DTC ผนึกพันธมิตรญี่ปุ่น พัฒนานวัตกรรม GPS TRACKING ขยายช่องทางธุรกิจ หวังขึ้นแท่นผู้นำ M2M Solution ตลาดอาเซียน

พฤหัส ๑๓ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๗:๒๗
บริษัท ดี.ที.ซี.เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ผู้นำตลาด GPS TRACKING และ M2M Solution ของประเทศไทย ขายหุ้น 9% ให้พันธมิตรจากญี่ปุ่น เปิดทางร่วมทุนขยายโอกาสทางธุรกิจ หวังร่วมพัฒนานวัตกรรม GPS TRACKING ให้ทันสมัยเตรียมความพร้อมสู่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

นายทศพล คุณะเพิ่มศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดี.ที.ซี.เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ผู้พัฒนาเทคโนโลยีและผู้นำตลาด GPS TRACKING และ M2M Solution เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ทั่วโลกต่างนำเทคโนโลยีระบบการบริหารจัดการขนส่ง GPS TRACKING มาใช้ในการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยสามารถติดตามและควบคุมระบบขนส่งให้มีศักยภาพ และมีความปลอดภัยสูง ดี.ที.ซี. จึงมี Solution ต่างๆ เพื่อรองรับอัตราการเติบโตของตลาด ที่เฉลี่ยเติบโตร้อยละ 30 ต่อปี และมีมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 1,000 ล้านบาท* โดยปัจจุบัน ดี.ที.ซี. เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการ GPS Tracking Service ที่ใหญ่ที่สุดใน South East

อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ บริษัทฯ จึงได้ลงนามสัญญาขายหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 9 ให้กับพันธมิตร บริษัท ยาซากิ เอ็นเนอร์ยี่ ซิสเท็มส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ประกอบการธุรกิจผลิตชิ้นส่วนประกอบรถยนต์รายใหญ่ จากประเทศญี่ปุ่น โดยการร่วมมือดังกล่าว จะเป็นการนำความรู้ความชำนาญ ประสบการณ์การทำงาน และจุดแข็งของทั้งสองบริษัทฯ มาร่วมกันพัฒนานวัตกรรมระบบ GPS TRACKING ให้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและตอบสนองความต้องการของลูกค้าในธุรกิจขนส่งได้เป็นอย่างดี เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และเปิดช่องทางใหม่ทางธุรกิจสำหรับทั้งสองบริษัทฯ โดยล่าสุด ได้เริ่มโครงการผลิตอุปกรณ์ควบคุมและตรวจสอบพฤติกรรมการใช้งานยานพาหนะให้กับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก และกำลังจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้

นอกจากนี้ การร่วมทุนดังกล่าวจะนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจาะกลุ่มตลาดอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่น ที่ถือว่าเป็นกลุ่มตลาด GPS TRACKING ขนาดใหญ่ ทั้งนี้ คาดว่าจะช่วยเพิ่มอัตราการเติบโตในธุรกิจของทางบริษัทฯ คิดเป็นร้อยละ 30 และสำหรับในปี 2558 บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้จะเติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2557 ร้อยละ 20 คิดเป็นรายได้ 1,000 ล้านบาท โดยสัดส่วนรายได้แบ่งเป็นในประเทศร้อยละ 80 และต่างประเทศร้อยละ 20 ซึ่งปัจจุบัน บริษัทฯ ถือเป็นผู้นำธุรกิจ GPS TRACKING ติดตามรถของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในกว่า 10 ประเทศ อาทิ จีน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย อินเดีย บังคลาเทศ เวียดนาม ลาว เคนยา มาเลเซีย ฮ่องกง ทำให้วันนี้ บริษัทฯ ยังคงความเป็นเจ้าตลาด GPS Tracking ได้อย่างยั่งยืน

"จากสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาในปัจจุบัน ไม่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของธุรกิจ GPS TRACKING แต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม ทิศทางอุตสาหกรรมของ GPS TRACKING จะได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้น เนื่องจากช่วยลดต้นทุนด้านระบบขนส่ง และเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันได้อย่างมีศักยภาพ ขณะเดียวกัน เรายังคงมุ่งพัฒนานวัตกรรม GPS TRACKING อย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายเป็นผู้นำในด้าน machine-to-machine solution หรือ M2M Solution (เทคโนโลยีที่ทำให้อุปกรณ์ต่างๆสามารถส่งข้อมูลระหว่างกันเองได้) ของภูมิภาคนี้ต่อไป"นายทศพล กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน