กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เร่งเครื่องผลิต CIO รับเศรษฐกิจดิจิทัล เพิ่มจำนวนผู้บริหารภาครัฐรองรับแผนงานก้าวกระโดด

อังคาร ๐๒ มิถุนายน ๒๐๑๕ ๑๗:๕๖
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เร่งเครื่องผลิต CIO รับเศรษฐกิจดิจิทัล เพิ่มจำนวนผู้บริหารภาครัฐรองรับแผนงานก้าวกระโดด เผยผลวิจัย CIO26 ชี้ การพัฒนาไอทีภาครัฐต้องบริการประชาชน โดยประชาชน พร้อมแนะแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืน

นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่ากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า รัฐบาลได้กำหนดนโยบายให้มีการส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัล และวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นภารกิจสำคัญมากของหน่วยงานภาครัฐที่ต้องการความร่วมมือกันอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง อาทิ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล การสร้างความมั่นคงปลอดภัย และความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการให้บริการ การส่งเสริมและสนับสนุนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ ดิจิทัลเพื่อสังคมและทรัพยากรความรู้ เป็นต้น สำหรับหลักสูตรผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ในครั้งนี้ จะเห็นได้ว่าเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ตามนโยบายของรัฐบาล ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทักษะความรู้กับวิทยากรผู้ทรงวุฒิ และผู้เข้าอบรมด้วยกัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการสร้างเครือข่ายในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ อีกทั้งยังได้แลกเปลี่ยนความรู้กับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนชั้นนำ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันให้การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยมีความก้าวหน้าต่อไป

นางคนึงนิจ คชศิลา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า จากการที่รัฐบาลได้นำนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลมาเป็นแผนเร่งรัดการพัฒนาประเทศ ทำให้ต้องเร่งสร้างบุคลากรระดับบริหารในหน่วยงานภาครัฐให้เข้าใจในเรื่องนี้และต้องเพิ่มทั้งจำนวนและคุณภาพโดยเร่งด่วน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน) จึงได้จัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (Chief Information Officer : CIO) รุ่นที่ 26 เพื่ออบรมหลักสูตรในด้านต่างๆ อาทิ ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันและอนาคต การออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กรและกระบวนการทำงานร่วมกัน การบริหารจัดการเทคโนโลยีในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล มาตราฐานการบริหารจัดการ การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการประชาชน รวมทั้งศึกษาดูงานหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้ การจัดงานมอบประกาศนียบัตรในครั้งนี้ เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้บริหารซึ่งสำเร็จหลักสูตรขึ้นในโอกาสนี้ เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ร่วมกัน

นอกจากนี้ ตามนโยบายของรัฐบาล ในส่วนของนโยบายในการสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลได้กำหนดนโยบายให้มีการส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัล และวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศอย่างจริงจัง ซึ่งจะทำให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันโลกและสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้ ทั้งด้านการผลิต และการค้าผลิตภัณฑ์ดิจิทัลโดยตรง และการใช้ดิจิทัลให้รองรับการให้บริการของภาคธุรกิจการเงินและธุรกิจบริการอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคสื่อสาร และบันเทิง ตลอดจนการใช้ดิจิทัลรองรับการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ต่อไป

จากการดำเนินการจัดหลักสูตรผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง รุ่นที่ 26 ระหว่างวันที่ 5 มีนาคม 2558 – 28 พฤษภาคม 2558 ในครั้งนี้ มีผู้บริหารเทคโนโลยีระดับสูง หรือ CIO ภาครัฐ จำนวน 44 หน่วยงานเข้าร่วมอบรม จัดให้มีการระดมสมองและนำเสนอกรอบแนวคิดการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐในการ “บริการเพื่อประชาชน...โดยประชาชน” หรือ Citizen-Driven Service Framework ซึ่งถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของภาครัฐในการที่จะขับเคลื่อนนโยบายการให้บริการสู่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ให้กับประเทศและประชาชนในระยะยาว

กรอบแนวคิด Citizen-Driven Design Framework คือการที่หน่วยงานภาครัฐต้องการที่จะออกแบบบริการใดๆให้ประชาชนต้องเริ่มต้นจากการวางแผนด้านเทคโนโลยีของภาครัฐ (Government Service System) ใน 4 มิติ ภายใต้กรอบแนวโน้มเทคโนโลยี และความพอดีพอประมาณ ประกอบด้วย โครงสร้างพื้นทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Infrastructure), การบูรณาการข้อมูลภาครัฐ (Data Integration), การให้บริการประชาชน (Service) และเครื่องมือการให้บริการประชาชน (Software Applica tion)

อย่างไรก็ตามภาครัฐจะต้องคำนึงถึงแนวโน้มเทคโนโลยีที่สำคัญในปัจจุบัน (Tech Trend: Top 4+1) คือ Social ,Mobility, Cloud และ Big Data รวมถึงเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Security) เพื่อที่จะได้กำหนดมาตรการและมาตรฐานในการใช้ทรัพยากรและข้อมูลร่วมกัน โดยจะต้องยึดหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ ในส่วนโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องคำนึงถึงระดับความสำคัญในการรองรับข้อมูลในการให้บริการประชาชนหรือข้อมูลการดำเนินงาน หากเป็นส่วนที่สำคัญและถือเป็น Core Business ของหน่วยงานก็ให้คำนึงถึงการลงทุนในด้าน Data Center แต่หากเป็นส่วนที่ไม่ใช่ Core Business ก็อาจจะมีการใช้บริการ Cloud ของหน่วยงานที่ให้บริการทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงมีการกำหนดมาตรฐานในส่วนของการใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Share Resource) เพื่อให้การใช้งบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด หรือในส่วนของการบูรณากรข้อมูลภาครัฐ ควรมีการกำหนดมาตรฐานและรูปแบบข้อมูล เพื่อให้สามารถบูรณาการข้อมูลของหน่วยงานที่ดำเนินการใกล้เคียงกันหรือเกี่ยวเนื่องกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

โดยวางแผนในส่วน Government Service System แล้ว ก็ต้องมีการปรับปรุงทั้ง 4 มิติให้ทันสมัย (Modernization) ทั้งในส่วน Infrastructure, Software, และ Data รวมถึงมีการปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Business Process) ให้ทันสมัย โดยการปรับปรุงให้ทันสมัย ไม่ได้หมายถึงการลงทุนเพิ่ม แต่หมายถึงการพิจารณาของเดิมที่มีอยู่และปรับปรุงก่อนจะมีการคำนึงถึงการลงทุนเพิ่มเติม

ภายหลังการวางแผนและ Modernization แล้ว การออกแบบการบริการใดๆสู่ประชาชนของภาครัฐ ตามกรอบแนวคิดฯดังกล่าว ต้องเป็นการดำเนินการร่วมกันระว่างภาครัฐและภาคประชาชน คือ ภาครัฐต้องมีแผนในการจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management) การบริหารจัดการประชาชน (Citizen Management) และการบริการด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security Management) โดยที่ประชาชน ต้องเข้ามามีส่วนร่วม ผ่านช่องทางหรือเทคโนโลยีต่างๆที่เอื้ออำนวยในปัจจุบัน อาทิ Social และ Mobility ซึ่งจะทำให้ภาครัฐได้รับข้อมูล (Code Data) และสามารถนำเทคโนโลยียุคใหม่มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูล (Decode Data) เพื่อที่จะออกแบบบริการที่เป็นนวัตกรรม โดยประชาชน เพื่อประชาชน ได้อย่างแท้จริง ซึ่งที่ผ่านมาอาจทำได้ยากเนื่องจากเทคโนโลยีไม่เอื้ออำนวย แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันกรอบแนวคิดฯดังกล่าวเป็นประโยชน์และสามารถผลักดันให้เกิดการนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง เพื่อให้ทิศทางการขับเคลื่อนประเทศเป็นไปมีแบบแผนและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

โดย CIO รุ่นที่ 26 ได้เสนอบทสรุปข้อเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อให้เกิดความมั่นคงในการบริหารราชการแผ่นดิน เกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างยั่งยืน และส่งผลให้เกิดความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ โดยนำเสนอการพัฒนาใน 3 มิติ คือ ในด้านบุคลากร จะต้องส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน ให้มีความรู้ที่ร่วมสมัย มีศักยภาพ,คุณภาพ,เอกภาพ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ส่วนด้านการบริหารจัดการ ต้องมีการการจัดการกฎระเบียบ ข้อบังคับที่เหมาะสมและครอบคลุม, ส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง, ส่งเสริมสนับสนุนนวัตกรรม ICT และป้องกัน ควบคุม กำกับ ดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยทาง ICT อย่างใกล้ชิด สำหรับด้านงบประมาณ ต้องมีการสนับสนุนงบประมาณเฉพาะ ต้องสร้างและพัฒนารูปแบบการส่งทุนทุกภาคส่วน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่::

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

ส่วนการตลาดและการสื่อสาร

นายธรรณพ ศิริธรรมวิไล

โทรศัพท์ 0 2612 6000 ต่อ 3403

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๓๘ Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง