กสทช. กทปส. ร่วมกับมูลนิธิสำรวจโลก พัฒนาศักยภาพผู้ผลิตรายการไทย รองรับการเติบโตวงการโทรทัศน์ไทย ช่วยลดต้นทุนการนำเข้าจากต่างประเทศในอนาคต

อังคาร ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๕ ๑๗:๕๖
กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) หน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ร่วมกับมูลนิธิสำรวจโลก “พัฒนาผู้ผลิตรายการในไทย พัฒนาศักยภาพผู้ผลิตสู่ระดับสากล สู่สังคมดิจิตอล” โชว์ผลงานดีเด่นที่ได้มาตรฐาน 7 ผลงานจากทั้งสิ้นกว่า 50 ผลงานที่ส่งเข้าประกวดในโครงการ “พัฒนาผู้ผลิตรายการระดับท้องถิ่น และภูมิภาค และผลิตรายการ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ให้เกิดการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ในระดับท้องถิ่นและภูมิภาค” ที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนเงินจาก กทปส. พร้อมต่อยอดสู่การพัฒนาให้เกิดการใช้งานได้จริง ลดการนำเข้าเนื้อหาจากต่างประเทศในอนาคตกว่าร้อยละ 50 จากการนำเข้าปัจจุบัน

พลอากาศเอกธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ กล่าวว่า หากมองถึงสังคมปัจจุบัน ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงในวงการโทรทัศน์ของไทย วงการโทรทัศน์และรายการต่างๆ ในประเทศจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง บทบาทหนึ่งของสำนักงาน กสทช. และ กทปส. มีส่วนผลักดัน ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนา เกิดการแข่งขันภายใต้ธุรกิจและตลาดในอนาคต ส่งผลที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และภาคประชาชน ดังนั้นโครงการการพัฒนาผู้ผลิตรายการระดับท้องถิ่น และภูมิภาค โดยมูลนิธิสำรวจโลก ถือเป็นหนึ่งโครงการฯ ที่สำนักงาน กสทช. และ กทปส. ให้การส่งเสริมและสนับสนุนเงินทุนวิจัยและพัฒนาผลงานในปี 2556 ที่ผ่านมา และในวันนี้ได้บรรลุถึงเป้าหมายผลงานที่สามารถตอบโจทย์ตามที่วางไว้ คือ ได้พัฒนาศักยภาพของบุคลากรไทย เกิดผลงานในเชิงสร้างสรรค์ เกิดชิ้นงานที่ผลิตใช้งานได้จริง พร้อมต่อยอดเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะและประชาชนในประเทศ กับผลงานที่ได้มาตรฐานทั้ง 7 ผลงานในครั้งนี้

“กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ส่งเสริมและสนับสนุนเงินให้กับมูลนิธิสำรวจโลก ตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ คือ สนับสนุนและพัฒนาบุคลากร ผลิตสื่อโทรทัศน์ในเชิงสร้างสรรค์ ผลักดันองค์ความรู้อันประโยชน์สู่ภาคประชาชนและเยาวชน โดยโครงการดังกล่าว ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่เราเห็นถึงการขยายงาน พัฒนาบุคลากรในการรองรับตลาดในอนาคต สร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม กอปรกับลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรในสาขาดังกล่าวในอนาคต ผลิตเนื้อหาสาระนำเสนอออกสู่สังคม พัฒนา 2 ส่วนไปพร้อมๆ กัน ทั้งในส่วนของการสร้างสรรค์ผลงาน และพัฒนาศักยภาพบุคลากร”

พลอากาศเอกธเรศ กล่าวอีกว่า สำนักงาน กสทช. และ กทปส. คือบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ ที่เดินหน้าขับเคลื่อนส่งเสริม สนับสนุน ให้กับอุตสาหกรรมกระจายเสียง โทรทัศน์ โทรคมนาคมเดินหน้า ลดการนำเข้า พัฒนาผลงานภายในประเทศ เพิ่มศักยภาพบุคลากรในการรองรับตลาด ธุรกิจในอนาคต เพื่อประโยชน์ต่อประชาชน ต่อประเทศในระยะยาว การดำเนินโครงการสนับสนุนเงินทุนวิจัยและพัฒนา โดยเป้าหมายที่อย่างเห็น คือ ผลงานจะต้องสามารถกลับคืนสู่สังคม ต่อยอดผลงานนำกลับไปพัฒนาได้ ดังนั้น ผลงานทั้ง 7 ชิ้นงานในครั้งนี้ ถือ เป็นสิ่งที่ดีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทย ได้เพิ่มศักยภาพบุคลากร พัฒนาผลงานให้ได้มาตรฐาน และในอนาคตจะสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้เองภายในประเทศ ลดการนำเข้าเนื้อหา คอนเทนท์จากต่างประเทศพร้อมส่งออก ประการสำคัญลดปัญหาสัดส่วนรูปแบบรายการในปัจจุบันที่มีแต่ความบันเทิง ละคร เกมส์โชว์ ในปัจจุบันที่มีกว่าร้อยละ 70 - 80 เพิ่มปริมาณรายการที่เนื้อหาสาระที่มีประโยชน์ เช่น สารคดี รายการเด็ก ข่าว ที่ปัจจุบันมีเพียงร้อยละ 20 – 30 เท่านั้น

นายอมรภัทร ชมรัตน์ กล่าวอีกว่า ผลงานที่โดดเด่นในระดับเกรด A ได้มาตรฐานการยอมรับทั้งสิ้น 7 ผลงาน คือ (1.) สารคดี ชุดความรัก (This’s Love) จากทีมก้อนอบรมที่จังหวัดชลบุรี (2.) สารคดี ชุดพิพิธภัณฑ์ชีวิต (Everlasting Museum) จาก Back Scene Group อบรมที่จังหวัดเชียงใหม่ (3.) สารคดี ชุดวัฒนทำมือ (Story of Hand) จากทีมต้นทางอบรมที่จังหวัดเชียงใหม่ (4.) สารคดี ชุดนักสืบจากอดีต (Wisely the Cave) จากทีมสล่าเล่าเรื่อง อบรมที่จังหวัดเชียงใหม่ (5.) สารคดี ชุดโนนวัด สุสานสร้างชีวิต จากทีม มวล : มวล อบรมที่จังหวัดขอนแก่น (6.) สารคดี ชุดลิงตกมะพร้าว (Monkey Job) จากทีม 3 พันปี อบรมที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี (7.) สารคดี ชุดไก่ชน จากทีม Find Think Discover (F.T.D) อบรมที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งผลงานทั้งหมดถือได้ว่าได้มาตรฐานการผลิต และมูลนิธิสำรวจโลกจะนำมาเผยแพร่ออกสู่สายตาประชาชน ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านช่องของดีประเทศไทย ที่มีผู้รับชมอยู่ทั่วประเทศ

“การดำเนินโครงการในครั้งนี้ มูลนิธิสำรวจโลกต้องขอบคุณ สำนักงาน กสทช. และ กทปส. ที่ให้การสนับสนุนมอบทุนในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและผลงานในครั้งนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งในอนาคตหากทุกภาคส่วน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญ และพัฒนาส่งเสริมงานในด้านการผลิต บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมโทรทัศน์ ผลิตเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ภายในประเทศ ผมเชื่อมั่นว่าจะสามารถลดการนำเข้าเนื้อหาจากต่างประเทศได้เป็นจำนวนมาก ลดเม็ดเงินการซื้อลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ ซึ่งหากมองในปัจจุบันประเทศไทยยังมีสัดส่วนการนำเข้าด้านเนื้อหา หรือสารคดีกว่าร้อยละ 80 ในตลาดรวม หากแต่เกิดการส่งเสริม สนับสนุน ผลักดันอย่างจริงจังแล้ว ในอนาคตคาดว่าจะเหลือสัดส่วนการนำเข้าที่ร้อยละ 50 ในตลาดรวม พร้อมทั้งมีการส่งออกเนื้อหาไปยังต่างประเทศ เชื่อว่าอุตสาหกรรมโทรทัศน์ การสื่อสารในประเทศจะมีการพัฒนาที่ดีขึ้น และสามารถเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการนำเม็ดเงินเข้าประเทศได้อย่างแน่นอน” นายอมรภัทร ชมรัตน์ กล่าวสรุป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง