนถึงอุดมศึกษา โดยเฉพาะเด็กไร้สัญชาติเนื่องจากไม่มีบัตรประชาชน องค์การ แพลน อินเตอร์เนชั่นแนล สำนักงานประเทศไทยจึงร่วมกับบริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดกิจกรรม “Community Theater” ด้วยการจัดฉายภาพยนต์สั้นชุด “Girl Rising” เพื่อรณรงค์ให้เด็กหญิงทั่วโลกเข้าถึงสิทธิทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้เน้นไปยังกลุ่มเป้าหมายหลักคือกลุ่มเยาวชนในชุมชนแออัด ที่มีสภาพแวดล้อมและปัญหาความยากจนที่ส่งผลให้เยาวชนส่วนใหญ่ขาดโอกาสด้านการศึกษาและการเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ ซึ่งนอกจากเด็กจะได้รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้เพื่อเกิดความตระหนักในเรื่องการศึกษามากขึ้นแล้ว เรายังเปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมโดยแสดงความคิดเห็นหรือมุมมองเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างเต็มที่ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนำไปแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ต่อไปอย่างจริงจัง เราคาดว่าในครั้งหน้าจะได้ขยายโอกาสไปยังกลุ่มเด็กชาวเขาในพื้นที่เป้าหมายต่อไป” นางมหา คูบาร์รูเบีย ผู้อำนวยการองค์การแพลน อินเตอร์เนชันแนล ประเทศไทยกล่าว

นอกจากภาพยนตร์สั้นชุด “Girl Rising” จะนำมาจากชีวประวัติของเด็กสาว 9 คนจาก 9 ประเทศกับโอกาสทางการศึกษาที่ยังไม่สามารถเข้าถึง ยังนำเสนอเรื่อราวน่าสนใจของปัญหาของเด็กสาวจากประเทศอื่น ๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบังคับการแต่งงานในวัยเด็ก ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร และมีอัตราการตายของเด็กทารกและแม่ค่อนข้างสูงเกือบ 60% อีกทั้งประเด็นปัญหาด้านแรงงานเด็กที่ไปเป็นทาสทำให้ขาดโอกาสในการเข้าถึงสิทธิต่างๆ หรือเรื่อราวในประเทศเฮติ ที่ถูกผลกระทบจากแผ่นดินไหวอย่างวัลเลย์ เด็กหญิงชาวเฮติ วัยสิบขวบที่ไม่สามารถเรียนหนังสือได้ และต้องถูกอพยพไปอยู่ค่ายพักพิงชั่วคราว เมื่อโรงเรียนที่อาศัยเพิงไม้ชั่วคราวได้ให้นักเรียนกับไปเรียนหนังสือ แต่แม่ของเธอไม่มีเงินจ่ายค่าเทอมและครูไม่อนุญาติให้เธอได้เรียนร่วมกับเพื่อนจนกว่าจะได้รับเงินค่าเล่าเรียน วัลเลย์ก็ไม่ย่อท้อในการไปโรงเรียนทุกวันจนกระทั่งเธอได้รับการยินยอมจากครูให้เรียนหนังสือได้

โดยภาพยนตร์ชุดนี้ได้เริ่มฉายกว่าร้อยแห่งในรัฐนิวยอร์กและลอสแองเจลลิสให้กับประชาชนทั่วไป และผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งสื่อมวลชน และได้ถูกนำฉายต่อในแถบเอเชีย คือประเทศมาเลเซียให้กับพนักงานบริษัทอินเทลฯ กว่าหนึ่งหมื่นคนได้ชมสารคดีชุดนี้ และประเทศไทยเป็นประเทศที่สามในการนำเสนอฉายที่โรงภาพยนตร์ สยามพารากอน ผู้สนใจสามารถชมตัวอย่างภาพยนต์สั้นชุด “Girl Rising” ได้ทางเว็บไซต์ http://10x10act.org/10x10-the-film/

ทั้งนี้ องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนลประเทศไทยยังมีผลวิจัยที่น่าสนใจในเรื่องของการเข้าถึงการศึกษาในกลุ่มเด็กหญิงชายในพื้นที่ทุรกันดารในจังหวัดเชียงราย โดยทำการวิจัยใน 4 โรงเรียนจากเด็กนักเรียนกว่า 500 คน พบว่า ปัญหาหลักใหญ่คือแนวโน้มของเด็กไร้สัญชาติมีสูงมากขึ้น และทำให้มีปัญหาในการออกนอกพื้นที่เพื่อหางานทำ หรือขอทุนเรียนหนังสือต่อในระดับอุดมศึกษา อีกทั้งครอบครัวยากจน ทำให้ต้องหันไปหางานทำที่ไม่ต้องมีบัตรประชาชนได้ เช่น ร้านคาราโอเกะ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อในการตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ หรือไปทำงานในไร่สวน แต่ได้ค่าแรงต่ำกว่าค่าแรงมาตราฐาน คือรายได้ต่อวันตกอยู่ที่ประมาณ 100-120 บาท ทำให้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ เกิดปัญหาสังคมในภายหลังได้ โดยจำนวนของคนไร้สัญชาติในประเทศไทยโดยประมาณนั้นมีสูงกว่าห้าแสนคน สองในสามจำนวนเป็นเด็กหญิงชาย ทำให้ปัญหาเรื่องคนไร้สัญชาติยังคงต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐอยู่

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๐๓ พ.ค. มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๐๓ พ.ค. รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๐๓ พ.ค. กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว