UWC ลงนามสัญญาใส่เงินลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล พร้อมเดินหน้าศึกษาขยายเฟส 2 ให้ครบ 50 เม็กกะวัตต์

พฤหัส ๐๒ เมษายน ๒๐๑๕ ๑๓:๓๒
UWC ต่อยอดธุรกิจเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเต็มตัว จับมือ ไทยนคร พาราวู้ด ทุ่มงบ 225 ล้านบาท ใช้ “บจ. ออสการ์ เซฟ เดอะเวิลด์” ลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวล 9.9 เม็กกะวัตต์ คาดคืนทุนใน 4 ปี รับรู้รายได้เฟสแรกปี 59 เดินหน้าศึกษาโครงการเฟส 2 ให้ครบ 50 เม็กกะวัตต์

นายวุฒิชัย ลีนะบรรจง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอื้อวิทยา จำกัด (มหาชน) หรือ UWC เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ต่อยอดจากประสบการณ์ธุรกิจด้านเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง เข้าสู่ธุรกิจผลิตไฟฟ้าอย่างเต็มตัว โดยลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลโครงการแรกกับบริษัท ไทยนคร พาราวู้ด จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแปรรูปไม้ยางพารารายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ด้วยการร่วมทุนในบริษัท ออสการ์ เซฟ เดอะ เวิลด์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 225 ล้านบาท โดย UWC มีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ 55 % และ TNP ถือหุ้น 45%

“โครงการแรกที่จะเริ่มดำเนินการก่อสร้าง เป็นโครงการขนาด 9.9 เม็กกะวัตต์ มีสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)แล้ว และการออกแบบโรงงานก็เสร็จสมบูรณ์พร้อมที่จะดำเนินการก่อสร้างได้ภายในเดือนเมษายนนี้ โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 12 เดือน และจะรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้านี้ได้ในครึ่งปีหลังของปี 2559 โครงการดังกล่าวจะมีรายได้ประมาณ 300 ล้านบาท/ปี โดยมี EBITDA ประมาณ 58 % และผลตอบแทน (IRR) ประมาณ 32% คาดว่าจะสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลาประมาณ 4 ปี

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการศึกษาเพิ่มเติมในการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าในเฟส 2 จากความมั่นคงของปริมาณเชื้อเพลิงจากไม้ยางพารา พื้นที่ของโครงการ โลจิสติกส์ รวมทั้งจุดเชื่อมต่อไฟฟ้า เพื่อแผนการขยายโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลอีก 40 เม็กกะวัตต์ หากดำเนินการสำเร็จ จะทำให้มีกำลังการผลิตไฟฟ้าชีวมวลรวมกับโครงการแรกเป็น 50 เม็กกะวัตต์ ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช” นายวุฒิชัย กล่าว

ในส่วนของ บริษัท ไทยนคร พาราวู้ด จำกัด ได้นำความชำนาญในการดำเนินธุรกิจแปรรูปไม้ยางพาราที่มีมาอย่างยาวนาน และศักยภาพในการจัดการไม้ยางพาราในพื้นที่ภาคใต้ ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจกว่า 20 ปี มาเป็นจุดแข็งในด้านวัตถุดิบ เนื่องจากการแปรรูปไม้ยางพารา จะมีปีกไม้และขี้เลื้อยเป็นวัสดุคงเหลือในปริมาณมาก ทำให้โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลจากไม้ยางพารานี้ มีความมั่นคงทางเชื้อเพลิงอย่างมากในระยะยาว โดยในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี มีสวนยางพารามากกว่า 4.5 ล้านไร่ ปริมาณไม้ยางพาราที่ต้องใช้เข้าสู่โรงงานแปรรูป 1 โรง 4,200 ไร่ต่อปี คิดเป็นเพียง 1.2% ของการตัดสวนยางเฉลี่ยที่มีถึง 350,000 ไร่ต่อปี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๔๙ ไอแบงก์ ลงนาม MOU สินเชื่อสวัสดิการแก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำ สำนักงานศาลยุติธรรม กว่า 16,000 คน ทั่วประเทศ
๑๐:๕๔ รวม 4 วิธีที่ช่วยปรับให้รถที่ขับอยู่นุ่มนวลขึ้นเหมือนได้คันใหม่
๑๐:๔๘ ซีพีแรม เปิดตัว FTEC (Food Technology Exchange Center) ศูนย์ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีอาหาร
๑๐:๑๔ iQIYI (อ้ายฉีอี้) เดินหน้ารุกตลาดยกระดับวงการ จัดงาน iQIYI 2025 World Conference เปิดตัวพรีเมียมไลน์อัพกว่า 400
๑๐:๑๓ บล.เกียรตินาคินภัทร แนะ 5 หุ้นนอกคุณภาพ นำโดย Netflix และ Mastercard คว้าโอกาสท่ามกลางตลาดผันผวน
๑๐:๓๖ อบอุ่นมาก! จิม ทอมป์สัน x ซี-นุนิว เสิร์ฟความฟินขั้นสุดกับ Exclusive Lucky Fan Dinner ค่ำคืนสุดพิเศษที่เหล่า ซนซน
๑๐:๕๓ เวียตเจ็ทเสริมฝูงบิน เดินหน้ารุกตลาดญี่ปุ่น ขยายเส้นทางระหว่างประเทศ หนุนแผนเติบโตปี 2568
๑๐:๕๖ เบทาโกร ได้รับการยกระดับ CAC ในระดับสูงสุด ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาล ซื่อสัตย์ และโปร่งใส
๐๙:๓๖ เฮ้าส์ สามย่าน จัดสองเทศกาลภาพยนตร์คุณภาพ กับ MOVIEMOV Italian Film Festival 2025 และ European Union Film Festival
๐๙:๑๑ จากไอดอลสู่หมอผี! ซอฮยอนฟาดหนัก เสิร์ฟความเดือด Holy Night: Demon Hunters คนต่อยผี 8 พ.ค.นี้