ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ปลื้มผลตอบแทนไตรมาส 1 หลายกองทุนติดอันดับท๊อปฟอร์ม iBalanced iProp และ LTF สร้างผลตอบแทนดีอันดับ 1

พุธ ๒๒ เมษายน ๒๐๑๕ ๑๐:๒๔
ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ปลื้มผลตอบแทนไตรมาส 1 หลายกองทุนติดอันดับท๊อปฟอร์มiBalanced iProp และ LTF สร้างผลตอบแทนดีอันดับ 1 มองไตรมาส 2 ตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลกผันผวนแนะกระจายการลงทุน เน้นจัดพอร์ตลงทุนอย่างสมดุล

บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ปลื้มกองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนไตรมาส 1/2558 ที่ดีหลายกองทุน ในขณะที่ iBalanced ผลงานดีเยี่ยมในกลุ่ม Moderate Allocation กองทุน iProp โดดเด่นในกลุ่ม Fund of Property Fund เชื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีมาจากกระบวนการลงทุนที่สม่ำเสมอ มองการลงทุนไตรมาส 2 ต่อเนื่องครึ่งหลังปีสภาพคล่องการเงินล้นจากมาตรการคิวอี เศรษฐกิจเติบโตได้ดีอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่การลงทุนยังมีความผันผวนสูง แนะจัดพอร์ตลงทุนอย่างสมดุล

นายจุมพล สายมาลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด เปิดเผยว่า ผลการบริหารกองทุนของ บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ในไตรมาส 1/2558 สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับลูกค้าของเรา โดยเฉพาะกองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล บาลานซ์ อินคัม (CIMB-Principal iBalanced) มีผลงานดีเยี่ยมอยู่ในอันดับที่หนึ่งของกลุ่ม Moderate Allocation ผลตอบแทนนับตั้งแต่ต้นปี-31 มีนาคม 2558 อยู่ที่ 4.89% จุดเด่นเฉพาะของการบริหารของกองทุนนี้คือ การ Rebalancing ปรับสัดส่วนการลงทุนในแต่ละช่วงเวลาระหว่างสองสินทรัพย์หลักคือหุ้นและตราสารหนี้อย่างสมดุลในกองทุนเดียวกัน กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล พร็อพเพอร์ตี้ อินคัม (CIMB-Principal iPROP) ลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ REITs ผลตอบแทนอยู่ที่ 4.32% มีผลงานดีเยี่ยมอยู่ในอันดับที่หนึ่งของกลุ่ม Fund of Property Fund ส่วนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ก็สามารถสร้างผลตอบแทนอันดับหนึ่งของกลุ่ม LTF เช่นกัน โดยกองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ไลฟ์ หุ้นระยะยาว (CIMB-Principal LTF) ผลการดำเนินงานอยู่ที่ 6.56%

ส่วนกองทุนอื่นๆ เราก็สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับลูกค้าของเราเช่นกัน เช่น กองทุนลงทุนในหุ้นญี่ปุ่น กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล เจแปนนิส อิควิตี้ ฟันด์ (CIMB-Principal JEQ) ผลตอบแทนอยู่ที่ 9.17%, กองทุนลงทุนในหุ้นเอเชีย แปซิฟิค ยกเว้นญี่ปุ่น กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล เอเชีย แปซิฟิก ไดนามิก อินคัม อิควิตี้ ฟันด์ (CIMB-Principal APDI) ผลตอบแทนอยู่ที่ 2.12%, กองทุนเน้นลงทุนหุ้นขนาดเล็กทั่วโลก กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล โกลบอล สมอล แค็พ อิควิตี้ ฟันด์ (CIMB-Principal GSCEQ) ได้ 3.87% และกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ผลตอบแทนสูง กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ยูโร ไฮ ยิลด์ (CIMB-Principal EUHY) ผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลังที่ 3.93% ต่อปี การที่เราสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะที่ผ่านมา มาจากกระบวนการลงทุนที่มีประสิทธิภาพจาก Principal Financial Group ที่ CIMB-Principal นำมาประยุกต์ใช้อย่างเต็มรูปแบบ “การมีกระบวนการลงทุนที่ดี และความคงเส้นคงวาของทีมผู้จัดการลงทุนในการดำเนินตามกระบวนการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เป็นกุญแจสำคัญต่อผลประกอบการที่ดีในระยะยาว” นายจุมพลกล่าว

สำหรับมุมมองการลงทุนช่วงไตรมาส 2/2558 ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ให้มุมมองว่า “เรามองว่าการภาพรวมเศรษฐกิจโลกนับจากนี้มีแนวโน้มทิศทางที่ดีขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป จากปัจจัยเชิงบวกของมาตรการเชิงผ่อนคลายหรือ QE ของภูมิภาคยุโรปและญี่ปุ่นซึ่งหากนับรวมปริมาณเงินอยู่ที่ประมาณ 130,000 ล้านเหรียญฯ ต่อเดือนถือว่ามีปริมาณที่มากกว่าในช่วงที่สหรัฐฯ ใช้มาตรการ QE ที่ประมาณ 85,000 ล้านเหรียญฯต่อเดือน และยังไม่รวมถึงประเทศจีนที่มีมาตรการ Mini QE เข้ามาสนับสนุน ทำให้ตลาดการเงินและลงทุนมีสภาพคล่องในปริมาณมาก

ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกามีการแสดงการฟื้นตัวอย่างชัดเจนจากตัวเลขการจ้างงาน รายได้ของประชาชน และตัวเลขทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่มีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น โดย IMF ได้รับตัวเลขคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเติบโตขึ้นเป็น 3.5% เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ครั้งที่แล้ว 0.5% ซึ่งการฟื้นตัวของสหรัฐฯ นี้เอื้อประโยชน์โดยตรงต่อภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค ในด้านการค้าและการลงทุน การส่งออกจะมีทิศทางที่ดีขึ้นอย่างสอดคล้องกัน

นายจุมพลกล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับปัจจัยที่นักลงทุนควรติดตามซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจการลงทุนในช่วงที่เหลือของปีนี้นั้น ได้แก่ การพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐซึ่งคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังเป็นอย่างเร็ว และหากตลาดการจ้างงานปรับตัวดีขึ้นทำให้เงินเฟ้อขยับเข้าสู่เป้าหมายระยะยาวที่ 2% และหากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ มีโอกาสอย่างมากที่จะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐปรับนโยบายการเงินเข้าสู่ระดับปกติอย่างระมัดระวัง ซึ่งจะส่งผลทำให้มีความผันผวนในตลาดเงินและตลาดหุ้นมากยิ่งขึ้น

ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ยังอยู่ในภาวการณ์ฟื้นตัวช้าๆ หลังธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับลดคาดการณ์ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจเหลือ 3.8% จาก 4.0% และได้ปรับลดอัตราเงินเฟ้อเหลือ 0.2% จากเดิม 1.2% เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะราคาน้ำมันและพืชผลทางการเกษตรได้ปรับลดลงมาอย่างมาก รวมถึงความเสี่ยงว่าเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้ามีผลทำให้มูลค่าการส่งออก การใช้จ่ายภาครัฐมีความล่าช้า ภาคเอกชนมีความระมัดระวังในการลงทุนและสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังมีความอ่อนแอ จึงคาดว่า กนง.มีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% จากเดิม 1.75% ในปีนี้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

ขณะที่ภาวะโดยรวมของตลาดหุ้นไทยยังมีทิศทางที่ดีจากปัจจัยสนับสนุนด้าน QE ทั้งจากยุโรปและญี่ปุ่น แต่อย่างไรก็ตาม มีการคาดหมายมีโอกาสที่กำไรสุทธิของตลาดหุ้นไทยสำหรับปี 2558 อาจถูกปรับลดประมาณการลงหลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจไทยออกมาไม่ดีมากนัก แต่ถึงกระนั่นก็ตาม EPS growth ของตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าประเทศอื่นๆ โดยการปรับตัวขึ้นของ EPS growth ในปีนี้ส่วนหนึ่งมาจากการปรับลดลงของ EPS ตลาดหุ้นไทยในปี 2557 จากการถูกกดดันจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงอย่างมากในช่วงปลายปี 2557

จากมุมมองและทิศทางการลงทุนไตรมาส 2/2558 รวมถึงตลาดยังคงมีปัจจัยความไม่แน่นอนสูงนับต่อจากนี้ ทำให้เรามองว่าบรรยากาศการลงทุนในไตรมาส 2 จึงมีความคล้ายกับไตรมาส 1 ที่ผ่านมา คือตลาดมีความผันผวนเป็นระยะ โดยกลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้นักลงทุนต้องพิจารณาเลือกลงทุนในกองทุนที่เน้นการจัดพอร์ตสมดุลแบบ Balanced Fund หรือการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์เหมาะสม Multi-Asset Strategy ในแต่ละขณะการลงทุน อย่างไรก็ตามนักลงทุนสามารถที่จะเลือกลงทุนในบางกลุ่มประเทศที่มีการเติบโตอย่างโดดเด่น เช่น กลุ่มประเทศที่อยู่ในธีมปฏิรูปเชิงนโยบาย (Reform) เช่น จีน อินเดียและอินโดนีเซีย รวมถึงอานิสงส์จากสภาพคล่องของเงินลงทุนจากมาตรการ QE ของทั้งยุโรปและญี่ปุ่น ซึ่งภูมิภาคที่ได้รับประโยชน์ได้อย่างเต็มที่คือ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ไม่สูงมากนัก อาจจะเลือกพิจารณาลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงในภูมิภาคยุโรป เช่น กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ยูโร ไฮ ยิลด์ (CIMB-Principal EUHY) เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกจากมาตรการ QE ของยุโรปที่ยังคงนโยบายอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2558 ส่วนสินทรัพย์ที่เป็นทางเลือกการลงทุนนั้น อาจพิจารณาเลือกกองทุนที่ลงทุนในกอง REITs ซึ่งลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยคาดผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไปซึ่งอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องและมีความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้นเพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ

คุณจุมพล กล่าวโดยสรุปว่า “ภาพเศรษฐกิจโลกโดยรวมเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไปแต่ก็นับว่าอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น สภาพคล่องในระบบมีปริมาณสูง อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำและทรงตัว ในขณะที่มีปัจจัยเชิงลบจากราคาน้ำมัน การคาดการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ทำให้ตลาดการลงทุนมีความผันผวนเป็นระยะ ดังนั้นทางเลือกการลงทุนที่สามารถปรับสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมภายใต้การลงทุนในแต่ละขณะจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนในปีนี้”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง