เตือนน้ำเค็มรุกพื้นที่เกษตร สศก. ระบุ ปากตะคลอง ฉะเชิงเทรา พบเกินกว่ามาตรฐาน

พุธ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๕ ๑๕:๓๕
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 16 เผย พบปัญหาการรุกตัวของน้ำเค็มในพื้นที่ฉะเชิงเทรา ระบุ เจอความเค็ม 30.59 กรัม/ลิตร ณ ประตูระบายน้ำปากตะคลอง ที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน โดยขณะนี้ทางจังหวัดได้สั่งการให้ปิดประตูระบายน้ำในคลองต่างๆ เพื่อป้องกันการรุกคืบของน้ำเค็มเข้าไปในพื้นที่การเกษตรแล้ว

นายบุญลาภ โสวัณณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 16 ฉะเชิงเทรา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูแล้งปลายเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคมของทุกปี พื้นที่การเกษตรของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนกลาง โดยเฉพาะจังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และนครนายก ที่อยู่สองฝั่งแม่น้ำบางปะกง จะประสบปัญหาการหนุนของน้ำทะเลทำให้เกิดการรุกตัวของน้ำเค็มขึ้นสูง เกษตรกรต้องเตรียมปรับตัววางแผนการผลิตรองรับการหนุนของน้ำทะเล โดยจากสถานการณ์การรุกตัวของน้ำเค็มในช่วงฤดูแล้งของทุกปี ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการผลิตทางด้านเกษตรกรรมของเกษตรกรในพื้นที่ชลประทานทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของแม่น้ำบางปะกง ซึ่งในการรุกตัวของน้ำเค็มได้ไหลผ่านจังหวัดฉะเชิงเทราในอำเภอบางปะกง บ้านโพธิ์ เมืองฉะเชิงเทรา คลองเขื่อน บางน้ำเปรี้ยว รวมระยะทางมากกว่า 140 กิโลเมตร และกำลังจะเข้าสู่เขตจังหวัดปราจีนบุรีที่อำเภอบ้านสร้าง

จากข้อมูล ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 พบว่า ค่าความเค็มในเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรามีค่าความเค็มสูงสุดอยู่ที่ ประตูระบายน้ำปากตะคลอง ความเค็มประมาณ 30.59 กรัม/ลิตร และค่าความเค็มต่ำสุดอยู่ที่สะพานบางขนาก ความเค็มประมาณ 1.27 กรัม/ลิตร ซึ่งถือค่าความเค็มอยู่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่จะต้องมีความเค็มไม่เกินประมาณ 2.00 กรัม/ลิตร ที่เป็นมาตรฐานค่าความเค็มสำหรับการเกษตร เพราะหากถ้าความเค็มเกินกว่านี้จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตของพืช

นายบุญลาภ กล่าวต่อไปว่า จากการรุกตัวของน้ำเค็มดังกล่าว พบว่าใกล้เคียงกับสถานการณ์ของปี 2544 และปี 2555 ที่เคยมีค่าความเค็มสูง ทำให้สำนักงานชลประทานในเขตต้นน้ำต้องเพิ่มการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำแหล่งต่างๆ มาช่วยผลักดันน้ำเค็ม ซึ่งทำให้สามารถชะลอการรุกตัวของน้ำเค็มได้ระดับหนึ่ง และทำให้เขตพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรียังมีค่าความเค็มไม่สูงนัก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้มีการสั่งการให้ปิดประตูระบายน้ำในคลองต่างๆ เพื่อป้องกันการรุกคืบของน้ำเค็มเข้าไปในพื้นที่การเกษตรแล้ว

ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรของทั้ง 2 จังหวัด ได้มีการประชุมและเฝ้าระวังพร้อมทั้งดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรในพื้นที่รับทราบสถานการณ์ และเตรียมตัวรองรับผลกระทบที่จะตามมา ทั้งเกษตรกรผู้ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีการวางแผนป้องกัน ปรับเปลี่ยน และเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตที่จะได้รับผลกระทบจากการรุกตัวของน้ำเค็มดังกล่าว เพื่อเตรียมการและวางแผนการผลิตให้รองรับกับสถานการณ์การรุกคืบของน้ำเค็มในปัจจุบันเพิ่มเติม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๕๙ อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud