EGA หนุนงานวิจัยไทยเข้าไทยแลนด์เกทเวย์ จับมือศูนย์สารสนเทศการวิจัยนำ 5 ระบบงานวิจัยหลักเข้าระบบรวม ชี้นักวิจัยและประชาชนค้นหาและนำงานวิจัยไปใช้ง่ายขึ้น พร้อมวางโครงข่ายข้อมูลอื่นเพิ่มต่อเนื่อง

พุธ ๑๙ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๗:๐๑
ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีและที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ให้เกียรติเป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) พร้อมเปิดเผยถึงความสำเร็จของระบบการให้บริการสารสนเทศการวิจัยของประเทศในรูปแบบของ Research Gateway ที่สอดคล้องกับพัฒนาการให้บริการภาครัฐในรูปแบบ Thailand Gateway ซึ่งนับเป็นความร่วมมือในการพัฒนาบริการภาครัฐที่มีอุดมการณ์ในการปฏิบัติงานที่ดีที่ควรส่งเสริมสนับสนุน และผู้รับบริการด้านสารสนเทศการวิจัยอันได้แก่ ผู้บริหารประเทศ นักวิจัย นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป จะได้รับประโยชน์อย่างสูงจากความร่วมมือครั้งนี้

นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลได้ดำเนินนโยบาย Thailand Gateway ที่จะเชื่อมการทำงานด้วยการใช้อินเทอร์เน็ต โดยจะมีส่วนของเครือข่ายระหว่างหน่วยงานรัฐมาช่วยเพื่อให้เข้าถึงประชาชนและภาคธุรกิจ EGA จึงได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โดยศูนย์สารสนเทศการวิจัย นำข้อมูลการวิจัยมาใช้ระบบบริการโครงสร้างพื้นฐานของ EGA ไม่ว่าจะผ่านเครือข่าย GIN หรือ Government Information Network และบริการคลาวด์ภาครัฐ หรือ G-Cloud เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ามาสืบค้นงานวิจัยได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ระบบของศูนย์สารสนเทศการวิจัยที่จะเข้ามาใช้บริการโครงสร้างพื้นฐานของ EGA เพื่อเข้าสู่ Thailand Gateway จะประกอบด้วย DRIC- Digital Research Information Center (dric.nrct.go.th) ซึ่งปัจจุบันเป็นแหล่งรวบรวมงานวิจัยในแบบดิจิตอล มีการให้บริการดาวน์โหลดบทคัดย่อและเอกสารฉบับเต็ม เพื่อใช้งานในด้านการศึกษาแสวงหาความรู้และเพื่อการวิจัย แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า, RIR- Research Information Repository (rir.nrct.go.th) ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ที่จะรายงานสภาพของนักวิจัย และการนำงานวิจัยไปใช้ในแง่ต่างๆ

DOI- NRCT Local Handle System (doi.nrct.go.th) ซึ่งเป็นการใช้รหัสตัวระบุวัตถุดิจิตอล (ดีโอไอ) กับงานวิจัยและงานวิชาการระดับอุดมศึกษา เป็นที่รับลงทะเบียนแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทยเพื่อพัฒนาขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการข้อมูลงานวิจัยและส่งเสริมและพัฒนาระบบวิจัยของประเทศไทยด้วย ตัวระบุวัตถุดิจิตอล (ดีโอไอ) คือ เลขมาตรฐานสากลประจำไฟล์ดิจิตอลที่เผยแพร่ บนอินเทอร์เน็ตใช้ในการระบุตัวตน, TNRR- Thai National Research Repository (tnrr.in.th) ซึ่งเป็นระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทย ที่มีระบบฐานข้อมูลการวิจัยในระบบดิจิตอลที่มีความทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน และ EXPLORE- Extraordinary Simple Public Library of research result (thai-explore.net) หรือห้องสมุดงานวิจัยสาธารณะ ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปค้นหางานวิจัยที่เปิดเผยได้

ซึ่งที่ผ่านมา ระบบทั้ง 5 จะอยู่แยกกัน มีทั้งระบบที่ให้บริการโดยตรงกับนักวิจัย กับระบบที่แยกให้บริการกับประชาชนทั่วไป แต่หลังจากเข้าโครงการ Thailand Gateway แล้ว ทาง EGA จะนำระบบทั้งหมดมาบริหารจัดการด้านโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ เครือข่าย ระบบฐานข้อมูลและอื่นๆ ทำให้ระบบทั้งหมดเชื่อมโยงข้อมูลถึงกัน ทั้งยังทำงานผ่านระบบ Cloud Computing ซึ่งจะทำให้ภาครัฐ นักวิจัย และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงระบบทั้ง 5 ได้ผ่านจุดเพียงจุดเดียว เป็น R&D e-government Gateway ตามที่ศูนย์สารสนเทศการวิจัย (ศสจ.) ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติต้องการ

“ในระบบ R&D E-government Gateway ยุคใหม่ เพียงเข้าไปยังจุดที่กำหนด จะพบกับระบบสืบค้นแบบ One Search เช่น เพิ่มคำว่า ข้าว ระบบก็จะทำการค้นหาจากเครื่องแม่ข่ายของทั้ง 5 ระบบมาแสดงผลลัพธ์ที่ได้ในคราวเดียวกัน ระบบ R&D E-Government Gateway จะถูกพัฒนาเพื่อเป็นระบบเว็บท่า (Web Portal) จึงไม่มีการจัดเก็บข้อมูล Metadata ไว้ที่ตัวระบบแต่จะเป็นการพัฒนาระบบการเชื่อมต่อแบบ API โดยทุกครั้งที่มีการค้นหาระบบจะทำการส่งคำสั่งการค้นหาไปยังระบบต้นทางโดยตรงและดึงข้อมูลมาแสดงผลบน Gateway ทันที นอกจากนั้นระบบจะนำผลลัพธ์จากการค้นหาที่ได้ทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์และแสดงผลการค้นหาในรูปแบบของ Dashboard เพื่อให้เห็นถึงการเปรียบเทียบเชิงปริมาณ ในมิติต่างๆ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ประโยชน์จากผลลัพธ์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ” ไอรดากล่าว

โครงการนี้ถือเป็นต้นแบบในการเผยแพร่ข้อมูลและการเชื่อมโยงข้อมูลในรูปแบบ Open Government Data โดยใช้มาตรฐาน RDF ซึ่งในอนาคตทาง EGA จะมีการนำระบบของภาครัฐเข้าสู่ Thailand Gateway มากขึ้น โดยขณะนี้เครือข่ายสาธารณูปโภคที่ใช้จะมีทั้งของ EGA และองค์กรพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนั้นจึงมีความพร้อมในการรองรับอย่างสูง ซึ่งเมื่อประเทศไทยมี Gateway ข้อมูลในแต่ละด้านมากขึ้น ก็จะทำให้การให้บริการประชาชนมีประสิทธิภาพดีขึ้นตามลำดับ

นางสาวเพชรา สังขะวร ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้จะทำให้ระบบการให้บริการสารสนเทศการวิจัยของประเทศในรูปแบบของ Research Gateway เข้าถึงภาคประชาชน และภาคธุรกิจ ทั้งยังส่งผลถึงการค้าและการลงทุนในอนาคต และลดการคอร์รัปชั่นในระบบราชการ เป็นการยกระดับการบริการภาครัฐด้วย Open Government Data ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง นางสาวเพชรากล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐ พ.ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หารือแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาเกลือ จังหวัดสมุทรสาคร
๑๐ พ.ค. ทีทีบี มุ่งจุดประกายการ ให้ คืนสู่สังคม ผ่านงาน The Hall of Giving ปี 2567 ชูกิจกรรมอาสา Upcycle สร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
๑๐ พ.ค. มบส.ปลื้มคนแห่ร่วมงานเทศกาลดนตรียิ่งใหญ่ ฝั่งธนเฟส 2คับคั่ง ชี้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ
๑๐ พ.ค. คู่รักห้ามพลาด! สุดยอดมหกรรมเวดดิ้งแฟร์แห่งปี SabuyWedding Festival 2024 ชวนช้อปสบาย ครบ จบ ไม่ฮาร์ดเซลล์ วันที่ 25 - 26 พฤษภาคมนี้ ที่รอยัล พารากอน
๑๐ พ.ค. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 41 นครพนม จัดพิธีมอบชุดเครื่องมือทำมาหากิน ให้กลุ่มแม่บ้านตำบลพะทาย
๑๐ พ.ค. เชื่อมโยงการใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ด้วย WASABI SERIES ดีไซน์จากแนวคิด City / Art / Craft / Earth สู่ Eco Living
๑๐ พ.ค. บ้านหมอละออง กรุ๊ป จัด โครงการยาเพื่อนยาก ครั้งที่ 14 เฉพาะกิจ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัยพายุฤดูร้อน จ.นครสวรรค์
๑๐ พ.ค. พาราไดซ์ พาร์ค ผนึก กรุงเทพมหานคร ร่วมสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ในงานตลาดนัดชุมชน BKK
๑๐ พ.ค. บทสรุปงานมหกรรมฟินเทคสุดยิ่งใหญ่ของเอเชีย Money20/20 Asia ครั้งแรกที่กรุงเทพฯ
๑๐ พ.ค. เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนช้อปสินค้าเกษตรแปรรูปคุณภาพดี กับ งาน ไร่ข้าวโพด มหาสนุก ตั้งแต่ 16-22