กก.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เห็นชอบแก้ไข พรบ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ให้ทันต่อเทคโนโลยี-ครอบคลุมงาน Digital Content-เตรียมเสนอให้ครม.พิจารณา

ศุกร์ ๑๔ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๕:๓๔
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการภาพยนตร์แห่งชาติ ซึ่งได้รับมอบหมายจาก พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ต่างประเทศ เป็นประธานในการประชุมว่า ที่ประชุมได้มีมติให้ปรับปรุงพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 โดยจัดตั้งคณะทำงานพิจารณาแก้ไข พรบ.ดังกล่าว เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการแก้ไข พรบ.ในลักษณะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ ในระเบียบวาระการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ พ.ศ. 2551 ที่ประชุมมอบหมายฝ่ายเลขานุการฯ ดำเนินการปรับแก้ไขพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ พ.ศ. 2551โดยดำเนินการเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ปรับแก้ไขในประเด็นต่างๆ ในส่วนที่มีปัญหาและมีความจำเป็นเร่งด่วน อาทิ 1.ให้กรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ มีอำนาจกำหนดประเภทของวีดิทัศน์2.ให้มีกฎกระทรวงกำหนดประเภทของสื่อโฆษณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต้องผ่านการอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาฯ 3.กำหนดใบอนุญาตตามาตรา 37 และ 38 มีอายุไม่เกิน 5 ปี และให้มีการกำหนดประเภทของใบอนุญาต และอายุของใบอนุญาตตามประเภท 4.เพิ่มบทกำหนดโทษ สำหรับผู้เผยแพร่วีดิทัศน์ ประเภท "ห้ามเผยแพร่" 5.ให้มีคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ 6.การจัดระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์/วีดิทัศน์ (Rating) โดยอาจจะปรับปรุง Ratingใน Rate 13+ และ Rate 15+ เนื่องจากมีความใกล้เคียงกันและ7.แก้ไขนิยามใน พรบ.ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยี ควรให้ครอบคลุมถึงงาน Digital Content เป็นต้น

นายวีระ กล่าวต่อว่า และระยะที่ 2 ปรับแก้ไขเนื้อหาในพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ พ.ศ. 2551 ทั้งฉบับ อาทิ 1.ให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมนิยามคำว่า "ภาพยนตร์ไทย" และคำว่า "ลิขสิทธิ์" (Copyright) 2. ให้มีการแก้ไขนิยามคำว่า "ภาพยนตร์" ให้หมายความในลักษณะของ "ภาพเคลื่อนไหว"(Motion Picture) โดยไม่ต้องอ้างอิงถึงความเป็นวัสดุ เพื่อสื่อความหมายให้ชัดเจนว่าเป็น 3.การตรวจพิจารณาและอนุญาตภาพยนตร์และวีดิทัศน์ และสื่อโฆษณาที่อยู่ในรูปวัสดุและ4. พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ควรเน้นบทบาทการพัฒนาเนื้อหาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (CONTENT LEADING AGENCY) และเพิ่มบทบาทในเรื่องของการออกกฎระเบียบในการควบคุมเว็บไซต์ที่กระทำผิดในการละเมิดลิขสิทธิ์ (SITE BLOCKING REGULATION) ทั้งนี้ที่ประชุมมีมติมอบหมายให้เลขานุการคณะกรรมการฯ ไปสรุปข้อคิดเห็นต่างๆ และจัดทำรายละเอียด เพื่อนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบและเข้าสู่กระบวนการแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าวต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๒๑ FLOYD คว้า 2 โปรเจกต์ใหม่ จากบิ๊กศูนย์การค้าส่งชั้นนำ รวมมูลค่ากว่า 115.56 ล้านบาท
๑๓:๕๒ เมอร์เซเดส-เบนซ์ นำทีม The new E-Class บุกห้างดัง จัดเต็มข้อเสนอในงาน Mercedes-Benz StarFest 2024 ชวนลูกค้าสัมผัสรถที่ใช่ในพื้นที่ใกล้บ้านคุณ
๑๓:๒๔ โฮมโปรเดินหน้าโปรเจค Green Transport เปิดตัวรถขนสินค้า EV Truck พลังไฟฟ้า พลังงานสะอาด 100% มุ่งเป้าสู่ Net Zero ระดับโลก ในปี
๑๓:๑๒ STA เดินหน้าส่งมอบยาง EUDR แก่ลูกค้า ย้ำความพร้อมรับมาตรการตรวจสอบย้อนกลับจากยุโรปและทั่วโลก
๑๓:๐๔ บลจ.กสิกรไทย เปิดตัว KNOW THE MARKETS SERIES คัมภีร์การลงทุนเชิงลึก มองไตรมาส 2 ตลาดหุ้นปรับฐาน แนะเน้นหลักการกระจายลงทุน
๑๓:๑๖ FWD ประกันชีวิต จัดงาน MDRT Agency Annual Awards 2024 ฉลองความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพตัวแทนอย่างต่อเนื่อง
๑๓:๔๑ บลจ.อีสท์สปริง ได้รับอนุมัติเปลี่ยนชื่อกองทุนรวม 135 กองทุน จากสำนักงาน ก.ล.ต. มีผล 17 มิ.ย. 67
๑๓:๑๑ บางจากฯ ร่วมภาคีเครือข่ายป่าชายเลน Thailand Mangrove Alliance
๑๓:๐๙ สคร.12 สงขลา เตือนเปิดเทอมนี้ 4 โรค ต้องระวัง แนะผู้ปกครอง เตรียมความพร้อมบุตรหลาน ป้องกันตนเองเมื่อไปโรงเรียน
๑๓:๔๔ BBLAM เสนอขาย IPO 'BP10/24(AI)' วันที่ 2-7 พ.ค. 2567