นักวิจัยไทย - ญี่ปุ่น ถอดบทเรียนจากสึนามิและน้ำท่วม แนะวิธีรับมือภัยพิบัติต่อจากนี้

พุธ ๑๙ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๐:๑๒
นักวิจัยไทยและญี่ปุ่นแนะวิธีตั้งรับภาวะวิกฤตผ่านการเรียนรู้จากสึนามิและน้ำท่วม ในเวทีประชุม เชิงปฏิบัติการ “Crisis Management : Shared experiences and Lesson learned between Japan and Thailand” ณ โรงแรม อีสติน แกรนด์ สาธร

ดร. ศิริพร วัชชวัลคุ หัวหน้าศูนย์ประสานงานโครงการวิจัยเชิงนโยบาย สกว. ด้านสถาบันการเมืองและความสัมพันธ์ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า นักวิจัยไทยและญี่ปุ่น ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะเหตุการณ์สึนามิและอุทกภัยเพื่อหาแนวทางตั้งรับหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก โดยนักวิจัยทั้ง 2 ประเทศ ต่างมีความตรงกันว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 โลกของเรา มีแนวโน้มเกิดภัยธรรมชาติได้บ่อยและรุนแรงขึ้น ไม่ว่าประเทศนั้นๆ จะเคยเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติแล้วหรือไม่ ควรมีการจัดแผนรับมือภาวะวิกฤตที่อาจขึ้นโดยไม่คาดคิด

ดร.ดาเตะ ฮิโรโนริ นักวิจัยจาก ม.เรียวโคคุ ประเทศญี่ปุ่น ได้บอกเล่าถึงตัวอย่างเหตุการณ์การเกิด สึนามิในญี่ปุ่นว่า นอกจากจะทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ผู้ประสบภัยยังป่วยเป็นโรคซึมเศร้า อันเนื่องมาจากการพลัดพรากจากคนรักที่สูญหาย สึนามิจึงเป็นมหันตภัยที่ไม่ได้ส่งผลเสียหายต่อร่างกายของผู้ที่จากไปเท่านั้น แต่ยังผลต่อสภาพจิตใจของผู้ที่มีชีวิตอยู่ ดังนั้นการเยียวยาสภาพจิตใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญ อีกอย่างหนึ่ง ที่ต้องให้ความใส่ใจในยามที่ประเทศเกิดภาวะวิกฤตจากภัยธรรมชาติที่เราไม่อาจต้านทานได้

ดร.โอคูโบ โนริโกะ ม.โอซาก้า นักวิจัยจากญี่ปุ่นอีกท่าน ได้แนะนำให้คนไทยเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ โดยกล่าวว่า พลเมืองทุกคนต้องรู้หน้าที่ในการช่วยเหลือตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องรอการช่วยเหลือจากภาครัฐ อย่างเดียวถึงจะผ่านพ้นเหตุการณ์วิกฤตไปได้ อย่างไรก็ตามตนมีข้อเสนอแนะคือ อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำหนังสือคู่มือปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะวิกฤตเพื่อให้ประชาชนเตรียมรับมือภัยพิบัติที่อาจขึ้นในอนาคต

ด้าน รศ.ดร.นิตยา วัจนะภูมิ จากวิทยาลัยโลกคดีศึกษา ม.ธรรมศาตร์ ผู้ทำการศึกษาประเด็น “การจัดการในภาวะวิกฤตอย่างเหตุการณ์น้ำท่วมใน จ.ปทุมธานีและ จ.นนทบุรี เมื่อปี พ.ศ.2554” กล่าวว่า อุทกภัยร้ายแรงของคนไทยครั้งนั้น เป็นปัญหาใหญ่เกินกว่าที่หน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่นจะตั้งรับได้ ไทยเรามีการทำงาน ที่เป็นขาดความเป็นระบบและเชื่อมต่อ ระหว่างตัวแทนของภาครัฐระดับจังหวัดและผู้ประสบปัญหา ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาในภาวะวิกฤตมีความสำเร็จมากขึ้น คือการกำหนดบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนของหน่วยงานภาครัฐแต่ละหน่วยงานเมื่อเกิดภาวะวิกฤต พร้อมทั้งแชร์ข้อมูลที่สำคัญในภาวะวิกฤตที่ถูกต้องและรวดเร็ว อย่างสม่ำเสมอ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๑ พ.ค. สมาร์ท-บูม-พีนัท-ยูโร ตอกย้ำกระแสแรง! เสิร์ฟโมเมนต์สุดฟินให้แฟนๆ ในงาน Mini Fanmeet WeTV VIP X Top Form
๐๑ พ.ค. EARTH PATRAVEE เปิดตัวในนามศิลปินค่าย BOXX MUSIC กับซิงเกิลแรกของอัลบั้มใหม่ จดหมายที่ฉันคงไม่ได้ส่ง (Dried
๐๑ พ.ค. สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เปิดประมูลสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ครั้งที่ 3/2568
๐๑ พ.ค. Wintong Vietnam ก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ในนิคมฯอมตะซิตี้ ฮาลอง
๐๑ พ.ค. ขอเชิญเข้าร่วมฟังงาน Research Seminar ในหัวข้อ: AI, MARKETING ROBOTS AND LOVE
๐๑ พ.ค. เอ็นไอเอ เร่งขยายสัดส่วนธุรกิจขนาดกลาง พร้อมปิดแก็ปเอสเอ็มอีไทยโตไม่สมดุล
๐๑ พ.ค. 'สัตว์เลี้ยง' MVP ตัวจี๊ดของการเดทยุคนี้
๐๑ พ.ค. ฉลองความอร่อยกับบุฟเฟต์มื้อค่ำเทศกาลอาหารอิตาเลียน 13 - 15 พฤษภาคม 2568 ณ ห้องอาหารดิ ออร์ชาร์ด โรงแรมแคนทารี
๐๑ พ.ค. มินซอฟต์แวร์ เปิดตัว 2 โปรแกรมใหม่ Gemlogin และ Gemphonefarm ตัวช่วยสำคัญทำตลาดดิจิทัลและอีคอมเมิร์ชยุคใหม่
๐๑ พ.ค. UBiofresh จัดงานสัมมนาเผยแพร่ความรู้เรื่องผิว ชูคอนเซ็ปต์ PERFECT TOGETHER