คุมอย่างไรให้อยู่หมัด!!

จันทร์ ๓๐ มิถุนายน ๒๐๑๔ ๑๓:๒๓
คุมอย่างไรให้อยู่หมัด!!

โดย นายแพทย์ พิเชฐ ผนึกทอง

สูติ-นรีแพทย์ โรงพยาบาลปิยะเวท

ปัจจุบันประชากรโลกได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ โดยการเปลี่ยนแปลงของประชากรโลก เกิดจากอัตราการเกิดและการตาย ซึ่งส่งผลกระทบเช่นเดียวกันในทุกประเทศทั่วโลก ด้วยองค์การสหประชาชาติ (UNFPA) ได้เล็งเห็นความสำคัญของประชากรหรือมนุษย์ ซึ่งเป็นตัวแปรหลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาวะต่างๆ โดยทั่วโลกได้มีการเฉลิมฉลอง จำนวนประชากรโลกที่มีจำนวนครบ 5,000 ล้าน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2530 องค์การสหประชาชาติ จึงได้ประกาศให้วันที่ 11 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันประชากรโลก

นพ. พิเชฐ ผนึกทอง สูติ-นรีแพทย์ โรงพยาบาลปิยะเวท ให้ข้อมูลว่า การคลอดบุตรที่ปลอดภัยเป็นของขวัญที่มีค่าสำหรับชีวิตคู่ แต่การตั้งครรภ์ที่มีปัญหานั้นจะส่งผลต่อความปลอดภัยทั้งของมารดาและทารก ได้แก่ การตั้งครรภ์วัยรุ่น จากปัจจัยทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคม ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมาย เช่น การทำแท้ง, ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์, การตกเลือดหลังคลอด,ภาวะซึมเศร้า, ทารกขาดออกซิเจนขณะคลอด เป็นต้น การตั้งครรภ์ที่ต่อเนื่องกันเร็วเกินไป (คลอดบุตรห่างจากบุตรคนก่อนน้อยกว่า 18 เดือน) ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในการคลอดมากขึ้น เช่น การตกเลือดหลังคลอด, ภาวะซีด รวมไปถึงปัญหาทางด้านอารมณ์ และเศรษฐกิจ การตั้งครรภ์ขณะมารดามีโรคประจำตัวอยู่ เช่น เบาหวาน, ความดัน, โรคหัวใจ ทำให้โรคดังกล่าวกำเริบขึ้นขณะตั้งครรภ์ การคุมกำเนิดจึงเป็นทางออกสำหรับการเลือกเวลาตั้งครรภ์ที่เหมาะสม ซึ่งปัจจุบันมีการคุมกำเนิดที่หลากหลาย ทั้งการใช้ฮอร์โมน แบบทานและแบบฉีด การใช้ถุงยางอนามัยทั้งของผู้ชายและผู้หญิง การใส่ห่วงอนามัย รวมไปถึงการทำหมัน ซึ่งการคุมกำเนิดดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูงถ้าใช้อย่างเหมาะสม ตัวอย่างการคุมกำเนิดที่ผิดพลาดที่พบได้บ่อย และทำให้เกิดการตั้งครรภ์เมื่อไม่พร้อม

1. ยาเม็ดคุมกำเนิด ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบคือลืมทานยา การแก้ไขควรใช้การทำกิจวัตรประจำวันช่วยร่วมในการเตือนการลืมทานยาคุม เช่น การแปรงฟัน, การแต่งหน้า, ใช้โทรศัพท์ตั้งเวลาช่วยเตือน แต่เมื่อลืมมานยาไม่เกิน 24 ชั่วโมง ควรทานทันทีที่นึกได้ และทานยาเม็ดต่อไปเวลาเดิม แต่ถ้าลืมทานมากกว่า 2 วันขึ้นไป ควรงดเพศสัมพันธ์ และปรึกษาแพทย์

2. การใช้ถุงยางอนามัยแล้วถุงยางรั่วหรือแตก ควรใช้การคุมกำเนิดแบบทานฮอร์โมนร่วมด้วย คือการใช้ยาคุมฉุกเฉิน ควรทานไม่เกิน 72 ชั่วโมงหลังการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย โดยต้องทานยา 2 ครั้ง ห่างกัน 12 ชั่วโมง เมื่อประสิทธิภาพของยาได้ผล จะมีประจำเดือนออกมาหลังทานยา ถ้าไม่มีประจำเดือนออกมาภายใน 7 วันควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

3. การใส่ห่วงอนามัย อาจมีการตั้งครรภ์ได้ถ้าห่วงอนามัยเคลื่อนหรือหลุด ซึ่งมักเกิดหลังใส่ห่วง 7 วันแรก หรือหลังมีประจำเดือน ซึ่งควรตรวจห่วงอนามัยด้วยตนเอง ซึ่งหลังใส่ห่วงแพทย์จะสอนให้ตรวจด้วยตนเอง ถ้าคลำไม่พบสายห่วงหรือคลำได้ตัวห่วงอนามัยซึ่งมีความแข็งคล้ายไส้ปากกา ควรรีบมาพบแพทย์ สำหรับผู้ที่ไม่เคยคุมกำเนิดมาก่อน หรือเคยใช้แล้วเกิดผลข้างเคียงของการคุมกำเนิด สามารถมาปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนคุมกำเนิดที่ปลอดภัย และเหมาะสมแต่ละบุคคลได้ เพื่อการตั้งครรภ์ในช่วงเวลาที่เหมาะสม และปลอดภัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน