ประชุมสัมมนาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตการตลาดข้าวหอมมะลิ และขับเคลื่อนแผนพัฒนาเกษตรกรรมของ จ.อุบลราชธานี หวังพัฒนาและสร้างระบบการผลิตข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด

พฤหัส ๐๔ มิถุนายน ๒๐๑๕ ๑๒:๒๘
นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดการประชุมสัมมนา เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตการตลาดข้าวหอมมะลิอุบลราชธานี และการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเกษตรกรรมจังหวัดอุบลราชธานี ณ หอประชุมศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดอุบลราชธานี ว่า ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เพราะเป็นทั้งอาหารของคนไทย และเป็นพืชส่งออกที่สำคัญ ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ทำนาประมาณ 70 ล้านไร่ แบ่งเป็น นาปีประมาณ 60 ล้านไร่ และนาปรังประมาณ 10 – 12 ล้านไร่ ผลผลิตประมาณ 32 ล้านตัน โดยประเทศไทยส่งข้าวออกเป็นอันดับ 1 ของโลก เคียงคู่กับประเทศอินเดียและเวียดนามมาตลอด ถึงแม้ว่า 2 -3 ปีที่ผ่านมา เราจะเสียแชมป์ไป แต่เมื่อเข้าสู่ภาวะปกติแล้วประเทศไทยยังเป็นผู้นำการค้าข้าวของโลก

นางพรรณพิมล กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันชาวนาไทยมีประมาณ 3 – 4 ล้านครัวเรือน ส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน โดยเฉพาะชาวนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่ทำนาโดยอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติ แต่ละปีประสบปัญหาต่าง ๆ อาทิ ฝนแล้ง น้ำท่วม ศัตรูระบาด ปัจจัยการผลิตมีราคาสูง และราคาข้าวตกต่ำ ทำให้เกิดปัญหาอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เร่งรัดหามาตรการต่าง ๆ ให้การช่วยเหลือเกษตรกร โดยเฉพาะการลดต้นการผลิต การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ รวมทั้งใช้กลไกสหกรณ์ในการขับเคลื่อนราคาข้าวให้สูงขึ้น

“การประชุมสัมมนาในครั้งนี้ นอกจากเป็นโอกาสดีที่จะจะได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และเสนอแนวทางที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตข้าว โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวคุณภาพดีระดับต้น ๆของโลก ซึ่งต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีน ฮ่องกง และไต้หวัน เป็นที่ชื่นชอบมาก ซึ่งการที่จะทำให้ข้าวหอมมะลิเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ จำเป็นต้องทำให้ชาวนามีความรู้ ความเข้าใจ ในกระบวนการผลิตข้าวที่ถูกต้อง ได้มาตรฐาน มีแหล่งรองรับคุณภาพ ดังนั้น จึงขอให้ระดมสรรพกำลังเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่แนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การผลิตข้าวหอมมะลิของประเทศไทยเป็นที่ต้องการของตลาดต่อไป” นางพรรณพิมล กล่าว

อนึ่ง เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนพัฒนาเกษตรกรรมของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ สำนักงานสภาเกษตรจังหวัดอุบลราชธานีจึงได้จัดการประชุมสัมมนาดังกล่าวขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกและค้นหาประเด็นที่สำคัญ ที่มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการข้าวหอมมะลิของเกษตรกร เพื่อพัฒนาและสร้างระบบการผลิตข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพปลอดภัย ได้มาตรฐาน ตามความต้องการของตลาด นอกจากนั้น เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เกษตรกรสามารถผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพ (GAP) และข้าวอินทรีย์ โดยได้รับการรับรองที่ถูกต้อง รวมทั้งเพื่อสร้างเครือข่ายและรวมกลุ่มผู้ผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพ (GAP) และข้าวอินทรีย์ เพื่อการแปรรูป และสร้างมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนเพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนาเกษตรกรรมจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งกำหนดให้ “ข้าวหอมมะลิ” เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยกำหนดหัวข้อสำคัญ ในการสัมมนา ประกอบด้วย นโยบายและแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถานการณ์การผลิตข้าวจังหวัดอุบลราชธานี การผลิตข้าวคุณภาพ (GAP) การผลิตข้าวอินทรีย์ การแปรรูปและการการตลาด และการเสวนา การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดข้าวหอมมะลิคุณภาพ สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดอุบลราชธานี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๓๐ เม.ย. เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๓๐ เม.ย. หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๓๐ เม.ย. YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๓๐ เม.ย. คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๓๐ เม.ย. กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๓๐ เม.ย. PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น