พม. ย้ำร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ. .... ช่วยตัดวงจรการเข้าสู่ขบวนการค้ามนุษย์

ศุกร์ ๒๔ เมษายน ๒๐๑๕ ๑๓:๒๔
วันนี้ (๒๓ เม.ย. ๕๘) เวลา ๑๐.๓๐ น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นายอนุสันต์ เทียนทอง ผู้ตรวจราชการและโฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาขอทาน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่ปัญหาการค้ามนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ในฐานะหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม จึงร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ดำเนินการจัดระเบียบขอทานทั่วประเทศ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เด็ก ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ฯลฯ ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ ซึ่ง การดำเนินการเป็นไปในลักษณะของการคุ้มครองช่วยเหลือคนขอทาน ตามนโยบาย ๓P ได้แก่

๑) Policyการกำหนดและวางแผนนโยบายอย่างต่อเนื่อง

๒) Protection การคุ้มครองและช่วยเหลือคนขอทานอย่าง ครบวงจร

๓) Prevention การป้องกันปัญหาขอทานเพื่อไม่ให้กลับมาขอทานซ้ำอีก

ทั้งนี้ ได้จัดทำบันทึก ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ ได้แก่ กระทรวงแรงงาน กรมการจัดหางาน สำนักการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงวัฒนธรรม องค์กรภาคเอกชน และองค์กรด้านศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้จัดทำร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ. .... เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการขอทานเห็นผลเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน

นายอนุสันต์ กล่าวว่า สำหรับร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๘ โดยมีสาระสำคัญดังนี้

๑) ห้าม ไม่ให้ขอทาน และมีการกำหนดโทษผู้กระทำการขอทาน (จำคุก ๑ เดือน ปรับ ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

๒) กำหนดให้การเล่นดนตรีหรือการแสดงความสามารถในที่สาธารณะ ไม่ถือเป็นการขอทาน แต่ต้องแจ้งต่อพนักงานท้องถิ่น หากไม่แจ้งหรือไม่ทำตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกำหนด (ปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท)

๓) ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขอทาน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธาน กรรมการ ๑๐ คน และผู้ทรงคุณวุฒิ ๗ คน

๔) มีบทลงโทษกับผู้ที่มีการบังคับ ขู่เข็ญ ฯลฯ ให้ผู้อื่นมาขอทาน หรือมาเป็นประโยชน์ในการขอทานของตน (จำคุก ๓ ปี ปรับ ๓๐,๐๐๐ บาท)

“อย่างไรก็ตาม ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ. .... จะทำให้การแก้ไขปัญหาขอทานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกฎหมายดังกล่าวไม่ประสงค์ที่จะการปราบปรามขอทาน แต่จะเป็นกลไกช่วยเหลือขอทานไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ ซึ่งขอทานที่กระทำผิดจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการฝึกอาชีพที่สามารถเลี้ยงดูตนเองได้เพื่อไม่ให้กลับมาขอทานซ้ำอีก ทั้งนี้ รัฐบาลมีความมุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาสเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมอย่างยั่งยืน” นายอนุสันต์ กล่าวท้าย.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน