นักวิชาการจุฬาฯ แนะประเทศกลุ่มอาเซียนทำวิจัยด้านนิวเคลียร์ร่วมกัน

พุธ ๐๓ กันยายน ๒๐๑๔ ๑๖:๓๖
นักวิชาการจุฬาฯ แนะประเทศกลุ่มอาเซียนทำวิจัยด้านนิวเคลียร์ร่วมกัน เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง เตรียมพร้อมรับมือ AEC ที่จะมาถึงในปีหน้า

ในการประชุมนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และนิวเคลียร์ ประจำปี 2557 ซึ่ง สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย จัดขึ้นเพื่อระดมความเห็นของ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์จากทั่วโลก ชี้ให้เห็นถึงการนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างจริงจัง ระหว่างวันที่ 28-30สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการทำความเข้าใจถึงประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากคนมักจะรู้จักนิวเคลียร์ในด้านลบ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว เทคโนโลยีนิวเคลียวร์ครอบคลุมการใช้ประโยชน์ในสาขา เกษตร สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรม การแพทย์ ความปลอดภัยทางด้านนิวเคลียร์และรังสี การพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ

ดร.รัฐชาติ มงคลนาวิน หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในวิทยากรของการประชุมฯ กล่าวว่า การสื่อสาร การให้ความรู้ในด้านการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในทางสันติแก่บุคคลทั่วไปเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากหลายคนยังมองในภาพลบมากกว่าจากการรับรู้ข้อมูลผ่านการนำเสนอข่าวต่าง ๆ ทั้งนี้จากประสบการณ์ที่ได้สอนฟิสิกส์แก่นิสิตที่ไม่ได้อยู่ในสาขาวิทยาศาสตร์ เมื่อได้สอดแทรกให้ทราบถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีนิวเคลียร์ นิสิตก็เข้าใจมากขึ้น

ดร.รัฐชาติ กล่าวว่า โดยส่วนตัวมองว่า การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยได้ยกตัวอย่างงานวิจัยด้านฟิสิกส์พื้นที่เคยทำให้กับ องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรปเมื่อสามสิบกว่าปีก่อน ซึ่งเป็นการทำร่วมกันของนักวิทยาศาสตร์จากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก แต่เพิ่งจะมีการนำไปต่อยอดเพื่อใช้ประโยชน์และเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ดังนั้นประเทศไทยต้องหาทางเพิ่มจำนวนบุคลากรรุ่นใหม่ที่สนใจงานวิจัยพื้นฐานเสียแต่เนิ่น

“ไม่มีคำว่าสายเกินไปสำหรับการเริ่มต้นวิจัยนิวเคลียร์พื้นฐาน เพราะต้องใช้เวลานานหลายสิบปีกว่าจะนำไปพัฒนาต่อยอดจนสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น เครื่องถ่ายเอ๊กเรย์แบบ CT scan หรือเครื่อง MRI ที่ปัจจุบันมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ก็เป็นผลพวงมาจากงานวิจัยนิวเคลียร์ฟิสิกส์พื้นฐานเช่นเดียวกัน” ดร.รัฐชาติ กล่าว

นอกจากนี้ ดร.รัฐชาติ ยังได้แนะให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่จะรวมตัวกันเป็น AEC ในปีหน้า ต้องทำวิจัยด้านนิวเคลียร์ร่วมกันจึงจะเกิดผลดีในการสามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง ดังที่เคยประสบความสำเร็จในโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนาเครื่องมือต้นกำเนิดนิวตรอนแบบพัลส์ ทั้งนี้ในการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศจำเป็นต้องดำเนินการวิจัยภายใต้มาตรฐานเดียวกันซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง และสำหรับแนวทางความร่วมมือของกลุ่มประเทศในอาเซียนนั้น ควรเน้นงานด้านเกษตรกรรม สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรม การแพทย์ ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี รวมทั้งการพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ได้ครอบคลุมทุกสาขาดังที่กล่าวมาแล้ว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๑ พ.ค. เฮลท์สเคป (Healthscape)' นำร่องส่ง 'MADE BY SILVER' ชวนสัมผัสผลิตภัณฑ์เพื่อไลฟ์สไตล์สำหรับกลุ่มซิลเวอร์เจน 20 พ.ค. - 2 มิ.ย. 67 ณ ศูนย์การค้า ดิ เอ็ม
๒๑ พ.ค. HENG เสนอขายหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2567 จำนวน 2 ชุด อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.25% และ 5.50% เปิดจองซื้อ 23-24 และ 27 พ.ค. 67 เดินหน้าเสริมแกร่งธุรกิจ
๒๑ พ.ค. กลุ่มบริษัทศรีตรัง ลุยติดตั้ง EV Charger ในโรงงานทั่วประเทศ สนับสนุนพนักงานใช้พลังงานสะอาด ร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตอกย้ำจุดยืน Green Rubber
๒๑ พ.ค. Bitkub Chain และ The Sandbox ร่วมยกระดับวงการ Metaverse ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๒๑ พ.ค. AJA โชว์แกร่ง!! งบโค้งแรกพลิกมีกำไรพุ่งเกือบ 452% ชูกลยุทธ์ปี 67 กระจายลงทุนในธุรกิจหลากหลาย-สร้างฐานการเติบโตยั่งยืน
๒๑ พ.ค. KJL โชว์นวัตกรรมในงาน SUBCON Thailand 2024 เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า
๒๑ พ.ค. ITEL อวดกำไร Q1/67 โต 113% กำไรสุทธิ 123 ล้านบาท ล่าสุด ก.ล.ต. ไฟเขียวนับหนึ่งไฟลิ่ง บ.ย่อย BLUE เรียบร้อยแล้ว
๒๑ พ.ค. โอยิกะ ผู้นำด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีแบตเตอรี่จากสิงคโปร์ ชูนวัตกรรมพลังงานสะอาด มุ่งขยายธุรกิจตู้สลับแบตเตอรี่สำหรับตลาดรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
๒๑ พ.ค. ดื่มด่ำกับรสชาติของเนื้อโกเบจากโอซาก้า ที่ห้องอาหารฮากิ เซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว
๒๑ พ.ค. W9 เผยไทยเผชิญฝุ่นพิษล้อมเมืองติดอันดับโลก เปิด 5 กลุ่มเสี่ยงรับฝุ่นพิษ ภัยเงียบสะสม แนะวิธีรับมือเชิงเวลเนส