ระบบพัฒนาสมองทารกของสไมล์ลาเบิลผนวกความรู้ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยชั้นนำ มุ่งช่วยพ่อแม่มือใหม่

ศุกร์ ๓๑ กรกฎาคม ๒๐๑๕ ๐๘:๑๑
-- นักวิทยาศาสตร์อาวุโส และผู้เชี่ยวชาญต่างๆ จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด มหาวิทยาลัย UCLA มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์ ร่วมเป็นคณะที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของบริษัทผู้บุกเบิกระบบช่วยเหลือผู้ปกครอง เพื่อช่วยพัฒนาการด้านสมอง และคุณภาพชีวิตที่ดีของทารก

บริษัทสไมล์ลาเบิล เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการสมอง ประสาทวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และนวัตกรรมทางธุรกิจชั้นนำระดับโลกทั้ง 7 คน ได้ตกลงที่จะร่วมงานกับคณะที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของบริษัทสไมล์ลาเบิลเรียบร้อยแล้ว ด้วยการนำเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยที่สุด ผนวกกับความเชี่ยวชาญด้านวิชาการพัฒนาการสมองของทารก และวิธีการเลี้ยงดูเด็กในปัจจุบัน ส่งผลให้บรรดาพ่อแม่ของเด็กๆสามารถพัฒนาสมองของทารกที่อาจกำลังหิวโหยอยู่ ในช่วงเวลาสำคัญ 24 เดือนภายหลังแรกเกิด

โลโก้ - http://photos.prnewswire.com/prnh/20150204/173396LOGO

สมาชิกของคณะที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของสไมล์ลาเบิลประกอบด้วย:

ดร. ชาร์ลส์ เอ เนลสัน ที่ 3 ศาสตราจารย์ด้านกุมารเวชศาสตร์และประสาทวิทยาแห่งสถาบันการแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด และศาสตราจารย์ด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ทั้งนี้ ดร.เนลสันยังดำรงตำแหน่งเป็นประธาน ริชาร์ด เดวิด สก็อต แห่งศูนย์วิจัยยาเพื่อการพัฒนาด้านกุมารเวชศาสตร์ของโรงพยาบาลเด็ก บอสตัน อีกทั้งยังเป็นผู้อำนวยการวิจัยฝ่ายพัฒนาด้านยาในโรงพยาบาลดังกล่าวอีกด้วย

ดร. เฟย ซู ศาสตรจารย์ด้านจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ดร.ซู เป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการด้านการเรียนรู้ในช่วงแรกเริ่ม ประจำเบิร์กลีย์ งานวิจัยของเธอเน้นไปที่การพัฒนาด้านการรับรู้และด้านภาษาในช่วงแรกเริ่ม ที่ผ่านมา ดร. ซู พร้อมด้วยทีมนักศึกษาได้พยายามค้นคว้ากลไกการเรียนรู้ในระยะแรก อีกทั้งยังมีความสนใจในการศึกษาว่า เหตุใด ทารกและเด็กในวัยเยาว์สามารถทำความเข้าใจในวงกว้างๆ ได้ โดยศึกษาเฉพาะจุด เช่น การให้เหตุผลทางกายภาพ การเรียนรู้ทางสังคม และการเรียนรู้คำ

ดร. สก็อต จอห์นสัน ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาและวิทยาศาสตร์ด้านจิตเวชและพฤติกรรมแห่งมหาวิทยาลัย UCLA ดร.จอห์นสันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการด้านการวิจัยประจำห้องปฏิบัติการด้านทารกของ UCLA รายงานวิจัยของเขาเน้นถึงจุดกำเนิดและการพัฒนาของประสาทสัมผัสและการรับรู้ในมนุษย์ โดยเน้นไปที่ด้านการให้ความสนใจ การรับรู้คำพูด การรับรู้สีหน้า การรับรู้สิ่งของ กลไกการเรียนรู้ พัฒนาการด้านสมอง และความบกพร่องด้านพัฒนาการ

ดร. อับบาส เอล กามัล หัวหน้าภาควิศวกรรมไฟฟ้าแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ดร. เอล กามัล คือสมาชิกคนล่าสุดที่ร่วมมือกับคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เขามีผลงานวิจัยที่ประสบความสำเร็จมากมายหลายสาขา ตั้งแต่ด้านทฤษฎีข้อมูลเครือข่ายไปจนถึงด้านเครื่องมือและระบบการถ่ายภาพดิจิตัล อีกทั้งยังมีบทบาทริเริ่มที่สำคัญต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จให้กับบริษัทต่างๆในย่าน ซิลิคอน วัลเลย์ รวมถึงดำรงตำแหน่งควบเป็นสมาชิกในคณะกรรมการบริหาร และคณะที่ปรึกษาให้กับบริษัทผู้ผลิตคอนดักเตอร์ และบริษัทสตาร์ทอัพด้านไบโอเทคต่างๆ

