บทความครูเพื่อศิษย์ จากมูลนิธิสยามกัมมาจล

อังคาร ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๕ ๑๕:๓๔
ครู = ชอบหรือใช่

หากถูกถาม? โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร กว่าครึ่งจะมีคำตอบ “หนูอยากเป็นครูค่ะ” หรือ “ผมอยากเป็นครูครับ” แรงบันดาลใจในวัยเด็ก ทำให้เด็กๆ เหล่านี้ก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยเพื่อเรียน“ครู” และ ได้เป็น “ครู” ตามที่ฝันไว้ แต่กว่าที่พวกเขาและเธอจะรู้ว่า “ครู” คืออาชีพที่ตัวเองต้องการทำงานจริงๆ หรือไม่นั้นต้องรอทดสอบวิชาที่ตนได้เรียนมาถึงปีที่ 4 ที่จะได้เป็น “ครูฝึกสอน” ถ้าเกิดไม่ชอบขึ้นมาล่ะ..จะทำอย่างไร? แต่มีนักศึกษาอีกกลุ่มหนึ่ง สามารถสร้างพื้นที่เล็กๆ เพื่อให้เพื่อนนักศึกษา ภายใต้โครงการครูเพื่อศิษย์ โดยกลุ่มครูอาสา ม.ราชภัฏสงขลา เป็นเวทีให้พวกเธอ เขา ได้เรียนรู้การเป็นครูจริงๆ ก่อนใคร นอกจากเพื่อตามหาคำตอบมาเป็น “ครูเพราะชอบหรือแค่ใช่”เท่านั้น แต่ยังได้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคมอีกด้วย

โครงการครูเพื่อศิษย์ มีแนวคิดเพื่อแก้ปัญหาของนักศึกษาวิชาชีพครูในปัจจุบันคือ เมื่อจบไปแล้วบางคนไม่สามารถนำ “ความรู้” ที่ได้ไปปฏบัติจริง เนื่องจากหลักสูตรการศึกษาที่ผ่านมาเน้นทฤษฏีมากกว่าปฏิบัติ ทำให้นักศึกษาขาด “กระบวนการเรียนรู้” ไม่เกิดความภาคภูมิใจในวิชาชีพครูอย่างเป็นรูปธรรม และขาดจิตวิญญาณความเป็นครู กลุ่มจึงคิดที่จะรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาศักยภาพตนเองและเครือข่ายเพื่อนนักศึกษาครู ด้วยการจัดตั้งกลุ่ม “ครูเพื่อศิษย์” ที่มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมคือ จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะความเป็นครูเพื่อศิษย์ โดยการจัดอบรมเสวนา จัดกิจกรรมเรียนรู้จากพื้นที่จริง สร้างเพจให้ความรู้เรื่องครูเพื่อศิษย์ เพื่อฝึกทักษะการจัดการเรียนการสอนจากการลงมือปฏิบัติจริง ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น และมีจิตวิญญาณความเป็นครูเพิ่มขึ้น

“ครูที่ดีก็มีเยอะ ครูที่ไม่ดีก็มีเยอะ เราในฐานะนักศึกษาครุศาสตร์เห็นว่าครูที่ไปสอนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ไม่

เกิดประโยชน์ ไม่ได้ถ่ายทอดคุณธรรม ไม่รักในวิชาชีพครู พวกเราเป็นแกนนำนักศึกษาอยู่ จึงรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างผู้นำนักศึกษาวิชาชีพครูที่จะไปเป็นครูในวันข้างหน้า เพราะครูสอนตามหลักสูตรเท่านั้น ความเป็นความตายของชาติอยู่ในมือครู จึงอยากเสริมสร้างกลุ่มให้เข้มแข็ง” นายกรวิชญ์ มหาวงค์ หนึ่งในแกนนำกล่าว

นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 37 คนไปฝึกสอนที่ โรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดน บ้านบาโรย อ.สะเดา จ.สงขลา โดยมีกิจกรรมจัดการเรียนการสอนทั้ง 7 กลุ่มสาระให้กับนักเรียนระดับอนุบาล 1 - ประถมปีที่ 6 กิจกรรมมีแค่สองวันผ่านพ้นไปแล้ว แต่ได้สร้างความประทับใจและสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นภายในจิตใจนักศึกษา ฟังเสียงสะท้อนการเข้าร่วมโครงการของนักศึกษาว่า

นี่คือขั้นบันไดสู่ความเป็นครู

นางสาวนิภาวรรณ ทองจินดา(มิว) คณะครุศาสตร์ “การเป็นนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง ไม่มีประสบการณ์การสอนมาก่อนเลย ไปถึงก็ไปสอนเลย ขอ สะท้อนสิ่งที่ได้จากการไปค่ายคือ การที่เราได้ไปลงมือทำ ได้ปฏิบัติจริง ได้นำตัวตนของเราออกไปใช้กับนักเรียน ถ้าเราเรียนในห้องเรียนเราไม่ได้ทำขนาดนี้ หรือไม่ก็ได้ทำตอนที่เราอยู่ในปีสุดท้าย การเข้าร่วมโครงการนี้จึงเปรียบเป็นบันไดขั้นที่หนึ่งสู่การเป็นครูที่ดี เป็นเทียนเล่มหนึ่งที่จะเป็นแสงส่องสว่างต่อไปได้”

ชอบหรือใช่คำตอบให้กับตนเอง

นางสาวเสาวลักษณ์ มาบัว(ฝน) อายุ 20 ปี1 เอก การศึกษาปฐมวัย “ ส่วนใหญ่นักศึกษาที่เข้ามาเรียน จะเข้ามาด้วยความชอบ แต่อาจจะไช่หรือไม่ใช่ก็ไม่รู้ การไปค่ายทำให้รู้ว่าก่อนหน้าที่เราคิดว่าชอบเด็กปฐมวัย แต่พอไปสอนจริงๆ ก็ถามตัวเองว่าเราพร้อมไหมที่จะต้องไปล้างอึให้เด็ก ไม่รู้ภูมิหลังเด็กมาก่อน พอไปค่ายเห็นภาพครูล้างอึให้เด็ก หาเหาให้เด็ก ซึ่งเยอะมาก ถ้าคุณไม่มีน้ำใจตรงนี้ หรือรักเขาจริงๆ คุณทำได้ไหม ทำให้เห็นว่าการเป็นครูไม่ใช่แค่เราชอบก็จะเป็นได้ ทำให้น้องๆ หลายๆคนที่กลับมาสะท้อนตัวเองว่าตัวเองใช่หรือเปล่า บางคนกลับมาแล้วบอกเหนื่อย บางคนท้อแต่จะสู้ต่อ”

มากกว่าความเป็นครู

นางสาวรุ่งฤดี หนูม่วง (รุ่ง) อายุ 21 ปี 2 เอกคณิตศาสตร์ “ตอนแรกมีการเตรียมสื่อการสอนก็เตรียมในฐานะนักศึกษาครูไม่ได้รู้สึกอะไรมากมาย คิดว่าเรามาหาประสบการณ์ เริ่มขั้นตอนเข้าห้องเรียนความรู้สึกคือเด็กทุกคนอยู่ในความรับผิดชอบของเรา ช่วงแรกของการสอนครูประจำชั้นจะมาสังเกตุการณ์อยู่แล้ว มีเหตุการณ์ที่ดิฉันเจอคือมีเด็กนักเรียนคนหนึ่งอุจจาระใส่กางเกง ตอนแรกครูก็จะบอกไว้ก่อนเลยว่ามีเด็กคนหนึ่งที่ไม่ค่อยรู้เรื่อง ชอบอุจจาระใส่กางเกง จะนั่งหน้าสุด นั่งอยู่คนเดียวดูโดดเดี่ยวมาก เด็กเกิดอุจจาระใส่กางเกง วินาทีนั้นดิฉันรู้สึกว่าเด็กแค่อุจจาระเอง ความรู้สึกตอนนั้นเราไม่ใช่นักศึกษาเราคือครูที่ต้องทำหน้าที่ครูทุกอย่าง ครูก็บอกไว้ก่อนถ้าเด็กอุจจาระให้ไปเรียกได้แต่ดิฉันก็จัดการเอง พาเด็กไปห้องน้ำล้างน้ำ ล้างตัว และพากลับมานั่งที่เดิมเพื่อไม่ให้เกิดปมด้อย และก็สอนว่าถ้าจะอุจจาระให้บอกคุณครู ไม่ต้องกลัว และไปบอกเพื่อนๆ ที่ล้อเขาว่าการล้อเลียนเพื่อนมันเป็นสิ่งไม่ดี เหตุการณ์นี้ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดิฉันได้แม้เรียนเพียงปีสอง ได้มากกว่าความรู้จากวิชาชีพ เพราะได้คุณธรรมติดตัวมาด้วย มาด้วยทำให้มุมมองความคิดเราเปลี่ยนไปกลายเป็นผู้ให้มากขึ้น”

ชอบหรือใช่? อาจจะเป็นปัญหาที่วงการศึกษาไม่ได้นึกถึงมากนัก แค่ชอบแต่ไม่ใช่ อาจจะส่งผลทำให้คนที่เป็นครูขาดจิตสำนึกบางอย่างไป การเปิดพื้นที่แบบนี้ตั้งแต่ปีแรกๆ ของการเรียนอาจจะช่วยให้ได้ “ครูตัวจริง” นี่คือโครงการครูเพื่อศิษย์ ที่มีแนวคิดดีๆ ฝากใว้กับสังคมไทย โครงการนี้อยู่ภายใต้โครงการพลังพลเมืองเยาวชน (กลุ่มมหาวิทยาลัย) ดำเนินงานโดยสงขลาฟอรั่ม สนับสนุนโดยมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๐๓ พ.ค. มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๐๓ พ.ค. รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๐๓ พ.ค. กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว