เตือนผู้บริโภค พบสารใหม่ปลอมปนในยาแผนโบราณ อวดสรรพคุณทางเพศ

พุธ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๐๑๔ ๑๘:๐๙
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตรวจพบสารAildenafilปลอมปนในยาแผนโบราณที่อวดอ้างสรรพคุณเสริมสมรรถภาพทางเพศ สารนี้ไม่มีข้อมูลความปลอดภัย จึงไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นยา อาจส่งผลร้ายต่อผู้ใช้ดังนั้นผู้บริโภคควรระมัดระวังการซื้อยาแผนโบราณที่มีสรรพคุณเสริมสมรรถภาพทางเพศมารับประทาน

นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กระแสความนิยมการใช้ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร หรือยาแผนโบราณที่มากขึ้นเพราะผู้บริโภคคิดว่าปลอดภัย จึงทำให้มีการหลอกลวง มีการโฆษณายาแผนโบราณที่อวดอ้างสรรพคุณต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะสรรพคุณที่เสริมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งสรรพคุณดังกล่าวอาจไม่ได้มาจากสมุนไพรที่เป็นองค์ประกอบในยาแผนโบราณ แต่มาจากการปลอมปนยาแผนปัจจุบันกลุ่มที่มีฤทธิ์เสริมสมรรถภาพทางเพศ สารกลุ่มนี้ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนปัจจุบันในประเทศไทย มี 3 ชนิด คือ Sildenafil หรือที่รู้จักกันดีในชื่อการค้าของต้นแบบว่า “ไวอากร้า” Tadalafilและ Vardenafilซึ่งทั้งหมดเป็นยาควบคุมพิเศษ ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น

จากข้อมูลทางห้องปฏิบัติการเพื่อเฝ้าระวังการปลอมปนยาเสริมสมรรถภาพทางเพศในยาแผนโบราณที่ผ่านมา ตรวจพบการใช้ไวอากร้า ปลอมปนในยาแผนโบราณเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังตรวจพบการใช้ยาTadalafil, Vardenafilหรือใช้ทั้ง 2 ตัวยาผสมกันบ้าง ซึ่งแนวโน้มการใช้สารในการปลอมปนนี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอด เพื่อเลี่ยงการถูกตรวจพบ โดยเปลี่ยนไปใช้สารที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกันซึ่งคล้ายกับสารในกลุ่มที่มีฤทธิ์เสริมสมรรถภาพทางเพศ ทั้งนี้สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เคยตรวจพบสารAminotadalafilซึ่งเป็นสารที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับยา Tadalafilในปี พ.ศ.2554 และล่าสุดในปี พ.ศ. 2557 นี้ ได้ตรวจพบสารใหม่ซึ่งไม่เคยตรวจพบในยาแผนโบราณที่จำหน่ายในประเทศ คือ Aildenafilซึ่งเป็นสารที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับยา Sildenafil

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่ออีกว่า แนวโน้มของปัญหาการปลอมปนสารกลุ่มนี้ในยาแผนโบราณ จะมีการเลี่ยงที่จะไม่ใช้ตัวยาหลัก ที่มีการตรวจสอบเป็นประจำ คือ Sildenafil, Tadalafilและ Vardenafilแต่จะไปใช้สารตัวอื่นหรือสารที่มีโครงสร้งคล้ายคลึงกับสารกลุ่มนี้แทน ซึ่งมีฤทธิ์ในการเสริมสมรรถภาพ เพื่อเลี่ยงการถูกตรวจพบ สารดังกล่าวเหล่านี้ไม่มีข้อมูลความปลอดภัย จึงไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นยา ทำให้มีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นหากบริโภคยาแผนโบราณที่ปลอมปนด้วยสารดังกล่าว เพราะนอกจากอันตรายที่เกิดจากสารกลุ่มนี้ที่มีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดแดงที่อวัยวะเพศชายแล้ว ยังมีการขยายหลอดเลือดที่บริเวณอื่นของร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ ตาลาย หน้าแดง อาหารไม่ย่อย หายใจลำบาก อาจสูญเสียการได้ยิน หรือเกิดความผิดปกติของระบบประสาทตาได้ หรืออาจทำให้ผู้ป่วยมีความดันโลหิตต่ำรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ หากใช้ร่วมกับยาอื่นที่เสริมฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือด และยังอาจเกิดความเป็นพิษอื่นๆ จากสารนี้ได้ เนื่องจากไม่มีข้อมูลความเป็นพิษของสารเหล่านี้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ประชาชนผู้บริโภคไม่ควรซื้อยาแผนโบราณที่อวดอ้างสรรพคุณเสริมสมรรถภาพทางเพศมารับประทานเพราะอาจมีการปลอมปนสารดังกล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๙ ม.วลัยลักษณ์ร่วมจัดเวิร์กช้อปให้แก่เกษตรกร ภายใต้โครงการฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพลูกค้าพักชำระหนี้ของ ธ.ก.ส.
๑๖:๐๕ คริส - พีรวัส และสิงโต - ปราชญา ขึ้นปกแพรวฉบับ พ.ค. 67 ครั้งแรก และร่วมสนุกเป็นผู้โชคดีรับกระเป๋า FUNDAO ในคอลัมน์ WIN
๑๖:๑๙ ทีทีบี จัดทัพผลิตภัณฑ์การเงินช่วยคนไทยพิชิตหนี้ พร้อมโปรโมชันสุดพิเศษ ในงานมหกรรมการเงินครั้งที่ 24
๑๖:๑๐ ทุกวันนี้ Adenovirus ไม่ใช่โรคที่มาใหม่ แต่เป็นม้ามืดที่จัดว่าน่ากังวลในเด็กเล็ก
๑๖:๓๙ นิตยสารชีวจิต จัดโรดโชว์ Happy Life by ชีวจิต 2024 Season 14 จับมือ 10 รพ. ชั้นนำ
๑๖:๑๘ คณะวิศวะฯ มทร.ธัญบุรี เน้นใช้เอไอร่วมกับโรบอท เพื่อสร้างงานวิศวกรรมสมัยใหม่
๑๖:๔๐ งานสัมมนาออนไลน์ HR ปรับนิด สะกิดหน่อย ธุรกิจเปลี่ยน ทันต่อโลกในยุค Digital Era
๑๖:๔๔ Acer เปิดตัว Predator Helios Neo 14 เกมมิ่งโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ มาพร้อม Intel Core Ultra และ Acer Nitro 16 เกมมิ่งโน้ตบุ๊กที่มาพร้อมโปรเซสเซอร์ Intel Core 14 th
๑๖:๓๗ ท็อปส์ ในเครือเซ็นทรัล รีเทล เปิดงาน Discover the Spanish Fiesta ครั้งแรกของการคัดสรรสินค้า-วัตถุดิบชั้นเลิศจากสเปนไว้อย่างครบครันที่สุด
๑๖:๓๕ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประกาศความพร้อมในงาน Cosmoprof CBE ASEAN Bangkok 2024 พร้อมเปิดประตูสู่ธุรกิจอุตสาหกรรมความงามในภูมิภาคอาเซียน พบนวัตกรรมและเทรนด์ใหม่ๆ จากผู้ผลิตกว่า1,500