กรีน เอิร์ธ เพาเวอร์ ลงนาม MOA ร่วมกับรัฐบาลเมียนมาร์ พร้อมสร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ใหญ่ที่สุดต้นปีหน้า

ศุกร์ ๑๗ ตุลาคม ๒๐๑๔ ๑๗:๐๒
บริษัท พลังงานพื่อโลกสีเขียว (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOA - Memorandum of Agreement) กับกระทรวงพลังงานไฟฟ้าของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ร่วมกันอย่างเป็นทางการต่อแผนงานการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดกำลังการผลิตสูงสุดที่ 220 เมกะวัตต์ ณ เมืองมินบู รัฐแมคเกวย์ นครหลวงเนปิดอร์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์

การลงนามบันทึกข้อตกลงจัดขึ้นที่โรงแรม แกรนด์ อัมรา กรุงเนปิดอร์ ถือเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญต่อการพัฒนาโครงการด้านพลังงานของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ โดยได้รับเกียรติจากรัฐมนตรี ผู้ช่วยรัฐมนตรี ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงคณะผู้บริหารจาก บริษัท พลังงานเพื่อโลกสีเขียว (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งในโอกาสนี้ นาย ขิ่น หม่อง โซ รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานไฟฟ้าพม่า (H.E. U Khin Maung Soe, Union Minister of Electric Power) ได้กล่าวตอกย้ำถึงความความมุ่งมั่นที่จะประสานความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์

นาย ออง ทีฮา กรรมการบริหาร (Executive Director) บริษัท พลังงานเพื่อโลกสีเขียว (ประเทศไทย) จำกัด ได้เปิดเผยในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงถึงศักยภาพของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ในปัจจุบัน ที่จะมีผลต่อการพัฒนาพลังงานสะอาดในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นที่เมืองมินบู นับว่าเป็นข้อพิสูจน์ และตอกย้ำความมั่นใจให้แก่บริษัทฯ ร่วมด้วยความตั้งใจอย่างแน่วแน่ของนโยบายภาครัฐบาล ในการสนับสนุนโครงการที่นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพด้านพลังงานที่ยั่งยืนให้กับประเทศ และประชาชน “พลังงานแสงอาทิตย์ ที่นำมาสร้างโรงผลิตไฟฟ้าถือเป็นทางออกด้านพลังงานทางเลือก ที่สามารถทำได้สะดวก และรวดเร็วกว่าโรงไฟฟ้าประเภทอื่น ซึ่งไม่จำเป็นต้องพึ่งพาแหล่งกำเนิดพลังงาน เช่น ถ่านหิน หรือวัตถุดิบประเภทอื่น และที่สำคัญยังปลอดจากความผันผวนของราคาในการสรรหาวัตถุดิบ และกระบวนการผลิตเมื่อเทียบกับพลังงานจากก๊าซธรรมชาติ รวมไปถึงเรื่องความขัดแย้งกับประชาชนในประเด็นดังกล่าว โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นพลังงานทางเลือกที่จะเข้ามาทดแทนและสามารถตอบสนองความต้องการ สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานได้ในระยะเวลาที่เหมาะสม” “อันที่จริงในระหว่างช่วงปีที่ผ่านมานับจากการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เราได้ดำเนินการกับโครงการนี้ไปหลายส่วนมาก จนกระทั่งมีความคืบหน้าอยู่มากพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมรายละเอียดงานเบื้องต้น การปรับพื้นที่ของโครงการ รวมไปถึงเรื่องการสรุปผลเกี่ยวกับผู้รับเหมาดูแล การกู้เงินลงทุนในโรงไฟฟ้าด้านต่างๆ ซึ่งกล่าวได้ว่าเรามีความพร้อมที่จะเริ่มดำเนินการได้ในทันที” นายออง ที ฮา กล่าว

นายศุภศิษฏ์ โภคินจารุรัสมิ์ กรรมการผู้จัดการ (Managing Director) บริษัท พลังงานเพื่อโลกสีเขียว (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า จากช่วงต้นเดือนพฤษภาคมในปีที่ผ่านมาเราได้มีโอกาสร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงกับผู้แทนจากรัฐบาลเมียนมาร์ หลังจากนั้นจึงได้มีการเตรียมข้อมูลในด้านต่างๆ การศึกษาความเป็นไปได้ และโอกาสในเชิงธุรกิจ การศึกษาและเก็บข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลต่อการบริหารโครงการ รวมไปถึงการร่วมประชุมอภิปรายกับผู้แทนจากรัฐบาลเมียนมาร์ในการพัฒนาโครงสร้างด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสมร่วมกับกระทรวงพลังงานไฟฟ้าหรือ MOEP ซึ่งถือว่าการลงนามบันทึกข้อตกลงเป็นพันธะสัญญาระหว่างสองภาคีที่จะร่วมกันพัฒนาและทำให้โรงไฟฟ้าแห่งนี้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง

“โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่เมืองมินบูแห่งนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาด 850 เอเคอร์ หรือประมาณ 2,150 ไร่ ห่างออกไปทางทิศตะวันตกของกรุงเนปิดอร์ประมาณ 200 กิโลเมตร ตามแผนปฏิบัติการที่ได้กำหนดและได้รับความเห็นชอบร่วมกันกับรัฐบาลเมียนมาร์ ซึ่งโครงการโรงไฟฟ้าแห่งนี้จะเริ่มก่อสร้างอย่างเป็นทางการภายในไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2558 โดยโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จะแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 ระยะใช้เวลาประมาณ 30 เดือน โดยเฟสแรกจะใช้เวลาการก่อสร้างภายในระยะเวลา 12 เดือน ซึ่งจะสามารถให้กำลังการผลิตกระแสไฟ 50 เมกะวัตต์ ส่วนเฟสที่สองจะใช้เวลาการก่อสร้างโครงการภายในระยะเวลา 6 เดือน และสามารถให้กำลังการผลิตกระแสไฟ 50 เมกะวัตต์ ส่วนเฟสที่สามจะใช้เวลาการก่อสร้างโครงการภายในระยะเวลา 6 เดือนและสามารถให้กำลังการผลิตกระแสไฟ 50 เมกะวัตต์ และในเฟสที่สี่จะใช้เวลาการก่อสร้างโครงการภายในระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งจะสามารถให้กำลังการผลิตกระแสไฟ 70 เมกะวัตต์ รวมสรุปกำลังการผลิตทั้งโครงการคือ 220 เมกะวัตต์ ซึ่งจะสามารถจ่ายกระแสไฟได้ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2559 โดยมีงบประมาณการลงทุนรวมทั้งสิ้น 350 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ (หรือเท่ากับหนึ่งหมื่นล้านบาท) ซึ่งจุดเด่นของโรงไฟฟ้าแห่งนี้คือสามารถต่อเข้ากับสายส่งเส้นใหม่ที่มีกำลังส่งถึง 230 กิโลโวลท์ที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างและบริหารโดยกระทรวงพลังงานไฟฟ้าที่อยู่ภายใต้สัญญาซื้อขายพลังงานถึง 30 ปี กล่าวได้ว่าการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์นี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่สุด และจะสามารถก่อให้เกิดอัตราการจ้างงานให้กับคนในท้องถิ่นถึง 700 อัตราจ้าง” กรรมการผู้จัดการ กล่าว

บริษัท พลังงานเพื่อโลกสีเขียว (ประเทศไทย) จำกัด หรือ GEP (Green Earth Power Thailand) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2553 ในฐานะบริษัทผู้ดำเนินงานด้านการพัฒนาโครงการ และบริหารกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในภูมิภาคเอเชียและประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันบริษัทฯ จัดตั้งเป็นบริษัทเอกชนดำเนินการ บริหารโดยผู้ประกอบการ และผู้ก่อตั้ง โดยมีแผนดำเนินการนำบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ภายใน 2 - 3 ปีหน้านี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา