พม. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการต่อเนื่องเพื่อกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติร่วมกัน ระหว่างประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

พุธ ๒๗ สิงหาคม ๒๐๑๔ ๑๐:๐๕
นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเปิด "การประชุมเชิงปฏิบัติการต่อเนื่องเพื่อกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติร่วมกันระหว่างประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์" ณ ห้องไชน่า ชั้น ๑๒ โรงแรมเซ็นทรา เซ็นทรัล สเตชั่น กรุงเทพฯ

นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า การคัดแยกผู้เสียหายเป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญ ทั้งต่อการให้ความคุ้มครองผู้เสียหายและกระบวนยุติธรรมทางอาญา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินการต่อไปอย่างเหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ได้รับการคัดแยกและได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นรายบุคคล การคัดแยกผู้เสียหายจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือ ซึ่งหากการคัดแยกผู้เสียหายผิดพลาดจะนำไปสู่การเพิกเฉยต่อสิทธิของบุคคล โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส

ผู้อพยพย้ายถิ่นและผู้ที่ถูกเนรเทศ ซึ่งไม่มีเอกสารหรือหลักฐานแสดงตัว ดังนั้นการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายจากการ

ค้ามนุษย์ จึงควรได้รับความร่วมมือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นายเลิศปัญญา กล่าวต่อไปว่า ประเทศไทยโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)จึงได้จัด "การประชุมเชิงปฏิบัติการต่อเนื่องเพื่อกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติร่วมกันระหว่างประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์"ขึ้น ระหว่างวันที่ ๒๖-๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๗

เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการคัดแยกผู้เสียหายระหว่างประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ทบทวนร่างแนวทางการปฏิบัติและแบบสอบถามในการคัดแยกผู้เสียหายระหว่างประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง พัฒนาแนวทางปฏิบัติร่วมกันระหว่างประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จากร่างแนวทางปฏิบัติและแบบสอบถามที่ใช้ในการคัดแยกผู้เสียหาย ซึ่งจัดทำขึ้นในปี ๒๕๕๕ ณ กรุงเทพฯ และผลักดันให้เกิดข้อตกลงร่วมกันในการนำแนวทางปฏิบัติและแบบสอบถามที่เห็นชอบร่วมกันไปใช้ในการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอย่างเหมาะสมและเป็นรูปธรรมต่อไป รวมถึงเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในการต่อต้านการค้ามนุษย์ และสนับสนุนให้เกิดการหารือและการมีส่วนร่วมในระดับนโยบายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ในระดับภูมิภาค ซึ่งจะนำไปสู่การลดภาระต้นทุนทางสังคมที่อาจเกิดขึ้นในระเบียงเศรษฐกิจในลักษณะของการดำเนินงานเชิงรุกต่อไป

"การประชุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนทั้งสิ้น ๘๐ คน ประกอบด้วย ผู้แทนระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบพัฒนาแนวปฏิบัติในการคัดแยกผู้เสียหายในประเทศ มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดการตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ตามกฎหมาย หรือเป็นหน่วยงานที่นำแนวปฏิบัติไปใช้ รวมทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบการให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือผู้เสียหาย ผู้สังเกตการณ์จากองค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งมีส่วนร่วมในการคัดแยกและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จากประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ๕ ประเทศ ได้แก่ ประเทศกัมพูชา ลาว พม่า ไทยและเวียดนาม" นายเลิศปัญญา กล่าวตอนท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง