ซูเพียเรีย เอ.อาร์.ที. โชว์ผลงานนักวิทยาศาสตร์และห้องแลบไทยเทียบเท่าระดับสากล กับนวัตกรรมความสำเร็จครั้งแรกแบบครบวงจร ด้วยการคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อนปลอดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA

พุธ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๐๑๔ ๑๕:๑๐
ภายหลังประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกในเอเชียด้วยการคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อนที่ปลอดโรคธาลัสซีเมีย และมีเซลล์ที่เข้ากันได้ระหว่างคู่พี่น้อง เพิ่มโอกาสโดยไม่ต้องรอสเตมเซลล์บริจาคเมื่อปีที่ผ่านมา ล่าสุด ศูนย์ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. ได้ประกาศศักยภาพและความสามารถของนักวิทยาศาสตร์และห้องแล็บไทยอีกครั้ง ด้วยการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ และเทคนิค PGD-PCR เป็นเทคนิคในการคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อนปลอดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ SMA ซึ่งเป็นโรคที่พบมากเป็นอันดับสองรองจากโรคธาลัสซีเมีย ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (SMA) มักเกิดกับเด็กทารกตั้งแต่ในครรภ์ เนื่องจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งทราบกันอย่างแพร่หลายถึงความรุนแรงที่ส่งผลต่อเด็กทารกตั้งแต่ในครรภ์ถึงผู้ใหญ่ ตามสถิติจะมีอัตราของผู้ป่วยโรคนี้ ประมาณ 1 ใน 25 ถึง 1 ใน 30 ของคนปกติ โดยเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม แบบ Autosomal Recessive โดยถ้าพ่อ-แม่ ต่างเป็นพาหะบุตรจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ถึง 1 ใน 4 โดยผู้ป่วยจะมีอาการของกล้ามเนื้อที่เสื่อมลงและอ่อนเพลีย สูญเสียการควบคุมของกล้ามเนื้อ จะส่งผลต่อการคลาน การเดิน อีกทั้งยังสูญเสียการควบคุมในส่วนของศีรษะและลำคอ และส่งผลต่อการกลืนด้วย ในอดีตยังไม่มีวิธีการตรวจที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการตรวจคัดกรองผู้ที่เป็นพาหะของโรคนี้ พ่อ-แม่ จะทราบว่าตัวเองเป็นพาหะของโรคนี้ หลังจากที่ตัวเองคลอดบุตร และทราบว่าบุตรมีอาการของโรคนี้ หรือในบางครั้งบุตรที่คลอดมาด้วยโรคนี้ แต่มีอาการไม่มาก และแสดงอาการเมื่ออายุ 6 ขวบ หรือ มากกว่านั้น โดยที่ พ่อ-แม่ ไม่ทราบ และมีการตั้งครรภ์ในครั้งถัดไป ซึ่งบุตรที่เกิดมานั้น จะมีอาการรุนแรง มากกว่าบุตรที่คลอดมาก่อนหน้านั้น โดยเหตุการณ์เลวร้ายเหล่านี้ อาจเกิดขึ้นได้ในครอบครัว และไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้

นางสาวผกาวดี เกตุจรูญ ผู้จัดการห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อน ศูนย์ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. ได้กล่าวถึงความสำเร็จในครั้งนี้ว่า ด้วยมาตรฐานห้องแล็บที่เทียบเท่าระดับสากล ทางศูนย์ฯ จึงได้เปิดกว้างให้ทุกสาขาทางการแพทย์เข้ามาใช้เทคโนโลยีที่เรามี ซึ่งกรณีของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (SMA) ก็เช่นเดียวกัน ด้วยเพราะทางศูนย์เป็นแล็บที่สามารถซัพพอร์ทได้ในทุกๆ ขั้นตอนในการรักษาของแพทย์ โดยโรคทางพันธุกรรมที่สามารถป้องกันได้ก็มีมากมาย อาทิ ALS กล้ามเนื้ออ่อนแรง, โรคทางผิวหนัง, โรคตา, โรคผิวเผือก, โรคธาลัสซีเมีย, โรคตาบอดสี, โรคท้าวแสนปม ฯลฯ

“บทบาทหน้าที่ของห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อนคือ หลังจากที่คุณหมอได้เสนอแนวทางและขั้นตอนในการทำเด็กหลอดแก้วแล้วคุณหมอจะให้ยากระตุ้นไข่เพื่อนำไข่นี้มาทำการปฎิสนธิ ซึ่งการเก็บไข่ออกจากรังไข่ของไข่ทางห้องปฎิบัติการจะมีหน้าที่รับสารน้ำ (Flud) แล้วมาค้นคว้าวิจัยว่ามีไข่อยู่ในนั้นหรือไม่ หากพบว่ามีไข่ก็จะก้าวสู่ยังขั้นตอนที่ 2 คือ นำไข่นั้นมาเลี้ยงในห้องแล็บ ที่เราเรียกกันว่า ห้องปฎิบัติการเลี้ยงตัวอ่อน แล้วนำตัวอ่อนมาปฎิสนธิกับสเปิร์ม เมื่อมีการปฎิสนธิแล้ว เราจะนำไข่ที่ปฎิสนธิมาเลี้ยงต่อ ในกรณีที่คนไข้มีลูกยากแบบทั่วๆไป เราจะคัดเลือกตัวอ่อนที่เจริญเติบโตดีที่สุดใส่เข้าสู่มารดาได้เลยโดยไม่ต้องคัดโรคทางพันธุกรรมนำตัวอ่อน แต่สำหรับกรณีนี้เป็นกลุ่มที่มีความผิดปกติในเรื่องของพันธุกรรม และต้องการหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกมีความผิดปกตินั้นๆ อีก เราจะทำการตัดเซลล์ของตัวอ่อนเพื่อนำไปตรวจความผิดปกติ เลือกตัวอ่อนที่ไม่มีความผิดปกติแล้วส่งเรื่องต่อให้ทางห้องปฏิบัติการพันธุศาสตร์ต่อไป” นางสาวผกาวดีกล่าว

ทางด้าน ดร.เกษร เตียวศิริ ผู้จัดการห้องปฏิบัติการพันธุศาสตร์ กล่าวว่า งานในส่วนของห้องนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนของการคัดกรองโครโมโซมที่มีความผิดปกติ และการคัดกรองโรคทางพันธุกรรมป้องกันการเกิดโรคทางพันธุกรรมที่อาจถ่ายทอดจากคุณพ่อคุณแม่ไปสู่ลูกน้อย โดยกรณีดังกล่าวเป็นการใช้เทคนิค PGD-PCR ซึ่งคือการตรวจพันธุกรรมของตัวอ่อน ในการทำเด็กหลอดแก้ว นักวิทยาศาสตร์จะเลือกตัวอ่อนเพื่อย้ายกลับสู่โพรงมดลูก โดยสังเกตพัฒนาการของตัวอ่อนเป็นหลัก การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนย้ายกลับ เพื่อช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเลือกตัวอ่อนจากผลการตรวจอย่างละเอียดในระดับยีน และคัดกรองตัวอ่อนที่พันธุกรรมผิดปกติออกไป หลังจากนั้นจะทำการสำเนาส่วนของ DNA ของยีนที่จะตรวจนั้นๆ ให้เพิ่มขึ้นเป็นล้านเท่า จนสามารถตรวจสอบความผิดปกติของตัวอย่าง DNA นั้นได้ หากความผิดปกติทางพันธุกรรมเกิดขึ้นที่ระดับยีน ซึ่งก่อนที่คนไข้จะเข้ารับการรักษาด้านการคัดกรองโรคทางพันธุกรรม ทางศูนย์จะมีทีมนักวิทยาศาสตร์มาเป็นผู้ให้คำปรึกษาถึงความเป็นไปได้ก่อนทุกครั้ง หากลูกค้าเข้าใจดีและยอมรับผลต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น งานของเราก็จะต้องรอจากทางหน่วยงานห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อนภายหลังการคัดตัวอ่อนเสร็จนั่นเอง

หากเราให้ความใส่ใจ รู้จัก “ตรวจ” และ “ป้องกัน” จึงนับเป็นหนทางที่ให้ผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่มากกว่าการแก้ไขที่ไม่มีวันจบสิ้น หรือในความผิดพลาดที่ไม่อาจคาดหวังได้ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ แม้จะช่วยมาเติมเต็มความหวังของผู้เป็นพ่อแม่ และครอบครัวให้สมปรารถนา แต่การตระหนักถึงการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ด้วยการปรึกษาทีมแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญนั้นทำได้ง่ายกว่า เพื่อให้ลูกน้อยที่ได้ลืมตามาดูโลก ไม่มีโรคทางพันธุกรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๕๙ อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud