จุดเด่นของ ‘เชียงราย’ ในการเดินหน้าสู่ต้นแบบจังหวัดอาหารปลอดภัย คือ...การมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง

พฤหัส ๐๖ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๕:๐๖
(วันที่ 6 สิงหาคม 2558) นายแพทย์สุริยะ วงศ์คงคาเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานการสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาต้นแบบบูรณาการระบบบริหารจัดการความปลอดภัยอาหารระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2558 ของจังหวัดเชียงราย ซึ่งจัดขึ้นที่ โรงแรมเวียงอินทร์ จังหวัดเชียงราย ว่า ความปลอดภัยด้านอาหาร ได้ถูกยกขึ้นเป็นประเด็นสำคัญในการพัฒนาประเทศ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ทั้งในระดับชุมชน ท้องถิ่น และระดับประเทศ จังหวัดเชียงรายนับเป็นจังหวัดแรกของภาคเหนือ แต่เป็นแห่งที่ 4 ของประเทศในการดำเนินโครงการดังกล่าว ซึ่งได้มุ่งเน้นการพัฒนาความปลอดภัยด้านอาหารที่ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อาหาร โดยการบูรณาการการทำงานร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ องค์กรท้องถิ่น ผู้ประกอบการ กลุ่มเกษตรกร องค์กรเอกชน สถาบันการศึกษา และผู้บริโภค ซึ่งได้ร่วมกันสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการผลิต และการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ภายใต้โครงการบูรณาการอาหารปลอดภัย เชียงรายเป็นสุข (Food Safety Chiang Rai Model) ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ นำมาสู่นโยบายระดับจังหวัด เมืองเกษตรสีเขียวและอาหารปลอดภัย (Food Safety City)

"ในปี พ.ศ. 2558 นี้ รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายที่จะยกระดับคุณภาพด้านบริการสาธารณสุขและสุขภาพประชาชน เน้นการจัดระบบบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยเฉพาะระบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยมีมติเร่งรัดการดำเนินงานในเรื่องโภชนาการและอาหารปลอดภัยใน 6 ประเด็นคือ 1.น้ำดื่มและน้ำแข็ง 2.นมโรงเรียน 3.ผักและผลไม้ 4.เนื้อหมูและไก่ 5.เกลือไอโอดีน และ 6.การควบคุมสถานประกอบการค้าอาหาร" นายแพทย์สุริยะกล่าวในตอนท้าย

นายธนชีพ พีระธรณิศร์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย (สสอป.) กล่าวว่า ในฐานะที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุขให้ทำการประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อรองรับระบบงานอาหารปลอดภัยของจังหวัดเชียงราย พบว่าจุดเด่นที่เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้จังหวัดเชียงรายสามารถเดินหน้าสู่การเป็นจังหวัดต้นแบบอาหารปลอดภัยได้คือการมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง แต่อย่างไรก็ตามจังหวัดเชียงรายยังต้องเร่งพัฒนางานในเชิงระบบคุณภาพในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ให้มีทีมเฉพาะงานด้านอาหารปลอดภัย ในการทำงานเชิงบูรณาการและเป็นระบบมากขึ้น เพื่อขับเคลื่อนเชียงรายสู่การเป็นจังหวัดต้นแบบอาหารปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ สสอป. จะให้การสนับสนุนให้จังหวัดเชียงรายได้รับการพัฒนาตามแนวทางการจัดการคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ให้เป็นไปตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulation : IHR, 2005) โดยจะสนับสนุนการสร้างระบบและโครงสร้างการขับเคลื่อนอาหารปลอดภัย สร้างมาตรฐานคุณภาพการขับเคลื่อนอาหารปลอดภัยให้กับสสจ. ร่วมพัฒนาคุณภาพมาตรฐานอาหารปลอดภัยของสสจ. ประเมินคุณภาพมาตรฐานการขับเคลื่อนอาหารปลอดภัยของสสจ. ประเมินต้นแบบอาหารปลอดภัยของจังหวัด รวมทั้งมีการมอบรางวัลเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงานแก่สสจ. ส่วนอีก 72 จังหวัดที่เหลือให้ประเมินตนเองตามเกณฑ์คุณภาพงานอาหารปลอดภัยจังหวัด (Provincial Food Safety Standard :PFSS) ให้มีแนวทางการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้เกิดการบูรณาการจัดการระบบงานอาหารปลอดภัยในระดับจังหวัดอย่างเป็นรูปธรรม

ด้าน นายแพทย์ธวัชชัย ใจคำวัง นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า "เชียงราย" เป็นเมืองชายแดนติดประเทศพม่าและลาว เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่เชื่อมโยงไปสู่กลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เป็นศูนย์รวมการขนส่ง และการคมนาคมของภูมิภาค มีด่านเชียงแสน เชียงของ นำเข้าพืชผัก ผลไม้ จากประเทศเพื่อนบ้าน และส่งขายกระจายทั่วประเทศ นอกจากนั้น เชียงรายยังเป็นเมืองเกษตรกรรม รายได้หลักสำคัญของเชียงรายจึงมาจากการเกษตรกรรม การค้าชายแดน การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมการบริการ ทั้งนี้ จากกระแส และทิศทางการพัฒนาในปัจจุบัน จังหวัดเชียงรายจึงได้จัดทำโครงการบูรณาการอาหารปลอดภัย เชียงรายเป็นสุข ผลจากการดำเนินโครงการจึงมีการประกาศวาระจังหวัดเป็นนโยบาย เมืองเกษตรสีเขียวและอาหารปลอดภัย Food Safety City ซึ่งเป็นการดำเนินงานแบบบูรณาการหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ต้องร่วมสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างสมดุลในทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม สร้างความเข้มแข็ง และสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยผ่านโครงการอาหารปลอดภัย เชียงรายเป็นสุข ซึ่งมีกิจกรรมที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น มีโรงเรียนชาวนา พุทธเกษตรกร ของท่าน ว.วชิรเมธี มีโรงพยาบาลต้นแบบอาหารปลอดภัยระดับประเทศ จากสำนักบริหารการสาธารณสุข เป็นต้น

"ผลจากการดำเนินงาน ก่อให้เกิดรูปแบบกระบวนการพัฒนา "เชียงรายโมเดล" ที่ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึง แหล่งอาหารที่มีอย่างเพียงพอ มีความปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ มีระบบผลิตอาหารที่ยั่งยืน รักษาสิ่งแวดล้อม สร้างมูลค่าและส่งเสริมเศรษฐกิจในท้องถิ่น นำไปสู่ความมั่นคงด้านอาหารในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน" นายแพทย์ธวัชชัย กล่าวปิดท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๐ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๑๖:๑๔ เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๑๖:๕๘ ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๑๖:๓๕ หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๑๖:๓๘ ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๑๖:๓๖ YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๑๖:๕๗ คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๑๖:๔๒ กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๑๕:๒๒ ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๑๕:๐๖ PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น