ทุ่ม 8.3 ล้าน ดันภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านเข้าสู่ระบบมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยก่อนสูญหาย

พุธ ๐๖ สิงหาคม ๒๐๑๔ ๑๔:๔๑
กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยทุ่มงบ 8.3 ล้าน ส่งนักศึกษาแพทย์แผนไทยลงพื้นที่ถอดความรู้จากหมอพื้นบ้าน หวังต่อยอดภูมิปัญญาบรรพบุรุษ เตรียมพัฒนาเป็นตำราเรียนและบรรจุเป็นหลักสูตรการสอนในวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยก่อนสูญหาย ตั้งเป้ารวบรวมภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านให้ได้ 1,500 คนภายในปี57 นี้

ดร.นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวภายหลังร่วมการแถลงข่าว “ความร่วมมือในการรวบรวมภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านระหว่างกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกับเครือข่ายสถาบันผลิตกำลังคนด้านการพัฒนาการแพทย์แผนไทย” ในการประชุมวิชาการเครือข่ายสถาบันการผลิตกำลังคนด้านการแพทย์แผนไทยครั้งที่ 24 ซึ่งจัดขึ้นที่วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ว่า ความรู้ด้านการแพทย์พื้นบ้านในปัจจุบันนอกจากตำราที่สั่งสมแล้วยังได้จากหมอพื้นบ้านที่สืบทอดกันมากว่า 1,000 ปี จากฐานข้อมูลทะเบียนกลางของสำนักคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยพบว่าปัจจุบันทั่วประเทศมีหมอพื้นบ้านที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 54,718 คนในจำนวนนี้เป็นผู้ที่ได้รับการรับรองตามระเบียบกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พ.ศ.2555และพ.ศ.2556 ว่าเป็นหมอพื้นบ้านที่อยู่ในระบบและให้ความช่วยเหลือชุมชนเพียง 1,600 คน และได้รับการรับรองให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะเพียง 165 คนเท่านั้น

หมอพื้นบ้านทั่วประเทศเป็นทั้งหมอของประชาชนและยังมีบทบาทเป็นที่พึ่งพาของประชาชนในชุมชนและเป็นเสมือนองค์ความรู้หรือตำราในบุคคล (เพราะหมอพื้นบ้านมีความรู้และประสบการณ์การรักษาแต่ไม่ได้บันทึกเป็นตำรา)ที่สำคัญท่านเหล่านี้ล้วนเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี หากความรู้จากหมอพื้นบ้านไม่มีการสืบสาน ไม่มีการบันทึกและขาดการถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของตำรา อาจทำให้ความรู้เหล่านี้สูญหายไปได้

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกจึงได้มีการจัดทำความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและเครือข่ายในพื้นที่ในการฟื้นฟูและส่งเสริมการแพทย์พื้นบ้านโดยการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยจำนวน 8.3 ล้านบาท เป็นกองทุนให้นักศึกษาแพทย์แผนไทยลงพื้นที่ศึกษาเรียนรู้เก็บรวบรวมข้อมูลและถอดความรู้ด้านการแพทย์จากหมอพื้นบ้าน เพื่อการรวบรวมองค์ความรู้ที่ได้ไว้เป็นฐานข้อมูลภูมิปัญญาของกรมพัฒนาการแพทย์แพทย์ไทยตาม พ.ร.บ.แพทย์แผนไทย พ.ศ.2542 โดยมีแนวคิดหลัก 3 ประการคือ 1.ความเข้าใจลักษณะธรรมชาติของภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน 2.กระบวนการทำงาน หัวใจของกระบวนการ คือ การจัดการความรู้ การรับรองสิทธิ และการเรียนรู้การสืบทอด 3.การส่งเสริมการนำไปใช้ประโยชน์ต้องชัดเจน ระดับชุมชนในสถานบริการสุขภาพ

ดร.นพ.ธวัชชัย กล่าวต่ออีกว่า การรวบรวมภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านเป็นกระบวนการทำงานร่วมกันเพื่อให้ทันเวลากับอายุที่สูงขึ้นของหมอพื้นบ้าน และความครอบคลุมกับจำนวนหมอพื้นบ้านที่มีอยู่ในทุกภูมิภาค เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากหมอพื้นบ้าน มาทำการจัดระบบและการบันทึกความรู้ในระบบสารสนเทศ ที่สามารถเป็นหลักฐานในการคุ้มครองภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยและสุขภาพของคนไทย นอกจากจะเป็นการต่อยอดภูมิปัญญาบรรพบุรุษและยกระดับหมอพื้นบ้านให้เป็นอาจารย์ด้านการแพทย์แผนไทยแล้ว ยังเตรียมต่อยอดองค์ความรู้ที่ได้นำมาพัฒนาเป็นตำราเรียนและบรรจุไว้ในหลักสูตรการสอนสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยต่อไปด้วย โดยเป้าหมายการทำงานในปีนี้คือการรวบรวมภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านให้ได้ 1,500 คน จากนักศึกษาแพทย์แผนไทยและสถาบันผู้ผลิตแพทย์แผนไทย จำนวน 27 สถาบัน โดยภาพรวมการทำงานร่วมกันแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 คือการรวบรวมองค์ความรู้เชิงปริมาณ ส่วนระยะที่ 2 จะเป็นการวิจัยเชิงลึกต่อยอดจากระยะที่ 1

การฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านเพื่อใช้ประโยชน์ในระบบสุขภาพ คำที่มักใช้เรียกสำหรับการทำงานร่วมกันของสมาชิกอาเซียน หรือ นานาชาติเรียกว่า “การแพทย์ดั้งเดิม” สำหรับประเทศไทยมีสองกลุ่ม แต่มีรากฐานจากภูมิปัญญาจากบรรพชนเช่นกัน คือ การแพทย์พื้นบ้าน (Indigenous or Folk Medicine) และการแพทย์แผนไทย (Thai Tradional Medicine) รูปธรรมที่สะท้อนถึงพลังที่เข้มแข็งของสังคมไทยในเรื่องนี้ คือ การมีกฎหมายเฉพาะสำหรับคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542 ซึ่งมีประโยชน์ต่อการพัฒนา ทั้งเป็นเครื่องมือในการคุ้มครองภูมิปัญญาและการส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้คาดหวังว่าการร่วมมือกันทำงานเรื่องนี้ นอกจากผลผลิตด้านองค์ความรู้จากหมอพื้นบ้านในแต่ละภูมิภาคแล้ว ในระหว่างกระบวนการทำงานจะช่วยให้นักศึกษาแพทย์แผนไทยในฐานะผู้สืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาในสถาบันรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และเข้าใจหมอพื้นบ้านในมิติต่างๆที่บางครั้งบันทึกได้ยาก แต่จะได้เรียนรู้โดยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการดูแลรักษาของหมอพื้นบ้าน เช่น ความมีเมตตา กรุณา ต่อผู้เจ็บไข้ซึ่งถือเป็นวิทยาทานต่อลูกหลานนักศึกษาและสังคมไทยต่อไป./อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยกล่าวปิดท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง