รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้างรายเดือน

จันทร์ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๐๑๔ ๑๐:๕๒
นายกฤษฎา อุทยานิน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอแถลงสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2557 ดังนี้ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 กันยายน 2557 มีจำนวน 5,690,814.15 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 46.51 ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3,965,455.04 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,087,393.91 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 626,508.18 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 11,457.02 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 40,850.10 ล้านบาท โดยหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 41,080.08 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ลดลง 7,443.37 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เพิ่มขึ้น 11,126.33 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐลดลง 3,912.94 ล้านบาท ส่วนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ นั้นไม่มีหนี้คงค้าง ทั้งนี้ รายละเอียดและสัดส่วนของหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2557

1. หนี้ของรัฐบาล

1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 50,666.64 ล้านบาท เนื่องจาก

1.1.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 492.49 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 605.12 ล้านบาท ในขณะที่การเบิกจ่ายและชำระคืนเงินกู้ สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 112.63 ล้านบาท

1.1.2 หนี้ในประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 51,159.13 ล้านบาท โดยมีรายการสำคัญเกิดจาก

- เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการบริหารหนี้เพิ่มขึ้น 56,997.92 ล้านบาท เนื่องจาก

· การเพิ่มขึ้นของตั๋วเงินคลังสุทธิ 30,500 ล้านบาท

· การกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 11,570 ล้านบาท และ ตั๋วสัญญาใช้เงิน 6,490 ล้านบาท

· การออกตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 11,635 ล้านบาท เพื่อทดแทนจำนวนตั๋วเงินคลังที่ประมูลได้ไม่ครบ

· การชำระคืนหนี้ภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 จำนวน 3,197.08 ล้านบาท

- การชำระคืนหนี้เงินกู้เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจตาม พ.ร.ก. ไทยเข้มแข็ง จำนวน 11,866 ล้านบาท

- การเบิกจ่ายเงินกู้ 550 ล้านบาท การเบิกจ่ายเงินกู้จากสัญญาเงินกู้วงเงิน 15,393 ล้านบาท ที่ได้ ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2556 ภายใต้ พ.ร.ก. บริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศฯ

- การเบิกจ่ายเงินกู้ต่อให้แก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จำนวน 839.01 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง จำนวน 1,597.56 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จำนวน 363.24 ล้านบาท รวมถึงการเบิกจ่ายเงินกู้ต่อให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อจัดทำโครงการรถไฟสายสีแดง จำนวน 57.40 ล้านบาท

- การเบิกจ่ายเงินกู้ 2,620 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้เงินบาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศเพื่อใช้ในโครงการเงินกู้ DPL เพิ่มขึ้น 2,620 ล้านบาท เนื่องจาก การเบิกจ่ายเงินกู้ ซึ่งเป็นการกู้เงินบาททดแทนเงินกู้จากธนาคารโลกเพื่อใช้ในโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) โดยแบ่งเป็น การเบิกจ่ายเงินกู้ 580 ล้านบาท จากสัญญาเงินกู้วงเงิน 3,000 ล้านบาท ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2557 และการเบิกจ่ายเงินกู้ 2,040 ล้านบาท จากสัญญาเงินกู้วงเงิน 3,000 ล้านบาท ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2557

1.2 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 9,586.56 ล้านบาท เกิดจาก (1) การชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ (FIDF 1) จำนวน 4,000 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 2 และ (2) การชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระยะที่สองฯ (FIDF 3) จำนวน 5,586.56 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 1 ที่ได้รับจากการโอนสินทรัพย์คงเหลือในบัญชีผลประโยชน์

1.3 หนี้เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า

2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน

2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน

2.1.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 2,366.43 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 2,316.05 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทลดลง 50.38 ล้านบาท

2.1.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง จำนวน 9,936 ล้านบาท เนื่องจาก

- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและการรถไฟแห่งประเทศไทยไถ่ถอนพันธบัตร 1,000 ล้านบาท และ 4,000 ล้านบาท ตามลำดับ

- การทางพิเศษแห่งประเทศไทยออกพันธบัตร 900 ล้านบาท

- รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 5,836 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 5,910 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 11,746 ล้านบาท

2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน

2.2.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 2,649.38 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 1,385.22 ล้านบาท ประกอบกับการชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทลดลง 1,264.16 ล้านบาท

2.2.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 7,508.44 ล้านบาท เนื่องจาก

- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคออกพันธบัตร 9,200 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตร 3,125 ล้านบาท

- การไฟฟ้านครหลวงออกพันธบัตร 3,000 ล้านบาท

- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตไถ่ถอนพันธบัตร 1,000 ล้านบาท

- รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 566.56 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 11,395.48 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 11,962.04 ล้านบาท

3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)

3.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 110.27 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น 1.26 ล้านบาท ในขณะที่การชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทลดลง 111.53 ล้านบาท

3.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 11,236.60 ล้านบาท เนื่องจาก

- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรออกพันธบัตร 10,000 ล้านบาท

- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ไถ่ถอนพันธบัตร 1,000 ล้านบาท

- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ มากกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 2,236.60 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 7,244 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 5,007.40 ล้านบาท

ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) หลังทำการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ มีรายละเอียดปรากฏตามแผนภาพที่ 3

แผนภาพที่ 3 หนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ที่บริหารความเสี่ยงและจำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ

4. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ

หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง จำนวน 3,912.94 ล้านบาท เนื่องจากกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 87.36 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 4,000.30 ล้านบาท

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 กันยายน 2557 มีจำนวน 5,690,814.15 ล้านบาท ซึ่งหากแบ่งประเภทหนี้สาธารณะคงค้างเป็นหนี้ต่างประเทศ-หนี้ในประเทศ และหนี้ระยะยาว-หนี้ระยะสั้น มีรายละเอียด ดังนี้

หนี้ต่างประเทศและหนี้ในประเทศ หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,690,814.15 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ต่างประเทศ 358,177.71 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.29 และหนี้ในประเทศ 5,332,636.44 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.71 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง

หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

- หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน) หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,690,814.15 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 5,517,381.41 ล้านบาท หรือร้อยละ 96.95 และหนี้ระยะสั้น 173,432.74 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.05 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง

- หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุคงเหลือ) หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,690,814.15 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 4,874,050.50 ล้านบาท หรือร้อยละ 85.65 และหนี้ระยะสั้น 816,763.65 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.35 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง

หมายเหตุ: การนำข้อมูลและ/หรือบทวิเคราะห์ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะไปใช้และ/หรือเผยแพร่ต่อ ขอความร่วมมืออ้างแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๔ MASTER หุ้นน้ำดีที่ผู้ถือหุ้นเชื่อมั่น ปักธงแผนย้ายเข้า SET
๑๕:๐๔ แม็คโคร-โลตัสผนึกกำลัง รับซื้อผลไม้ไทยกว่า 65 ล้านกิโลกรัม กระจายผลผลิตผ่านทุกสาขาทั่วไทย สนับสนุนเกษตรกรมีรายได้ยั่งยืน
๑๖:๓๓ สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS RUNNING WORKSHOP 2024 ครั้งที่ 18 พร้อมทดสอบรองเท้าวิ่งคอลเล็กชันใหม่ Skechers GO RUN(R) Supersonic
๑๖:๔๘ WMC จัดประชุมวิชาการ พร้อม MOU ส่งต่อผู้ป่วยมะเร็ง
๑๖:๓๓ เกษตรหนองหญ้าปล้อง ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การผลิตทุเรียนและสถานการณ์น้ำในพื้นที่
๑๖:๓๓ แต่งตั้ง ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำหน่ายผลิตภัณฑ์แบรนด์ หม่ำแซ่บXปุ้มปุ้ย เตรียมวางตลาดพฤษภาคมนี้
๑๖:๐๑ เปิดอาณาจักร ไมลอทท์ แลบบอราทอรีส์ ผู้นำแถวหน้าของโลกธุรกิจ OEM-ODM เครื่องสำอาง และสุขภาพครบวงจร สินค้าแบรนด์ดังกว่า 1,000 แบรนด์ จาก 300 บริษัททั่วโลก มายาวนานกว่า 35
๑๖:๑๔ JUNGCEYLON Welcome Golden Spender!
๑๕:๐๐ อิเกียชวนทุกคนสนุกสดใสกับอากาศร้อนจนสุขกับสินค้าคอลเล็คชั่น STRAND?N/สแตรนด์ดัน และ BR?GGAN/เบริกกัน
๑๕:๑๙ อีมิแน้นท์แอร์ x แบรนด์ไทย แจกไอศกรีมงานวิ่งการกุศล