ดร.คริสโตเฟอร์ พิสเตอร์ ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ดร.พิสเตอร์เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นซีทีโอของบริษัท ดัสต์ เน็ตเวิร์กส์ และเป็นที่กล่าวขานในด้านผลงานวิชาการเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าเครื่องกลจุลภาคและแบบจำลองของระบบดังกล่าว เขาเป็นผู้คิดค้นสมาร์ท ดัสต์ และถูกขนานนามว่าเป็นนักวิจัยผู้มีวิสัยทัศน์ในด้านเครือข่ายเซ็นเซอร์แบบไร้สาย

ดร.ทาเรค แอล โซดี ประธานโครงการวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และข้อมูล และวิศวกรรมของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ และยังเป็นศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเครื่องกลรวมทั้งศาสตราจารย์แห่งสำนักอธิการบดีของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ นอกจากนี้ เขายังเป็นนักวิทยาศาสตร์ประจำห้องทดลองลอวเรนซ์ เบิร์กลีย์ รวมทั้งนักวิทยาศาสตร์ของสถาบันวิจัยแห่งโรงพยาบาลเด็กโอ๊คแลนด์ ที่ผ่านมา เขายังรับตำแหน่งประธานของสมาคมเครื่องกลคอมพิวเตอร์แห่งสหรัฐอเมริกา

ดร.ราจิฟ ลัล ศาสตราจารย์อาวุโสแห่งสถาบันศึกษาด้านการค้าปลีกแห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ดร.ลัลเป็นผู้รับผิดชอบด้านหลักสูตรการค้าปลีกแห่งฮาวาร์ด บิสิเนส สคูล อีกทั้งยังดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าประจำวิชาการตลาด ซึ่งเป็นวิชาบังคับสำหรับหลักสูตรปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ เขามักจะสอนวิชาการคิด และนวัตกรรมการออกแบบ ในหลักสูตรปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ นอกจากนี้ดร.ลัลยังเป็นผู้สอนในหลักสูตรการศึกษาสำหรับผู้บริหารอีกหลายหลักสูตร และได้ดำรงตำแหน่งประธานคณะในหลักสูตรการจัดการทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นประธานร่วมในหลักสูตรการสร้าง และการบริหารองค์กรที่เน้นลูกค้าเป็นหลัก

บริษัทสไมล์ลาเบิล ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองเบิร์กลีย์ แคลิฟอร์เนีย (www.smilables.com) เป็นผู้ผลิตระบบครบวงจร ซึ่งประกอบด้วยกำไลข้อเท้าอัจฉริยะสำหรับเด็กซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับโทรศัพท์สมาร์ทโฟน เพื่อให้พ่อแม่มีปฏิสัมพันธ์กับทารกได้ ระบบของสไมล์ลาเบิลนี้จะทำการจัดเตรียมบทเรียน และการสร้างปฏิสัมพันธ์ประจำวันให้กับพ่อแม่ในการพัฒนาสมองทารกซึ่งจะมีการสร้างจุดเชื่อมโยงเส้นประสาทในอัตราล้านจุดภายใน 1 วินาที ทั้งนี้ กลไลการตอบรับแบบประยุกต์ดังกล่าวจะสามารถทำให้พ่อแม่ของเด็กสามารถมองเห็นพัฒนาการของทารกในทุกๆ สัปดาห์

"การช่วยเหลือทารกและพ่อแม่ทั่วโลกให้ได้รับผลประโยชน์จากความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ที่ฝังลึกอยู่ในระบบของเรา ถือเป็นสิ่งที่พวกเราทุ่มเทให้กับเพื่อนมนุษย์อย่างแท้จริง" ดร. เอ เค แพรดีพ ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารของบริษัทสไมล์ลาเบิลกล่าว "เรารู้สึกโชคดีเป็นอย่างยิ่งที่มีทีมมันสมองด้านวิทยาศาสตร์ระดับชั้นนำของโลกมาร่วมเป็นคณะที่ปรึกษาของบริษัทเรา ในขณะที่เรากำลังขับเคลื่อนไปสู่การเปิดตัวระบบดังกล่าวสู่สากลในปีนี้"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๗ เม.ย. อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud