ปรับพฤติกรรมเสี่ยง... เลี่ยง “ออฟฟิศซินโดรม”

พุธ ๒๗ สิงหาคม ๒๐๑๔ ๑๔:๒๑
การดำเนินชีวิตของคนในสังคมเมือง มีการแข่งขันกันสูงมากขึ้น ทำให้คนเรามองข้ามการดูแลสุขภาพร่างกาย แพทย์ชี้ 10 เปอร์เซ็นต์ของคนเมือง มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นออฟฟิศซินโดรมเพิ่มขึ้น

นายแพทย์อดุลย์ บัณฑุกุล รองผู้อำนวยการด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวว่า คนส่วนใหญ่มีความเข้าใจผิดว่าออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคและเวลาพูดถึงออฟฟิศซินโดรม คือคนที่ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเน้นหนักในเรื่องท่าทางการทำงาน แต่ที่จริงแล้วออฟฟิศซินโดรมนั้นเป็นกลุ่มของอาการที่เกิดจากโรคหลายชนิด มีสาเหตุมาจากอากาศในออฟฟิศ กระบวนการทำงาน ท่าทางการทำงาน เครื่องมือที่มีอยู่ในออฟฟิศ เป็นต้น

ความเป็นจริงออฟฟิศซินโดรมเกิดจากหลายปัจจัย เช่น อากาศที่อับทึบ การระบายอากาศไม่ดีทำให้มี ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คั่งค้าง ส่งผลให้เกิดอาการปวดมึนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงนอน หากแสงสว่างจ้าเกินไป หรือมีแสงสะท้อนจากหน้าจอจนเกิดอาการแสบตาต้องหยีตา ปวดกล้ามเนื้อตา จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ และหากแสงสว่างน้อยเกินไปคนที่สายตายาวหรือสายตาสั้นต้องเพ่งตามากขึ้นจะส่งผลให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อตาเช่นกัน รวมทั้งการมีเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องถ่ายเอกสารภายในสำนักงานมากจะส่งผลให้มีสารเคมีในห้องเพิ่มขึ้น เพราะนอกจากคาร์บอนไดออกไซด์จากตัวคนทำงานแล้ว ยังมีสารระเหยบางประเภททำให้มีอาการแสบตา แสบจมูก แสบคอ ไอ แน่นหน้าอก นอกจากนี้สารเคมีเหล่านี้ยังเกิดโรคผื่นคันตามตัวอีกด้วย โดยเฉพาะถ้ามีใครในออฟฟิศสูบบุหรี่ ก็จะยิ่งเกิดมลพิษในห้องมากขึ้น ด้วยเหตุนี้พนักงานออฟฟิศจึงต้องไปพบแพทย์บ่อยครั้งด้วยเรื่องเจ็บคอและเป็นหวัด สาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการทำงาน คือ มีอิริยาบถในการทำงานไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน อาทิ การนั่งหลังค่อม การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ และยังส่งผลให้เกิดความเครียดสะสม สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ อาทิ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือและสายตา โดยท่าทางการทำงานที่ถูกวิธี คือ เวลานั่งพิมพ์งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ควรนั่งเก้าอี้ที่มีพนักพิง มีที่รองแขน เท้าสามารถแตะพื้นได้ หลังสามารถพิงลงไปโดยตัวอยู่ในท่านั่ง หลังตรง คอตรง มองตรง นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นต้องพักสายตา คือมองไปทางอื่นเป็นระยะหลังทำงานสักพักหนึ่ง และบางคนจะทำงานเพลินจนลืมกระพริบตาทำให้ตาแห้ง เมื่อทำงานสัก 15 นาทีถึงครึ่งชั่วโมงควรมีการยืนขึ้น บิดหรือเหยียดตัวเพื่อแก้อาการเมื่อย และควรปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้งาน เพื่อลดระยะเวลาในการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และถ้ามีความจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน จะต้องเงยหน้าขึ้นมองออกไปไกลๆทุก 20 นาที เพื่อบรรเทาความเมื่อยล้าของสายตา และควรหาต้นไม้ในร่ม มาปลูก เพื่อช่วยดูดซับสารพิษและเป็นที่พักสายตาที่อ่อนล้า

ดังนั้น เพื่อป้องกันกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม ควรปรับพฤติกรรม ลดความเครียดจากการทำงานให้มีความพอดี รับประทานอาหารให้ตรงเวลาและครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายและตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงส่ง ผลให้งานออกมามีประสิทธิภาพตามไปด้วย

กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม

โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

โทร 0-2517-4333

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๐๓ พ.ค. มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๐๓ พ.ค. รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๐๓ พ.ค. กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว