ส่งต่อการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด มูลนิธิไทยคมจัดอบรม Photojournalism ต่อยอด“การเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา” อย่างต่อเนื่อง

ศุกร์ ๐๗ พฤศจิกายน ๒๐๑๔ ๑๐:๓๑
มูลนิธิไทยคมจัดอบรม Photojournalism(แสดงความคิดและเรื่องราวต่างๆด้วยภาพ)ให้กับครูโรงเรียนบ้านสันกำแพง จ.เชียงใหม่ จำนวน 43 คน เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจการนำเสนองานด้วยภาพถ่ายและสามารถถ่ายทอดความรู้นี้ให้นักเรียนนำไปใช้ในการทำโครงงาน การนำเสนอรายงาน โดย ดร.สุชิน เพชรักษ์ อดีตผู้อำนวยการโครงการ Lighthouse และ constructionism lab ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ สนง.ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้เกียรติเป็นวิทยากร ทั้งนี้ คุณพรหมมินทร์ ดอยลอม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสันกำพง และคุณปณชัย ไตร-ศรี ผู้จัดการโครงการ มูลนิธิไทยคมร่วมในงานนี้ด้วย ระหว่างวันที่ 1-2 พ.ย. ณ โรงเรียนบ้านสันกำแพง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่

คุณปณชัย ไตรศรี ผู้จัดการโครงการ มูลนิธิไทยคม กล่าวว่า “ผมมองว่าครูมีบทบาทสำคัญต่อผู้เรียนอย่างมาก ครูจำเป็นต้องพัฒนาตนเองให้เกิดความเข้าใจกระบวนการเรียนรู้เป็นอย่างดีก่อนถ่ายทอดสู่นักเรียน หลังจากที่มูลนิธิไทยคมได้นำทฤษฎีการเรียนรู้แบบ Constructionism ซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเข้ามาช่วยพัฒนากระบวนการเรียนรู้และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักเรียน ทำให้มูลนิธิฯ มีแนวคิดในการจัดอบรมเรื่อง Photojournalism เพื่อให้ความรู้คุณครูเกี่ยวกับการถ่ายภาพและสามารถนำมาเรียบเรียงเป็นเรื่องราวที่ต้องการนำเสนอได้ โดยพัฒนาการนำเสนองานจากเดิมคือ presentation ธรรมดา สู่การนำเสนองานด้วยภาพถ่ายและภาพเคลื่อนไหว โดยก่อนหน้าที่จะจัดอบรมในครั้งนี้ทางมูลนิธิฯร่วมกับโรงเรียนบ้านสันกำแพงค้นคว้าหาข้อมูล พบว่า หากคุณครูมีทักษะด้านนี้จะส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้สิ่งต่างๆในระดับลึกขึ้น ถือเป็นอีกขั้นของการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของคุณครูและเด็กไทยครับ

ตลอดการอบรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความกระตือรือร้นและสนุกกับการออกถ่ายภาพและสัมภาษณ์แหล่งข้อมูลที่สนใจ ได้เรียนรู้เทคนิคหลายอย่างผสมกัน เช่น เทคนิคการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิทัล การตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์ การนำเสนอผลงานบน Internet และที่สำคัญคือได้ทำงานใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรง

ดร.สุชิน เพชรักษ์ วิทยากรพิเศษเผยว่า “ความสำคัญและหัวใจของการอบรม Photojournalism คือการใช้กล้องดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการถ่ายภาพออกมาเพื่อใช้เป็นสื่อสะท้อนความคิด ไม่ใช่แค่การบันทึกเหตุการณ์เท่านั้น และคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงตาและสมองเข้ากับสิ่งที่อยู่ภายนอก สมองจะต้องคิดและมองเห็นความหมายของสิ่งต่างๆและนำภาพที่ถ่ายมาสร้างเป็นเรื่องราวที่มีความหมายซึ่งสามารถสื่อให้คนอื่นเข้าใจได้ เมื่อคนอื่นมองเห็นภาพที่เรานำมาผูกเป็นเรื่องขึ้นแล้วก็จะสามารถเข้าใจความหมายได้ตรงกันและสื่อสารได้ชัดเจน ถือเป็นกระบวนการเรียนรู้สิ่งต่างๆในระดับลึกขึ้นเป็นลำดับ ผู้เข้าอบรมได้ลงมือศึกษาหรือสร้างเรื่องที่ตนเองสนใจขึ้นมาด้วยตัวเอง”

มูลนิธิไทยคม องค์กรการกุศลที่มุ่งพัฒนาด้านการศึกษาและเยาวชนไทยให้ “คิดเป็น ทำเป็น” สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก ให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาสังคม เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และรู้เท่าทันโลก มูลนิธิไทยคมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการส่งต่อโอกาสแห่งการเรียนรู้นี้จะมีส่วนช่วยรักษาและต่อยอด

ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดเป็น “สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้” สืบไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง