คปก.ยันรธน.ต้องรับรองสิทธิเสรีภาพสื่อ-ห้ามการเมืองครอบงำ ปฏิรูปสื่อต้องโปร่งใส-ตรวจสอบได้ แนะออกกฎหมายรองรับองค์กรวิชาชีพสื่อฯ

พุธ ๐๘ เมษายน ๒๐๑๕ ๑๗:๔๖
คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) โดย นาย คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ลงนามในบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่อง “การแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยคปก.มีความเห็นว่า เรื่องสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนเป็นประเด็นสำคัญที่มีความเชื่อมโยงกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน จึงกล่าวได้ว่าเสรีภาพของสื่อมวลชนคือเสรีภาพของประชาชน คปก.จึงเสนอแนะให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจะต้องคงไว้ซึ่งหลักเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชนเพื่อเป็นการรับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นซึ่งถือเป็นหลักการที่สอดคล้องกับหลักการมีส่วนร่วมในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐและฝ่ายการเมืองผ่านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากการนำเสนอของสื่อมวลชน

นอกจากนี้ คปก.ยืนยันให้คงหลักเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อให้สื่อมวลชนสามารถปฏิบัติภารกิจในการนำเสนอข่าวตามจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพได้โดยไม่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำหรือแทรกแซงภาครัฐ รวมถึงฝ่ายการเมืองหรือเจ้าของกิจการ และรัฐธรรมนูญจะต้องคงไว้ซึ่งหลักการข้อห้ามนักการเมืองเข้าครอบงำกิจการสื่อสารมวลชนโดยการเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการสื่อมวลชนตามที่ปรากฏในมาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยคปก.ยังได้เสนอให้มีกฎหมายรองรับองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน เพื่อเป็นการปกป้องเสรีภาพและความเป็นอิสระของสื่อมวลชน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานแห่งวิชาชีพสื่อ

สำหรับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่เป็นข้อห้ามมิให้กระทำการที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังกันระหว่างคนในชาติหรือศาสนา หรือยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ หรือใช้ความรุนแรงระหว่างกันนั้น จะต้องเป็นการบัญญัติให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกติกาสากลระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองด้วย

ทั้งนี้ ภายใต้สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง คปก.เสนอแนะให้มีการทบทวนกฎหมายที่เป็นการจำกัดเสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน และเห็นควรให้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชน และต้องสร้างกลไลการตรวจสอบองค์กรกำกับดูแลคลื่นความถี่ให้มีความโปร่งใส-ตรวจสอบได้ โดยให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเข้ามาทำหน้าที่ดูแลองค์กรดังกล่าวเป็นการเฉพาะ และจะต้องเปิดเผยรายงานการตรวจสอบดังกล่าวต่อสาธารณะเป็นรายไตรมาส

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง