ครม.ไฟเขียวไทยเซ็นร่วมภาคีอนุสัญญาจับต้องไม่ได้ ป้องกันมรดกชาติสูญหาย

จันทร์ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๕ ๑๓:๓๓
ครม.ไฟเขียวไทยเซ็นร่วมภาคีอนุสัญญาจับต้องไม่ได้ ป้องกันมรดกชาติสูญหาย-นำไปใช้ไม่เหมาะสม วธ.ผุดหน่วยงานดูแลมรดกภูมิปัญญา-จัดทำฐานข้อมูลชงขึ้นทะเบียนหากร่วมภาคีสมบูรณ์

นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมครม.มีมติเห็นชอบการให้ วธ.ดำเนินการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ตามที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรมเสนอขึ้นตอนต่อไปต้องส่งอนุสัญญาฯ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาให้ความเห็นชอบการเข้าเป็นภาคอนุสัญญาตามมาตรา ๒๓ วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ เหตุผลที่ต้องเข้าร่วมอนุสัญญาฯ ดังกล่าว เพราะปัจจุบันมรดกวัฒนธรรมของชาติหลายประเภทมีความเสี่ยงต่อการสูญหายทั้งที่เกิดจากปัจจัยจากเทคโนโลยีและการขาดการตระหนักในคุณค่า และปัจจัยสำคัญคือการนำมรดกทางวัฒนธรรมไปสร้างมูลค่า การนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม โดยไม่มีการแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่ผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรม อีกทั้งมรดกทางวัฒนธรรมบางประเภทยังเสี่ยงต่อภัยคุกคาม ทั้งนี้ปัจจุบันทั่วโลกได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญานี้แล้ว ๑๖๑ ประเทศ ประเทศอาเซียนได้เข้าเป็นภาคีแล้ว ๘ ประเทศ เหลือประเทศไทยและสิงคโปร์

นายวีระ กล่าวว่า หากประเทศไทยไม่เข้าเป็นภาคีอนุสัญญานี้จะทำให้ไม่มีสิทธิในการประกาศรายการที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในอาณาเขตของประเทศไทยได้ ดังนั้น วธ.เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเสนอความเห็นชอบจาก ครม. และเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา และดำเนินการตามวิธีทางการทูตต่อไป เพื่อให้มีผลผูกพันและเป็นกลไกในการรักษามรดกวัฒนธรรมของประเทศไทยในเวทีระดับโลก อย่างไรก็ตามการเตรียมการเข้าเป็นอนุสัญญาฯนั้น เตรียมจัดตั้งสำนักมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อเป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานในทุกด้าน เพื่อปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และได้จัดทำฐานข้อมูลจัดเก็บข้อมูลมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ ทั้งรูปแบบเอกสารและดิจิตอลและจัดเก็บข้อมูลตามรูปแบบและกระบวนการของยูเนสโก เพื่อเตรียมรองรับการเสนอรายการมรดกวัฒนธรรมเมื่อเข้าเป็นภาคี ที่สำคัญได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒-๒๕๕๗ รวมขณะนี้ ๒๘๖ รายการ ๗ สาขา ได้แก่ ๑.ศิลปะการแสดง ๒.งานช่างฝีมือดั้งเดิม ๓.วรรณกรรมพื้นบ้าน ๔.กีฬาภูมิปัญญาไทย ๕.แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล ๖.ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล และ ๗. ภาษา

รมว.วธ. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุม ครม. ได้อนุมัติหลักการร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. .... เพื่อให้ประเทศไทยมีกฎหมายขึ้นใช้บังคับเป็นการเฉพาะและเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ รวมทั้งเป็นการออกกฎหมายเพื่อรองรับอนุสัญญาฯ ดังกล่าว โดยขั้นตอนต่อไปต้องส่งร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ....ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจพิจารณาและส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จากนั้นถึงจะเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณา อย่างไรก็ตามการขอเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯนั้น สวธ.ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแล้วจำนวน ๖ ครั้ง โดยมีมติส่วนใหญ่เห็นว่าควรเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาโดยด่วน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๓๐ เม.ย. เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๓๐ เม.ย. หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๓๐ เม.ย. YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๓๐ เม.ย. คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๓๐ เม.ย. กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๓๐ เม.ย. PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น